Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TAXBugnoms
•
ติดตาม
14 เม.ย. 2022 เวลา 01:00 • ไลฟ์สไตล์
3 เคล็ดลับ วางแผนการเงินครอบครัวให้อยู่ดี มีสุข
การวางแผนการเงินก็เปรียบเหมือนการวางแผนชีวิต เพราะการใช้ชีวิตของเราส่วนใหญ่ถูกขับเคลื่อนด้วยเงิน และยิ่งเป็นแผนการเงินครอบครัวด้วยแล้ว ยิ่งต้องให้ความสำคัญอย่างมาก ด้วยเหตุผลที่ว่า “เราไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวเหมือนเดิมอีกต่อไป”
สำหรับ คู่รัก ที่วางแผนการเงินครอบครัวมาตั้งแต่ก่อนเริ่มสร้างครอบครัว มีโอกาสที่จะไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ร่วมกันเร็วกว่าคู่ที่ไม่ได้วางแผนอะไรเลย ทั้งเป้าหมายทางทรัพย์สิน, การจัดการหนี้สิน, อนาคตของลูก, ชีวิตความเป็นอยู่ที่คาดหวัง, ชีวิตในวัยเกษียณ ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยแผนการเงินที่ดี รัดกุม และเหมาะสม หากวางแผนได้เร็ว ก็มีโอกาสจะทำสำเร็จตามช่วงอายุที่วางไว้ได้
วันนี้มี 3 เคล็ดลับ ดี ๆ มาแนะนำกัน
ข้อแรก ชี้แจงรายละเอียดเรื่องรายรับ รายจ่าย และหนี้สิน
คู่รักควรพูดคุยกันในเรื่องนี้อย่างเปิดใจ เพราะสิ่งเหล่านี้ คือฉนวนปัญหาที่ครอบครัวส่วนใหญ่เจอ ก่อให้เกิดผลไม่ดีเรื่องอื่นๆตามมาเช่นกัน หากอนาคตวางแผนมีลูก ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก การชี้แจงรายละเอียดแต่ละส่วนจะทำให้เห็นถึงสถานะการเงินของแต่ละคนชัดเจน จะประเมินได้ว่า เรามีความพร้อมในแต่ละเรื่องอยู่ระดับใด รวมถึงพฤติกรรมการเงินส่วนไหนที่ต้องปรับปรุง
ข้อสอง ต้องวางเป้าหมายร่วมกันให้ชัดเจน
การวางเป้าหมายทางการเงินร่วมกัน ต้องมีความชัดเจน อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ไม่เกินตัว มิเช่นนั้นอาจจะต้องเบียดเบียนกันจนเกิดปัญหาและสร้างความเครียด ความกดดันให้คู่ของเรา ที่สำคัญต้องวัดผลได้ ว่าระหว่างทาง ผลลัพธ์เป็นอย่างไร คืบหน้าแค่ไหนแล้ว ควรมีระยะเวลาที่ชัดเจน หรือมีการกำหนดกรอบเวลาในแต่ละเป้าหมาย เพื่อให้เรามีวินัยในการทำจนสำเร็จลุล่วงตามเวลาที่กำหนด
ข้อสาม จัดทำงบแสดงสถานะการเงินร่วมกัน
ส่วนนี้จะทำให้เราเห็นภาพใหญ่ทางการเงิน ซึ่งงบแสดงสถานะการเงินนี้จะแตกต่างจาก การทำรายรับ รายจ่ายทั่วไป สามารถทำได้ทุกครึ่งปี หรือทำเป็นแบบรายปีก็ได้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคู่
ภายในงบแสดงสถานะการเงิน อาจจะแบ่งได้เป็น 2 ส่วน เช่น ส่วนทรัพย์สิน แจกแจงรายละเอียดว่า มีรายการอะไรในหมวดนี้บ้าง มูลค่าแต่ละรายการเท่าไหร่ เช่น บ้าน 2,000,000 บาท เงินฝาก 500,000 บาท อีกส่วนคือ หนี้สิน ให้ชี้แจงแต่ละรายการด้วย เช่น หนี้บัตรเครดิต ยอด 100,000 บาท ยอดจ่ายต่อเดือน 10,000 บาท เป็นต้น
เมื่อเราทำข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียดแล้ว จะทำให้เราสรุปภาพรวมแต่ละส่วนได้ว่า ตอนนี้ยอดอยู่ที่เท่าไหร่ สุขภาพทางการเงินเป็นอย่างไร หากดูแล้วสถานการณ์การเงินน่าเป็นห่วง เพราะหนี้สินเยอะกว่าทรัพย์สิน ก็จะช่วยให้เราระมัดระวังการก่อหนี้ใหม่ และหาวิธีจัดการหนี้สินที่มีให้เหมาะสมตามกำลังความสามารถของเรา
#TAXbugnoms #การเงิน #การเงินครอบครัว #วางแผนการเงิน
การเงิน
หนี้สิน
วางแผนการเงิน
1 บันทึก
2
3
1
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย