Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
deeoneshop02
•
ติดตาม
12 เม.ย. 2022 เวลา 18:26 • ประวัติศาสตร์
"ไม้สีฟัน" การทำความสะอาดฟันของคนสมัยก่อน
จากพุทธกาลถึงปัจจุบัน และแปรงสีฟันจากภูมิปัญญาพระสายป่าที่ทำใช้เอง
ในอดีตนั้นไม่มีแปรงสีฟันอย่างที่เราใช้กันทุกวันนี้
เคยสงสัยไหมครับว่า คนสมัยโบราณตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เขาทำความสะอาดฟันกันอย่างไร ?
ย้อนกลับไปในสมัยครั้งพุทธกาล หรือเมื่อ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล แปรงสีฟัน เชื่อว่ามีต้นกำเนิดจากการเคี้ยวกิ่งไม้หอมบางชนิดของชาวบาบิโลเนีย และการใช้ไม้จิ้มฟันของชาวจีนประมาณ 1,600 ปีก่อนคริสตกาล
คนอินเดียสมัยโบราณหรือที่เรียกว่าชาวชมพูทวีปในอดีต ใช้กิ่งไม้ธรรมชาติในการทำความสะอาดฟัน ซึ่งกิ่งไม้ทำความสะอาดฟันสามารถหาได้จากต้นไม้หลายชนิด แม้ว่าต้นไม้จำนวนมากจะใช้ในการผลิตกิ่งไม้ทำความสะอาดฟัน แต่ต้นไม้บางชนิดก็เหมาะกว่าในการทำความสะอาดและปกป้องฟัน เนื่องจากองค์ประกอบทางเคมีของส่วนต่างๆ ของพืช พรรณไม้
ต่อมาพัฒนาเป็น chewstick ซึ่งเป็นขนาดเท่าดินสอ ปลายด้านหนึ่งถูกเคี้ยวจนกระทั่งกลายเป็นขนปลายอีกด้านหนึ่งถูกเหลาให้แหลมใช้เป็นไม้จิ้มฟัน ไม้ที่นำมาใช้มีทั้งข่อย (Siamese rough bush),คนทา( Blanco), สะเดา(Neem ), มิสวาก (Miswak)
มิสวัค (Miswak) ของพวกอาหรับ มิสวัคทำมาจากรากไม้หอม เรียกว่า Arrak หรือต้นแปรงสีฟัน (Salvadora persica) เป็นต้นไม้ที่ขึ้นทั่วไปในทะเลทราย รากไม้นี้เมื่อเคี้ยวหรือทุบปลายข้างหนึ่งแล้วนำมาขัดฟัน ใยของมันจะชี้ตั้งไปตามทิศทางต่าง ๆ คล้ายขนแปรงสีฟันสมัยใหม่ นอกจากช่วยทำความสะอาดฟันแล้ว ยังทำให้ฟันเป็นประกายแวววาวด้วย
แม้ในปัจจุบันนี้ชาวอินเดียก็ยังใช้กันอยู่ ทุกเช้าไม่ว่าเดินทางไปไหนจะพบว่า คนอินเดียไม่ว่าผู้ชาย ผู้หญิง คนแก่ ผู้ใหญ่ เด็กต่างแปรงฟันด้วยก้านไม้ก้านหนึ่ง ถูกันอย่างเมามัน เดินไปตลาด เดินไปคุยกับเพื่อนบ้าน ก็เดินถูไปด้วยคุยไปด้วย แปรงสีฟันที่ชาวอินเดียใช้กัน เรียกว่า ไม้ Neem หรือไม้สะเดาแขก/สะเดาอินเดีย
สะเดาอินเดีย หรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า Neem
เป็นพันธุ์ไม้สกุล (Genus) Azadirachta ในวงศ์ไม้สะเดา เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบ และจะออกช่อดอกพร้อมใบอ่อนในเวลาเดียวกัน ลำต้น เปลา ตรง สีเทา แตกเป็นร่องไปตามยาวลำต้น แก่นแข็งสีแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบออกเป็นช่อ ช่อหนึ่ง ๆ มีใบย่อย 7 -9 คู่ ใบย่อยมักติดเยื้องกันเล็กน้อย ขอบใบหยัก ใบยอดมักม้วนลง ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ ตามปลายกิ่งหรือเหนือรอยแผลใบ โคนเกสรเพศผู้มี 10 อัน โคนจะติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ผลกลมรี ๆ ยาวประมาณ 1.5 - 2 ซม. ผิวบาง ภายในมีเนื้อเยื่อฉ่ำน้ำ ผลแก่สีเหลือง
สะเดาของไทยใบจะโตกว่าสะเดาอินเดียเล็กน้อย ถือเป็นสายพันธุ์หนึ่งของสะเดาอินเดีย โดยสามารถพบขึ้นได้ทั่วไปตามป่าแล้งในประเทอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า ปากีสถาน ศรีลังกา และประเทศไทย สำหรับในประเทศไทยจะมีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ตามธรรมชาติตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าแดงทั่วประเทศ
ไม้สะเดาอินเดีย “ต้นสะเดา เปรียบเสมือนกิ่งไม้ ทำความสะอาดฟัน”
ในอินเดียตอนใต้ : ชาวอินเดียจะใช้กิ่งไม้สะเดาเป็นแปลงสีฟันในการทำความสะอาดฟัน ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการรักษาฟันให้สะอาด ฆ่าเชื้อ ช่วยป้องกันฟันผุและโรคเหงือกได้ดี โดยชาวอินเดียนั้นก่อนจะสีฟัน จะทำการดัด ตัด ทุบ แท่งเคี้ยวที่เป็นกิ่งหรือรากของพืช ให้ปลายข้างหนึ่งหลุดลุ่ยเป็นฝอยเหมือนแปรงสีฟัน ซึ่งปลายด้านนี้ใช้แปรงฟันได้ ในขณะที่ปลายอีกข้างหนึ่งสามารถใช้เป็นไม้จิ้มฟันได้ด้วย (มีรูปประกอบในตอนถัดไป)
กิ่งไม้ทำความสะอาดฟัน ก่อนจะสีฟันต้องเคี้ยวให้เป็นฝอยเหมือนแปรงสีฟันก่อนใช้ทำความสะอาดฟัน
สำหรับในเมืองไทย ชาวสยามคงจะมีวิธีทำความสะอาดฟันของตนแตกต่างกันไป วิธีการทำความสะอาดฟันของชาวพุทธ ส่วนหนึ่งได้รับและถ่ายทอดมาจากพระสงฆ์ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เป็นข้อปฏิบัติว่า หากพระสงฆ์ฉันอาหารแล้วไม่ทำความสะอาดฟัน จะผิดวินัย ซึ่งการทำความสะอาดฟัน ท่านเรียกว่า “เคี้ยวไม้ชำระฟัน” ให้นำไม้ข่อย ไม้โสน ไม้รากลำพู ไม้สะเดา ไม้คนทา ความยาวขนาด ๔-๘ นิ้ว มากัดแบบกัดพลูจีบ (กัดด้วยฟันกราม) แล้วเคี้ยวไปจนละเอียด เสร็จแล้วคายทิ้งอย่างชานหมาก กาลต่อมาให้กัดไม้ข้างปลายให้แตก แล้วนำเอาส่วนที่แตกเป็นฝอย สีไปตามฟัน ซอกฟัน แล้วเคี้ยวไปเรื่อย ๆ จนแหลกหมด
การทำไม้สีฟัน นิยมทำกันในกลุ่มพระป่าสายกรรมฐาน บางทีก็เรียก ไม้เจีย หากไม้เจียนั้นเป็นของพระอาจารย์ผู้ปฏิบัติดีหรืออริยสงฆ์ ลูกศิษย์จะถือเป็นของศักดิ์สิทธ์ ที่ต้องหาเก็บไว้บูชา
การทำไม้สีฟัน สำหรับพระกรรมฐาน
ในสมัยก่อนตั้งแต่ครั้งชาวสยามคงจะมีวิธีทำความสะอาดฟันของตนแตกต่างกันไป แต่ไม้สีฟันซึ่งเป็นอุปกรณ์ทำความสะอาดฟันที่คล้ายกับแปรงสีฟันนั้น ถูกใช้กันมาอย่างยาวนานแล้วโดยพระป่าสายกรรมฐาน
แปรงสีฟันสมุนไพรหรือที่เรียกกันว่า"ไม้เจีย" หรือ "ไม้ชำระฟัน" ของพระสายป่าที่ทำขึ้นใช้เอง มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ไม่ต้องพึ่งแปรงสีฟันทันสมัยที่วางขายในท้องตลาด เป็นภูมิปัญญาของพระป่าสายหลวงปู่มั่นที่ใช้กันมานาน ป้องกันกลิ่นปาก รักษารากฟัน และขับเสมหะ เพราะในเนื้อไม้เป็นยาสมุนไพรอย่างดี
การทำไม้เจีย (ไม้สีฟันพระ) มีมาแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งปรากฏมาในพระปาฏิโมกข์ หมวดปาจิตตีย์ ๙๒ โภชนวรรคที่ ๔ ข้อ ๔๐ ว่าอนึ่ง ภิกษุใด กลืนของเคี้ยวของฉันที่เขายังไม่ให้ (คือยังไม่ได้รับประเคน) เป็นปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่น้ำที่กรองสะอาดดีแล้ว
1
ไม้สีฟันหรือไม้เจียเป็นไม้ที่ทุบปลายแล้วใช้สีฟันแทนแปรงสีฟัน ทำจากไม้ที่มีคุณสมบัติเป็นยา เช่น ไม้โกทา สมัด ดีคน ข่อย ฯลฯ ใช้สำหรับชำระฟัน ลิ้น ปาก ให้สะอาดปราศจากกลิ่นและเศษอาหาร รวมทั้งช่วยให้ฟันแข็งแรง ลิ้นรับรสได้ดี และขจัดเสมหะ
1
"ไม้สีฟัน" ซึ่งครูบาอาจารย์นิยมใช้กันคือ ไม้โกทา , คณทา, หรือ กะล้นทา ที่ชาวพายัพเรียกว่า จี้ หรือหนามจี้ เป็นไม้เจีย ต้นจะมีหนามเป็นตุ่มๆ ตัดยาวไม่ต่ำกว่า ๔ นิ้ว และไม่ให้เกิน ๘ นิ้ว ปลายด้านหนึ่งแหลม สำหรับใช้จิ้มฟัน และปลายอีกด้านหนึ่งทุบเป็นฝอย สำหรับสีฟัน.
3
ต้นคนทา ! (ต้นโกทา)
สมุนไพรคนทา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขี้ตำตา (เชียงใหม่), หนามกะแท่ง (เลย), โกทา หนามโกทา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), จี้ จี้หนาม หนามจี้ สีเตาะ สีเดาะ (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), คนทา (ภาคกลาง), กะลันทา สีฟัน สีฟันคนทา สีฟันคนตาย (ทั่วไป), มีซี มีชี(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น
ประโยชน์ของคนทา
กิ่งก้านมีรสเฝื่อนขม สามารถนำมาใช้แปรงฟัน หรือสีฟันเพื่อรักษาฟันได้ ด้วยการนำกิ่งขนาดนิ้วก้อยที่ยาวประมาณ 1 คืบ นำมาลอกเปลือกออกปลายด้านหนึ่งแล้วทุบให้เป็นเส้นฝอย ๆ และอาจช่วยทำให้เส้นดีขึ้นด้วยการใช้มีดผ่าออกเป็นแนวยาว ๆ แล้วนำปลายฝอยนี้ไปถูกับไม้ระแนงที่เตรียมไว้อีกทีหนึ่ง เพื่อทำให้ปลายฝอยฟูเป็นขนแปรงที่นุ่มขึ้น ส่วนปลายของอีกด้านหนึ่งก็เหลาให้แหลม ใช้ทำเป็นไม้จิ้มฟันหรือใช้เขี่ยเศษอาหารได้อีกต่อหนึ่ง ซึ่งตามประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสานจะใช้หนามคนทาทำแปรงสีฟัน เพื่อไปถวายให้พระสงฆ์ในช่วงที่มีการถวายพุ่มเทียนพรรษา และพระสงฆ์สายธรรมยุตในวัดป่าของทางภาคอีสาน ยังนิยมใช้แปรงสีฟันจากกิ่งของต้นคนทากันอยู่ (กิ่งก้าน)
1
"ไม้เจีย" นิยมถวายตอนเข้าพรรษา ของดีมีประโยชน์ที่กำลังสูญหายไป
ไม้สีฟัน หรือไม้เจีย เป็นเครื่องแสดงถึงความเคารพบูชาของศิษย์ต่อครูอาจารย์ จึงต้องทำอย่างประณีต ซึ่งต้องอาศัยความพากเพียร ความอดทน และใช้เวลาพอสมควร ไม้สีฟันแต่ละอัน อาจสามารถบ่งบอกอุปนิสัยของผู้ทำได้ว่า ละเอียดหรือหยาบมากน้อยเพียงใด โดยส่วนใหญ่แปรงสีฟันสมุนไพรนี้จะนำไปถวายพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งแปรงสีฟันดังกล่าว หากนำไปใช้แล้วจะมีรสชาติขมเหมือนยา ซึ่งรสขมนี้จะช่วยระงับกลิ่นปาก รักษารากฟัน และขับเสมหะไปในตัวด้วย เพราะในเนื้อไม้ถือว่าเป็นยาสมุนไพรอย่างดี และใช้ได้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง หากนำไปล้างน้ำหรือทำความสะอาดแล้วนำกลับมาใช้อีกจะเป็นการผิดวินัยของสงฆ์ได้
ประเพณีพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และสำนักวัดป่าต่าง ๆ ยังนิยมทำใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ตามประเพณีพระป่ากรรมฐานจะไป "ทำวัตร" ขอขมาครูบาอาจารย์ที่เราเคารพนับถือ และยังใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาครูบาอาจารย์ ในวาระสำคัญ เช่น “การขอนิสัย” ในโอกาสนี้ก็จะนำไม้เจียและผ้าอาบน้ำฝนไปถวายท่านด้วย
แต่พระป่าสายกรรมฐานบางที่ก็ไม่นิยมใช้กันแล้ว จะใช้แปรงสีฟันแบบปัจจุบันเหมือนกัน เพราะไม่มีผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการใช้ไม้สีฟัน จึงเริ่มสูญหายไปเรื่อยๆ และใช้กันไม่เป็นแล้ว
----วิธีทำโดยสังเขป----
โดยการเลือกไม้โกทาที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
นำมาตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 4-6 นิ้ว แต่ไม่เกิน 8 นิ้ว ผึ่งแดดพอหมาด ๆ ถ้าแดดจัดผึ่ง 2-3 ชั่วโมง หากตากแดดแห้งเกินไปเมื่อทุบไม้จะแตก จากนั้นนำมาทุบอีกด้านหนึ่งของไม้ แล้วผ่าแยกออกเป็นส่วนๆ
ใช้เข็มสอยด้านที่ทุบ แล้วใช้มีดตอกเหลาด้ามให้เรียบสวยให้เป็นกลม เอาฝอยที่เหลาออกจากด้ามมาขัดไม้สีฟันให้ขึ้นเงา นำไปตากแดดให้แห้งสนิทแล้วเก็บใส่ถุงป้องกันความชื้น
--เมื่อจะใช้ชำระฟัน--
ใช้ด้านที่เป็นฝอยชำระฟันให้สะอาด
ส่วนกลางของไม้เจียใช้ขูดลิ้นได้
ส่วนปลายใช้แบบไม้จิ้มฟัน
มีหลักฐานการใช้ไม้สีฟันตั้งแต่สมัยพุทธกาล
ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงอานิสงส์ของการเคี้ยวไม้สีฟันไว้
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รอบรู้ละเอียดอ่อนแม้ในเรื่องสุขอนามัยของพระภิกษุสงฆ์
จึงได้ทรงวางระเบียบวินัยไว้ และกล่าวถึงโทษและอานิสงส์ของการใช้ไม้ชำระฟัน ดังนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การไม่เคี้ยวไม้ชำระฟันมีโทษ ๕ ประการนี้ คือนัยน์ตาไม่แจ่มใส ๑ ปากมีกลิ่นเหม็น ๑ ลิ้นรับรสอาหารไม่บริสุทธิ์ ๑ ดีและเสมหะหุ้มห่ออาหาร ๑ ไม่ชอบฉันอาหาร ๑ ไม่เคี้ยวไม้ชำระฟันมีโทษ ๕ ประการนี้แล. คือ
1.ตาฝ้าฟาง นัยน์ตาไม่แจ่มใส
2.ปากมีกลิ่นเหม็น
3.ประสาทลิ้นรับรสได้ไม่ดี
4.น้ำดีและเสมหะหุ้มห่ออาหาร
5.เบื่ออาหาร ไม่ชอบฉันอาหาร
ภิกษุรูปใดละเมิดวินัยเรื่องนี้ ท่านให้ปรับต้องอาบัติทุกกฏ.
จากนั้นตรัสถึงการเคี้ยวไม้ชำระฟันว่ามีประโยชน์ 5 ประการ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเคี้ยวไม้ชำระฟันมีอานิสงส์ ๕ ประการนี้ คือ
1.ตาสว่าง นัยน์ตาแจ่มใส
2.ปากไม่มีกลิ่นเหม็น
3.ประสาทลิ้นรับรสได้ดี ลิ้นรับรสอาหารบริสุทธิ์
4.น้ำดีและเสมหะไม่หุ้มห่ออาหาร
5เจริญอาหาร
การเคี้ยวไม้ชำระฟัน มีอานิสงส์ ๕ ประการนี้แล เราอนุญาตไม้ชำระฟัน.
ขอบคุณแหล่งที่มา :
http://oknation.nationtv.tv/blog/mylifeandwork/2009/01/16/entry-1
https://hmong.in.th/wiki/Chew_stick
ตอน เมื่อ Auditor ไปเที่ยว...อินเดีย
https://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/FQ%20139%20p78-80.pdf
ที่มา:
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1814978075396003&set=pcb.1814982412062236&type=3&theater
นกแก้ว แห่งภูผา
อ่านต่อได้ที่
https://board.postjung.com/947870
เพจคณะสงฆ์ธรรมยุตจังหวัดสุรินทร์
สะเดา..สุดยอดประโยชน์จากยอดถึงปลายราก
https://www.winnews.tv/news/4434
สรรพคุณและประโยชน์ของต้นคนทา ! (ต้นโกทา)
https://medthai.com/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2/
แปรงสีฟันจาก ภูมิปัญญาพระสายป่าที่ทำใช้เอง รู้แล้วจะทึ่ง!!!
https://www.tnews.co.th/variety/205463
"ไม้สีฟัน" การทำความสะอาดฟันของคนสมัยก่อน
รู้จักไหม "ไม้เจีย" นิยมถวายตอนเข้าพรรษา ของดีมีประโยชน์ที่กำลังสูญหายไป ทำเองได้ง่ายๆ หลวงปู่มั่น หลวงตามหาบัว ก็เคยใช้
https://www.scholarship.in.th/prang/
มาดูวิธีทำไม้เจียกัน ที่ใช้กันมา 2600 ปี
https://prakumkrong.com/21477/
ประวัติศาสตร์
ปรัชญา
พุทธศาสนา
4 บันทึก
8
1
12
4
8
1
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย