13 เม.ย. 2022 เวลา 03:54 • ความคิดเห็น
มันมีอยู่เรื่องหนึ่ง ที่เราอาจจะเคยได้ยินกันมา ว่าทุกดวงจิตนั้นปกคลุมไป ด้วยคำว่าอวิชชา อุปาทาน วิบากกรรม เพียงแค่สามคำนี้ เราก็ต้องมาใคร่ครวญดู เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น ด้วยอารมณ์ที่เค้าเรียกว่าปรุงแต่ง เราก็ไม่เคยรู้จัก ไม่รู้ว่าอารมณ์ทิฐิ ความคิดเห็นนั้นมันมาจากตรงไหนบ้าง มีอะไรที่ทำให้จิตนั้นหลงใหล เชื่อยึดถืออยู่นั่น ถ้าเราได้ฝึกหัด เรียนรู้จักสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวตนมากขึ้นจับตนค้นตน เราก็จะได้เรียนว่า สาเหตุที่เรามีความเชื่อแตกต่างกัน มีทิฐิความคิดเห็นที่ แตกต่างกัน นิสัยอะไรแตกต่างกัน ก็ล้วนเกิดขึ้นจากคำว่า สะสมอะไรไว้ ที่ห้อมล้อมจิตของเราอยู่ เรานำเข้าสู่ตัวตนของเราเอง แล้วก็ยึดโดยไม่รู้ตัว เพราะของมันมองไม่เห็น คือ มันไปได้เป็นวัตถุสิ่งของ แต่มันเป็นนามธรรม ที่ไหลเข้ามาเลยวิญญาณทั้งหก เข้าไปสู่จิต มันก็เป็นอวิชชาปกปิดจิตไปเสียเลย เค้าเรียกว่า สะสมอวิชชาไปเรื่อยๆ จนแก่เฒ่าชราไป
เบื้องหลังอวิชชา ก็คือ กรรม กรรมที่ไหลออกมาจากธาตุสี่ เป็นอารมณ์ทิฐิความคิดเห็น ปรุงแต่งให้ยึดเรื่องราวในโลกที่รับรู้ด้วยวิญญาณทั้งหก หลงใหลในสิ่งที่ไม่เที่ยง เหมือนที่โลกมีกลางวันกลางคืน สว่างมาก็หากิน มืดมาก็นอน ก็ทำอย่างนี้ไป กาลเวลาที่โลกหมุนไม่เคยหยุดนิ่ง จิตเราก็หมุนไปตามอารมณ์ที่โลกปรุงแต่งให้ยึดถือ
จิตที่เรามาอาศัยเรือนกายที่ประกอบขึ้นมาด้วยธาตุสี่ ที่สะสมบันทึกเรื่องราวที่เป็นกรรม ที่จิตแต่ละดวงสะสมมา เมื่อเกิดมามีชีวตอาศัยเรื่อนกายพ่อแม่ สิ่งที่เกิดขึ้นในเรือนกายนี้ ก็ไหลออกมาเป็นอารมณ์ เนื่องด้วยกรรม กรรมที่มีกุศลหรือไม่เป็นกุศล ชักนำให้พบเจอะเจอ ใช้กายวิญญาณนี้ไป สัมผัส เกิดชอบใจไม่ชอบใจ มีทิฐิมีความยึด ยึดในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมา เป็นอัตตาเป็นตน จึงเกิดเป็นมานะทิฐิ ปรุงแต่งเกิดความขัดแย้ง ในสิ่งที่ตนยึด กรรมที่ยึดอยู่ หลวใหลอยู่อย่างนั่น นั้นก็เหตุมาจากความยึดถือ เหนียวแน่นอยู่อย่างนั้นไม่สามารถคลี่คลายไปได้ นั่นก็ด้วยกรรม ที่สะสมมาไม่เหมือนกัน
เรื่องราวที่จิตยึดถือ หลงใหล อยู่กับคำว่า อวิชชา อุปาทาน วิบากกรรม จิตที่เมตตาจิตของตัวเองที่จะศึกษาเรียนรู้ขึ้นมานั้น หนทางมันแคบ เพราะมีเพียงทางเดียวทีจิตจะรู้จักจิตของตนเองได้ พ้นเรื่องราวความยึดเหล่านี้ ก็มีเพียงเจ้าชายสิทธัตถะเป็นแบบอย่าง เราก็เดินตามท่าน ศึกษาไปตามรอยของท่าน แล้วเราก็จะมั่นใจ เข้าใจในเรื่องอารมณ์ เรื่องราวกิเลสที่เกิดในตนนั้น ทำให้ทุกข์ทรมานอย่างไร จะได้หนีทุกข์ไปได้ ละสิ่งที่หลงใหลยึดถือ จิตใจเราก็เบาสบายขึ้น มีความสุขมากขึ้น เพราะจิตทุกคนต่างต้องการความสุข แต่ไม่รู้ว่า จะทำอย่างไรแก้ไขให้จิตมีสุขเกิดขึ้น เราก็ใครครวญให้ดี เพราะเรื่องราวของคำว่า กรรมนั้น ต้องแก้ไขด้วยจิตของตนเอง ไปแก้ไขคนอื่นไม่ได้เลย
โฆษณา