13 เม.ย. 2022 เวลา 16:03 • หุ้น & เศรษฐกิจ
🔥BREAKING !!🔥 : เงินเฟ้อเอเชียเริ่มหนัก ! เตรียมจับตากระแสการขึ้นดอกเบี้ยในบ้านเรา !! ล่าสุด PPI ญี่ปุ่นอยู่ที่ 9.5% แล้ว ส่วน จีน อินเดีย ไทยก็ไล่ตามกันมาติด ๆ ขณะที่ทางฝั่งอังกฤษก็เผชิญเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 30 ปีเหนือ 7% ซึ่งประเด็นหลักก็คือสงครามยูเครน หากยังคงดำเนินต่อไปก็จะเป็นแรงผลักดันเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง !
5
⚠️ล่าสุดหลายประเทศในเอเชียก็เริ่มได้รับแรงกระแทกจากเงินเฟ้อแล้วเช่นกัน โดยมีรายงานจาก Bloomberg ว่าตอนนี้ราคาพลังงานและอาหารเริ่มพุ่งสูงขึ้นในเอเชีย แม้ว่าจะยังได้รับผลกระทบน้อยกว่าสหรัฐฯ-ยุโรปก็ตาม
📌เงินเฟ้อใน ญี่ปุ่น จีน อินเดีย อินโดนนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเกาหลีใต้ ล้วนเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ในขณะที่นิวซีแลนด์เผชิญเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 22 ปี ซึ่งหลาย ๆ อย่างก็บ่งชี้ว่าจุดที่เลวร้ายที่สุดยังมาไม่ถึงด้วย
3
⚠️อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (ฺBond Yield) ในเอเชียก็เริ่มเพิ่มขึ้นตลอดปีนี้ นำโดยเกาหลีใต้ที่โดดเด่นที่สุด ขณะที่ดัชนีผลตอบแทนหุ้นโดยเฉลี่ยร่วงลง -2.6% ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ปี 2013 และถือเป็นการบ่งชี้ว่าธนาคารกลางในเอเชียจะต้องยกระดับดอกเบี้ยเพื่อชะลอเงินเฟ้อในอนาคต
1
📌ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (the Asian Development Bank : ADB) ระบุว่าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น มีส่วนขับดันให้เงินเฟ้อเฉลี่ยในเอเชียพุ่งขึ้นอีก 1% เป็น 3.7% ในปีนี้ ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่น่าเป็นห่วง และแม้ว่าผลกระทบจะยังน้อยกว่าในสหรัฐฯ มาก แต่นั่นก็ทำให้ผู้กำหนดนโยบายต้องรีบหันมามองเรื่องนี้โดยด่วน
2
⚠️ตามรายงานของ Australia & New Zealand Banking Group. (ANZ) เมื่อเดือนที่แล้ว ประเทศตลาดเกิดใหม่เผชิญภาวะเงินทุนไหลออกรวมถึง 2.23 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นการเทขายทรัพย์ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 (ตอนที่ตลาดหุ้นร่วงแรง ๆ ในช่วงเริ่มโควิด)
6
อัตราเงินเฟ้อผ่านดัชนีสำคัญอย่าง CPI และ PPI ในเอเชีย
📌อินเดีย ซึ่งมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก กำลังเผชิญวิกฤตอาหารและพลังงานเช่นกัน โดยราคาผักในย่านชานเมืองต่าง ๆ เพิ่มขึ้นถึง 80% เมื่อเทียบกับหลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่ผู้ค้าระบุว่าปัญหาเหล่านี้มาจากต้นทุนค่าก๊าซหุงต้มที่พุ่งขึ้นราว 30% ในช่วงเวลาเดียวกัน
6
⚠️ในประเทศจีน ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เพิ่มขึ้น 8.3% จากปีก่อน ซึ่งแม้ว่าต้นทุนเหล่านี้จะยังไม่ถูกส่งต่อไปยังผู้บริโภค แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ผลิตนั้น ก็ถือเป็นความเสียหายที่รัฐบาลต้องเข้ามาควบคุมดูแล
📌ธนาคารกลางในเกาหลีใต้และสิงคโปร์จะมีการประชุมกันในสัปดาห์นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับการออกมาตรการควบคุมเงินเฟ้อ โดยคาดว่าจะเริ่มมีกระแสการปรับขึ้นดอกเบี้ยเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้
⚠️ส่วนไทยเอง ตอนนี้กำลังเผชิญเงินเฟ้อในผู้บริโภคอยู่ที่ 5.4% ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่ดีนัก แต่ก็ยังถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น อินโดนนีเซีย ที่ต้องเผชิญราคาน้ำมันสูงขึ้นถึง 40% ในเดือนนี้เพียงเดือนเดียว
📌ในมุมมองของผู้นำเอเชียนั้น พวกเขามองว่าอาหารและพลังงานจะเป็นตัวสำคัญที่สุดในการควบคุมเงินเฟ้อ หรือกล่าวคือ หากควบคุมราคาอาหารและพลังงานได้ดี เงินเฟ้อในภูมิภาคนี้ก็อาจไม่สูงมาก
2
⚠️แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราต้องยอมรับว่าแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะสั้นมีโอกาสจะสูงขึ้นอีก เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า "จุดที่เลวร้ายที่สุดน่าจะยังคงมาไม่ถึง" โดยข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนเรื่องนี้ก็คือ ตอนนี้ดัชนี PPI และ CPI ในเอเชียยังห่างกันมาก ซึ่งหมายความว่าผู้ผลิตยังไม่ส่งต่อต้นทุนที่สูงขึ้นไปยังผู้บริโภค แต่ในท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือ ผู้ผลิตจะต้องปรับขึ้นราคาสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และนั่นจะทำให้ CPI สูงขึ้น
10
📌Krystal Tan นักเศรษฐศาสตร์ของ ANZ ให้ความเห็นในประเด็นนี้เอาไว้ว่า
“ช่องว่างระหว่าง PPI และ CPI ในปัจจุบันนั้นใหญ่โตเป็นพิเศษ สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่ามีแรงผลักดันด้านราคาอย่างมากในกระบวนรการ ซึ่งจะไหลเข้าสู่ CPI ในท้ายที่สุด เนื่องจากผู้ผลิตเริ่มที่จะส่งผ่านต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น(ไปยังผู้บริโภค)"
2
(The gap between PPI and CPI is currently exceptionally large, This suggests to me that there are significant price pressures in the pipeline that will flow into CPI eventually as producers start to pass through more of the higher input costs.)
⚠️ส่วนทางฝั่ง Chang Shu หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ฝ่ายเอเชียของ Bloomberg ให้ความเห็นว่า
“ความเครียดของ Supply Chain ในเอเชียจะเลวร้ายลงในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ซึ่งทำให้เกิดความกังวลเรื่องเงินเฟ้อทั่วโลก สงครามในยูเครนเป็นตัวทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น และการ Lockdown เนื่องจากโควิด-19 ในเซี่ยงไฮ้ ก็ทำให้ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกต้องหยุดชะงัก ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ชี้ไปในทิศทางเดียวกัน แต่ต้นทุนสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นและเวลาในการจัดส่งที่นานขึ้น ถือเป็นการส่งสัญญาณถึงเงินเฟ้อที่จะคงอยู่อย่างต่อเนื่อง”
3
(Asia supply chain stress is set to worsen in the months ahead, adding to concern about global inflation. The war in Ukraine is driving up fuel prices and Shanghai’s Covid-19 lockdown is gumming up the world’s biggest port. The data doesn’t all point in one direction, but elevated commodity costs and longer delivery times signal persistent snarls.)
เงินเฟ้อในอังกฤษทะลุ 7%
📌นอกจากนี้ในโซนเอเชียแล้ว ล่าสุดอัตราเงินเฟ้อในประเทศอังกฤษ ประกาศออกมาสูงถึง 7% ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 30 ปี โดยแน่นอนว่าสาเหตุหลักมาจากต้นทุนค่าพลังงานที่พุ่งขึ้นถึง 54% ภายในเดือนนี้เพียงเดือนเดียว และไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันเกิดจากการคว่ำบาตรพลังงานของรัสเซีย
1
⚠️ผู้เชี่ยวชาญในอังกฤษหลายคนออกมาให้ความเห็นว่า ตัวเลขเงินเฟ้อที่ประกาศออกมาล่าสุดนี้ ได้เน้นย้ำถึงความรุนแรงของแรงขับเคลื่อนทางด้านราคา และปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้หลายล้านครัวเรือนในอังกฤษ "กำลังเผชิญภาวะยากจนลงจริง ๆ" โดยมีผู้คนจำนวนมากที่ต้องตัดค่าใช้จ่ายทุกอย่างที่ไม่จำเป็นออกไปให้หมด
📌BOE คาดว่าเงินเฟ้อจะพุ่งทะลุ 8% ภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งคาดการณ์เช่นนี้หมายความว่าจุด Peak อาจจะยังมาไม่ถึงเช่นเดียวกับในเอเชีย ดังนั้นคงต้องมาจับตาดูเงินเฟ้อเหล่านี้ในทั่วโลกกันเลยทีเดียว
⚠️ในเดือนนี้ ราคาเชื้อเพลิงยานยนต์ของอังกฤษพุ่งขึ้นอีก 9.9% ขณะที่ราคาผู้ผลิต (PPI) เพิ่มขึ้น 11.9% ส่วนต้นทุนวัตถุดิบต่าง ๆ พุ่งขึ้น 19.2% (ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่เก็บสถิติมาในปี 1997)
2
📌ส่วนเงินเฟ้อในสหรัฐฯ นั้นประกาศออกมาเมื่อวานที่ 8.5% ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์ด้วย แต่ผู้เชี่ยวชาญของสหรัฐฯ บางคนกล่าวว่าเราอาจได้เห็นเงินเฟ้อทะลุ 10% แม้บางคนจะกล่าวว่าจุด Peak ของเงินเฟ้อสหรัฐฯ ได้ผ่านพ้นไปแล้วก็ตาม
1
⚠️โดยสรุปแล้ว ภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกดูเหมือนว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีกระยะ และในหลายพื้นที่ก็ดูเหมือนว่าจุด Peak ยังมาไม่ถึง ดังนั้นแล้วผู้อ่านควรจะติดตามเรื่องนี้ต่อไปอย่างใกล้ชิด !
2
📌ซึ่งไม่ว่าสถานการณ์เหล่านี้จะเป็นอย่างไรต่อไป ทาง World Maker ก็จะเกาะติดทุกความเคลื่อนไหว และจะนำข้อมูลมาอัปเดตให้ท่านทราบแบบ Real Time อย่างแน่นอน ! ใครไม่อยากพลาดข่าวสารสำคัญก็ติดตามเพจเราไว้ได้เลยครับ
เงินเฟ้อสหรัฐฯ สูงสุดนับตั้งแต่ยุค 1980 ที่ 8.54% แล้ว !
ทันโลก ทันเหตุการณ์ ทันข่าวสารอย่างแท้จริงไปกับ World Maker
🙏 ขอบคุณทุกท่าน 🙏 ที่ติดตาม World Maker ฝากกด Like และ Share เพื่อเป็นกำลังใจและให้นักลงทุนท่านอื่นได้รับข้อมูลที่มีประโยชน์เหล่านี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ 😊
โฆษณา