14 เม.ย. 2022 เวลา 14:14 • ประวัติศาสตร์
ช่างภาพในคุกตวลสแลง ตอนที่ 3 ความโหดร้ายในคุกตวลสแลง
🔴 หมายเหตุ : เนื้อหาในคำแปลอาจไม่ตรงกับในคลิปทั้งหมด อาจมีการเรียบเรียงให้กระชับและเข้าใจง่ายขึ้น
พิธีกร : คุณ Nhem En สามารถอธิบายได้ไหมว่ารูปพวกนี้คืออะไร?
Mr.Nhem En : ครับ พูดตามตรงเลยรูปถ่ายพวกนี้คือศพนักโทษที่ถูกซักถาม พอเสียชีวิตแล้วอังการ์จะให้ถ่ายภาพเก็บไว้เพื่อยืนยันว่าถูกทารุณกรรมแล้วเสียชีวิต
รูปนักโทษที่ถูกซักถามแล้วโดนทารุณกรรมจนเสียชีวิต
พิธีกร : เท่าที่ผมรู้ในตอนที่ผู้คุมซักถามและทารุณกรรมนักโทษจนเสียชีวิต ตัวผู้คุมอาจมีความผิดเช่นกัน
Mr.Nhem En : ผมคิดว่าประมาณ 10 ถึง 20% มีปัญหาแบบนี้จริงๆ บางครั้งนักโทษคนนั้นอาจเป็นคนที่พอจะรีดข้อมูลสำคัญได้ แต่พอถูกซักถามแล้วเกิดเสียชีวิต คนที่ซักถามก็มีโทษเช่นกัน
พิธีกร : รูปถ่ายทั้งหมดนี้ใครเป็นคนถ่าย?
Mr.Nhem En : ครับ ผมกับทีมงานของผมเป็นคนถ่ายทั้งหมด
พิธีกร : คุณมีความรู้สึกอย่างไรบ้างในตอนที่คุณใช้กล้องถ่ายรูปเหล่านี้?
Mr.Nhem En : ตอนนั้นผมรู้สึกปกติครับ เนื่องจากผมเป็นแค่คนถ่ายรูป เพราะในสมัยที่อังการ์ก่อตั้งนั้นมีความเข้มงวดมากๆ แต่ความรู้สึกของผมลึกๆคือรู้สึกสังเวชเมื่อเห็น ความตาย ความทุกข์ทรมาร ถึงในตอนนั้นเราจะรู้สึกสงสารอยากช่วยคนเหล่านั้น แต่คำพูดของเขมรแดงคือ "หัวของใคร ผมของคนนั้น" เขารับรู้ในงานของเขา เรารับรู้ในงานของเรา ไม่มีการข้องเกี่ยวกัน ผมเป็นช่างภาพทำหน้าที่ได้แค่ถ่ายรูปเท่านั้น ไม่มีการยุ่งเกี่ยวกัน ถ้าเราพูดว่ารู้สึกสงสาร รู้สึกเศร้า คือไม่ได้เด็ดขาด
พิธีกร : ตอนที่คุณเป็นช่างภาพที่นั่น ตอนนั้น Duch หรือ ผู้นำเขมรแดงในคุกตวลสแลง (S-21) ได้มีการใช้ให้คุณไปทำการซักถามหรือทารุณกรรมนักโทษหรือไม่?
Mr.Nhem En : ไม่มีเลยครับ ภารกิจคนถ่ายรูปคือตั้งใจถ่ายรูปอย่างเดียว
พิธีกร : คุณเข้าทำงานที่คุกตวลสแลง (S-21) แห่งนี้ตั้งแต่ปีอะไร
Mr.Nhem En : หลังจากที่ผมกลับจากจีนผมเข้าทำงานที่คุกตวลสแลง(S-21) กลางปี 1976
เพราะอังการ์มีคำสั่งให้ผมเข้าทำงานที่นี่ และผมทำงานที่นี่ถึงวันที่เวียดนามยึดกรุงพนมเปญได้คือ 7 มกราคม เวลากลางวัน 12:30 นาที
คุณ Nhem En เล่าถึงเหตุการณ์ 7 มกรา
พิธีกร : ตอนที่คุณออกจากคุกตวลสแลง (S-21) เดือนมกราคม ปี1979 ตอนนั้นมีนักโทษที่ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่
Mr.Nhem En : ตอนนั้นมีนักโทษเหลือน้อยมาก นักโทษที่อยู่ชั้นล่างมี 10 ถึง 20 คน แต่นักโทษอีกจำนวนอาทิเช่น คุณลุง Bou Meng เขาให้ออกจากที่นี่เลย แต่พวกเขาโชคดีมากๆ ส่วนนักโทษที่ยังหลงเหลืออยู่เขาฆ่าหมดเเล้วครับ
ผู้รอดชีวิตจากคุกตวลสแลง
พิธีกร : นักโทษที่ยังหลงเหลืออยู่คือเขาฆ่าวันที่ 7 มกราคมเลยใช่ไหม?
Mr.Nhem En : ครับ ฆ่าวันนั้นเลยครับ แต่ที่ผมรู้ชัดเจนเลยคือวันที่ 5 กองทัพเวียดนามตีถึง Neak Loeung ผมจำได้ชัดเลยว่า เวียดนามมาถึงกรุงพนมเปญคือวันที่ 7 มกราคม เวลากลางวัน 12:30 แต่พวกเขาเห็นเรา เขาไม่ยิง
พิธีกร : พูดเกี่ยวกับกองทัพเวียดนาม ข้างหน้าของเราก็มีเหยื่อผู้โชคร้ายเป็นชาวเวียดนาม ผมอยากให้คุณอธิบายว่าชาวเวียดนามทั้งหมดนี้
จับมาจากที่ไหน แล้วพวกเขามีโทษอะไร?
Mr.Nhem En : พูดตามตรงชาวเวียดนามทั้งหมดนี้ที่ถูกจับในตอนที่กองทัพเขมรแดงบุกถึง Taininh พอไปถึงก็มีการจับทั้งทหารเวียดนามและประชาชนจังกลับมาด้วย แต่โดยส่วนมากจะเป็นทหารกองทัพเวียดนาม
พิธีกร : แล้วคุณเป็นคนถ่ายรูปทั้งหมดเลยใช่ไหม?
รูปนักโทษชาวเวียดนามที่ถูกขังในคุกตวลสแลง
Mr.Nhem En : ครับ คือผมเองที่เป็นคนถ่ายรูปทั้งหมดนี้ นี่คือความต้องการของอังการ์ที่ให้ถ่ายรูปนักโทษทั้งหมด หนึ่งในนั้นมีชาวไทยและชาวต่างชาติอีกหนึ่งจำนวน แต่ที่ผมจำได้ชัดเลยคือ มีชาวไทยและชาวเวียดนามมากพอสมควร
พิธีกร : การเดินทางเคลื่อนย้ายนักโทษจากคุกตวลสแลง(S-21)นำไปฆ่าที่ทุ่งสังหาร Choeung Ek คุณเคยไปที่นั่นหรือไม่?
Mr.Nhem En : ไม่เคยครับ เพราะไม่มีคำสั่งให้ไปที่นั่น ถ้าไม่มีคำสั่งผมก็ไปไม่ได้ครับ
พิธีกร : ช่วงเวลาการทำงานที่คุกตวลสแลง (S-21) คุณไม่เคยไปที่ทุ่งสังหาร Choeung Ek ใช่ไหม?
Mr.Nhem En : ผมไม่เคยไปเห็นเลยครับ จนกระทั่งปี 1995 ผมได้ไปที่ทุ่งสังหาร Choeung Ek กับนักข่าวช่อง NHK - TV ของประเทศญี่ปุ่น ทำให้ผมเข้าใจว่านักโทษที่ขึ้นรถแล้วออกไปจากคุกตวลสแลง(S-21)คือไปฆ่าที่นั่น และก็มีบางส่วนที่ถูกฆ่าหลังคุกตวลสแลง(S-21)
ทุ่งสังหาร Choeung Ek
พิธีกร : แต่ในตอนนั้นมีการเคลื่อนย้ายนักโทษไปฆ่าทุกวัน คุณรู้หรือไม่ว่าเขาพานักโทษไปที่ไหน?
Mr.Nhem En : ผมรู้แค่ว่าช่วงเวลา 4 หรือ 5 PM จะมีการเคลื่อนย้ายนักโทษออกไปข้างนอก โดยที่รถคันนั้นจะมีสัญลักษณ์ของโรงพยาบาล
พิธีกร : ในหนึ่งวันมีรถเคลื่อนย้ายนักโทษกี่คัน?
Mr.Nhem En : ไม่แน่นอนครับ บางครั้งผมเห็นรถ 1 หรือ 2 คันขับออกไป
พิธีกร : ในรถหนึ่งคันมีนักโทษประมาณกี่คน?
Mr.Nhem En : บางครั้งมี 10 - 30 คนแต่ก็ไม่แน่นอนเพราะไม่มีการกำหนดจำนวนนักโทษในแต่ละคัน
พิธีกร : ในตอนที่นำนักโทษขึ้นรถ มีผู้คุมขึ้นไปคอยดูไหม?
Mr.Nhem En : มีครับ ไปถึงเขาก็มัดมือ ผูกผ้าปิดตา
พิธีกร : ดังนั้นนักโทษที่ถูกนำไปฆ่าคือนักโทษที่ถูกซักถามเรียบร้อยแล้วใช่ไหม?
Mr.Nhem En : ครับนักโทษบางคนถูกซักถามเสร็จแล้วแต่บางคนก็ยังไม่ถูกซักถาม ส่วนใหญ่คนที่ถูกจับจะมาจากภาคตะวันออก ภาคกลาง เช่นจังหวัด Koh Komg หรือ Battambong บางครั้งนำนักโทษมาก็ไม่มีการซักถาม
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ ตอนนี้ทำให้เรารู้ว่าไม่ใช่แค่ชาวเขมรที่ถูกทารุณกรรมแต่ยังมีชาวไทย ชาวเวียดนาม และชาวต่างชาติอีกหนึ่งจำนวนที่จับมาที่นี่
ด้วยรักจาก เปมิกา ❤️
CR YouTube RFA Khmer
(มีซับอังกฤษ)
โฆษณา