15 เม.ย. 2022 เวลา 13:36 • การศึกษา
ในวันสงกรานต์นี้ก็มีข่าวออกมาเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมเราแต่ไม่มีใครกล้าพูดออกมาเหมือนเป็นปัญหาที่ซ่อนอยู่ในพรม สิ่งนี้อาจจะเห็นว่าเป็นข่าวแต่อาจจะเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเราทุกคน ข่าวที่เกิดขึ้นเป็นการจุดประกายให้สังคมมีการตระหนักว่าสิ่งนี้ไม่โอเคที่จะเกิดขึ้น
credit MeToo Movement website
การล่วงละเมิดทางเพศเป็นการล่วงละเมิดบุคคลเป็นเรื่องผิดกฎหมาย การล่วงละเมิดทางเพศหรือการล่วงละเมิดทางเพศที่ไม่พึงประสงค์หรือมีการร้องขอความโปรดปรานทางเพศและการล่วงละเมิดทางวาจาหรือในลักษณะทางเพศอื่นๆ
เราในฐานะเพื่อนหรือคนรอบข้าง สามารถช่วยเหลือ โดยการฟัง อยู่เคียงข้างกับผู้ที่รอดจากความรุนแรงทางเพศ หรือช่วยเยียวยาในทางอ้อมไม่ว่าเราจะช่วยโดยวิธีใดเราควรที่จะอยู่เคียงข้าง
การฟังด้วยความเมตตาและเห็นอกเห็นใจเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อได้ระบายและทำให้เขาได้สบายใจขึ้น
ในเมืองไทยการไปพบจิตแพทย์อาจจะยาก ในต่างประเทศเขาจะมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะที่ช่วยเหลือและคอยให้กำลังใจและวิธีปฏิบัติแก่ผู้ที่เคยตกเป็นเหยื่อ
เดี๋ยวลองกลับค่อยๆมาดูด้วยกันว่าเราจะทำยังไงดีนะคะก็ขออนุญาตแปลความรู้ที่ได้อ่านมาให้ฟังให้เพื่อนๆมาแชร์กัน
ข้อมูลที่จะนำมาเล่านี้นะคะมาจากเว็บไซต์ที่มีแฮชแท็ก #metoo จะแปะลิงค์ไว้ด้านล่างนะคะ
ประการแรกสำหรับผู้ที่เป็นเหยื่อโดนกระทำ การที่เขาเริ่มพูดออกมานั้นเป็นการยากเป็นเหมือนกับความข่มขืนที่เขาเก็บไว้ข้างในก่อนที่เขาจะสามารถพูดออกมาเป็นคำพูดได้
ตรงนี้ต้องเข้าใจนะคะว่าไม่ใช่เกิดเรื่องขึ้นแล้วแล้วเขาจะออกพูดขึ้นมาทันทีเพราะว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นสิ่งที่กระทบจิตใจไม่ใช่แค่ร่างกายอย่างเดียวแต่กระทบจิตใจทั้งภายใน
อยากฟังคนที่มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในชีวิตหรืออาจจะผ่านมาในวัยเด็กเขาอาจจะมีการช็อคข้างใน ทำให้เขาไม่กล้าพูดออกมาหรือเขาจะมีอาการพฤติกรรมที่เงียบหรือเก็บตัว บางคนก็สามารถที่จะค่อยๆพูดออกมาได้แต่บางคนก็จะนิ่งไว้ในใจ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากซึ่งขึ้นกับแต่ละคนดังนั้นเราไม่ควรไปวิพากษ์วิจารณ์อะไรทั้งนั้น
และอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรที่จะเข้าใจก็คือความทรงจำในขณะที่เขาถูกทำร้ายมันไม่ใช่เป็นเส้นตรง ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนตั้งแต่ตอนที่เกิดเรื่องดังนั้นผู้ที่เป็นเหยื่อผู้รอดชีวิตผ่านมาสามารถสัมผัสประสบการณ์ย้อนหลังขึ้นไปได้เสมอ เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นในใจเขาจะมีความรู้สึกว่าเขาอยู่ในขณะเหตุการณ์นั้น ภาษาอังกฤษจิตตวิทยา เขาเรียกว่า Flash Back (PTSD = Post-Traumatic Stress Disorder)
ตรงนี้สำคัญมากเพราะว่าเขาอาจจะมีภาวะที่ร้องไห้หรือ เงียบฉับพลัน ดังนั้นเราที่เป็นเพื่อนหรือผู้ใกล้ชิดเราได้รับทราบถึงความเจ็บปวดของเขา
📌 ดังนั้นการใช้ภาษาจึงสำคัญมากอย่างเช่นเราควรที่จะใช้วลีเช่น
"ฉันเชื่อคุณ"
"ขอบคุณที่บอกฉัน"
"คุณเป็นคนที่กล้าหาญจริงๆ"
"มันไม่ใช่ความผิดของเธอ"
"ฉันอยู่ตรงนี้เพื่อเธอ"
อีกอย่างหนึ่งที่เราควรระวังก็คือถ้าเพื่อนหรือคนที่ใกล้ชิดเราเปิดเผยกับเราเดี๋ยวเริ่มคุยกับเขาเกี่ยวกับว่าคนคนนั้นเขาทําร้ายร่างกายยังไง เพราะเหมือนกับเป็นการย้ำเตือน
📌 เราควรที่จะฟังอย่างตั้งใจและด้วยความสุภาพเคารพในส่วนบุคคล ขณะที่ฟังแล้วก็ควรที่จะสบตาหรือว่าจับมือเขาขณะที่เขาเล่า
อีกประเด็นหนึ่งก็คือเราต้องรักษาความลับตลอดเวลาและมีเหตุผลที่ทำไมเขาบอกเราถ้าคนเขาที่เปิดเผยอยากให้เรารู้เขาก็จะบอก
ข้อมูลที่เขาแชร์กับเราก็ควรที่จะ อยู่ที่ภาษาที่เขาใช้เราอย่าไปแต่งเติมภาษาเขาหรือคำบอกเล่า
📌 ทุกอย่างเราต้องเก็บเป็นความลับ
เราอาจจะถามเขาว่ามีอะไรที่เขาต้องการให้เราช่วยเหลือ เราอยากกระโดดเข้าไปในฐานะที่เป็นเขาเราอยู่ในฐานะที่เป็นผู้ฟังเท่านั้นตรงนี้สำคัญนะคะ
ที่เขาเล่าก็อาจจะมีอารมณ์ร้องไห้หรือซึมเศร้าเข้ามา เราในฐานะที่เป็นผู้ฟังเราต้องนิ่งและเป็นผู้ฟังที่ดีที่สุด
ถ้าผู้เล่าไม่บอกว่าใครเป็นคนทำร้ายเขาก็อย่าถามจนกว่าเขาเล่าเอง
เพราะว่าผู้ที่ตกเป็นเหยื่อบางคนอาจต้องอยู่ในสถานะที่ต้องปกป้องตัวเองและมีปัจจัยหลายอย่าง
📌 อีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้ภาษาอย่าใช้คำว่า "ควร" "ต้อง"
อย่ากำหนดหรือใช้คำเรียก ต่างๆนานาให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ พูดแล้วใช้ประสบการณ์พูดถึงเรื่องนี้ด้วยตัวเองเขาอาจจะอยู่ยังไม่พร้อมในสถานะที่จะพูดออกมาได้
👉 ถึงผู้อ่านทุกท่านถ้าใครมีความคิดเห็นหรือจะจะรวมกลุ่มมาช่วยเหลือสังคมทางด้านนี้โดยให้ความรู้เป็นวิทยาทาน inbox มานะคะ
#ไฮโซลูกนัท #แอน #metoo #metooThailand
โฆษณา