ทำไมประเทศญี่ปุ่นถึงสามารถแข่งขันกับประเทศมหาอำนาจด้าน soft power อย่างเกาหลีใต้ได้ ?
https://travel.mthai.com/world-travel/172487.html
ย้อนกลับไปประมาณทศวรรษที่ 70s-80s กระแสอเมริกันคือทิศทางหลักที่นิยามมาตรฐานคำว่า ‘Cool’ ในประเทศไทยจึงทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นก็ได้ก่อตั้งโครงการ Japan Foundation ขึ้นมาในปี 1974 เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมญี่ปุ่นในหมู่ชาวไทย ซึ่งหลักๆ แล้วจะเน้นไปที่วัฒนธรรมในแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม นับตั้งแต่การชงชา จัดดอกไม้ รวมถึงภาพยนตร์ซามูไร ที่อาจจะยังดูห่างไกลจากความเข้าใจของคนไทยอยู่มากทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจจะดำเนินโครงการโดยดำเนินโครงการในรูปแบบการส่งออกวัฒนธรรมตามนโยบาย Cool Japan ถือกำเนิดขึ้นในระยะสิบปีที่ผ่าน ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ต้องการหยิบจับสินค้า Made in Japan ผสานเข้ากับวิถีทางวัฒนธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าในการตีตลาดโลกนี้ (พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล, 2559)
2
นโยบาย COOL JAPAN คือนโยบายที่ว่าด้วยการสนับสนุนสินค้าและบริการส่วนใหญ่ในกลุ่มคอนเทนต์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น การ์ตูน ดนตรี เกม เป็นต้น และเริ่มขยายวงกว้างสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้า อาหารและวัฒนธรรมอีกด้วยโดยนโยบาย COOL JAPAN เป็นนโยบายที่เกิดขึ้นสมัยนายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง เหตุจากที่จำนวนประชากรประเทศญี่ปุ่นลดลงอย่างต่อเนื่องและอุตสาหกรรมที่เคยรุ่งเรื่องในอดีตถดถอย การบริโภคภายในประเทศลดลงส่งผลทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจนโยบายนี้จึงถือกำเนิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
เมื่อประเทศญี่ปุ่นเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซานิ่งไม่เติบโตกว่าสิบปี จนเรียกว่าเป็นทศวรรษที่สูญเสียไป (the lost dacade) ของประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากการขายสินค้าอุตสาหกรรมที่เป็นรายได้หลักทำเงินให้ประเทศญี่ปุ่นมาโดยตลอดถูกประเทศจีน และเกาหลีใต้ แย่งตลาดไป ทำให้สินค้าญี่ปุ่นขายได้น้อยลงทำให้รายได้ของประเทศลดลงเนื่องจากคนญี่ปุ่นเป็น คนมีระเบียบชีวิต มีการคิดวางแผนอนาคต และมีอายุยืนยาวมากขึ้น จึงทำให้มีความวิตกกังวล กลัวจะไม่มีเงินใช้ยามแก่จึงไม่ยอมใช้เงินจับจ่ายใช้สอยโดยไม่จำเป็น ทำให้การบริโภคในประเทศถดถอย การขายสินค้าภายในประเทศไม่เติบโต
ประเทศญี่ปุ่นจึงคิดแก้ไขโดยหาทางออกจากกรอบเศรษฐกิจเดิมที่อาศัยฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม มาเป็นแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ คือการเอาสิ่งดีที่ประเทศญี่ปุ่นมีอยู่แล้วในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เรียกว่า The Cool Japan ซึ่งใช้ความอ่อนโยนทางวัฒนธรรมในการผลิตสินค้าและบริการซึ่งแตกต่างจากอำนาจทางเศรษฐกิจเดิม (สมชัย, 2559)