17 เม.ย. 2022 เวลา 04:29 • ประวัติศาสตร์
เรื่องสั้นหนึ่งหน้ากระดาษ ตอนที่ 7 'ทำไมความเร็วของเรือถึงใช้หน่วยเป็นนอต (knot) ?'
ปกติแล้วเมื่อเราขับรถหรือขี่จักรยาน ความเร็วจะถูกวัดเป็นไมล์ต่อชั่วโมงหรือกิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เมื่อเราอยู่บนเรือแล้วล่ะก็...หน่วยวัดจะเปลี่ยนไปทันที
นอต หรือ knot จะใช้เป็นหน่วยวัดความเร็วของเรือว่าเรือแล่นได้เร็วแค่ไหน
4
แล้วทำไมถึงใช้หน่วยเป็น ‘knot’ ที่แปลว่าปมเชือกล่ะ?
บอกได้เลยว่าที่มาของมันสามารถย้อนกลับไปได้เป็นร้อย ๆ ปีเลยทีเดียว
ลูกเรือในอดีตที่ไม่มี GPS หรือแผนที่สมัยใหม่ใช้เหมือนปัจจุบัน พวกเขาต้องใช้สิ่งของที่อยู่รอบตัวเพื่อกำหนดว่าจะไปที่ไหนและต้องใช้เวลาเท่าไหร่กว่าจะไปถึงจุดหมาย การรู้ความเร็วของเรือจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ในยุคแรก ๆ ของการเดินเรือ ลูกเรือมักจะวัดความเร็วของเรือโดยใช้วิธีขว้างชิ้นไม้หรือวัตถุลอยได้อื่น ๆ เหนือหัวเรือแล้วนับเวลาที่ผ่านไปก่อนที่ท้ายเรือจะแล่นผ่านวัตถุนั้น ซึ่งวิธีนี้รู้จักกันในชื่อ ‘Dutchman’s log’
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ลูกเรือเริ่มใช้วิธี ‘chip log’ เพื่อวัดความเร็วของเรือ
1
วิธีนี้จะใช้ม้วนเชือกความยาวประมาณหนึ่งและผูกปมเชือกเป็นช่วงอย่างสม่ำเสมอตลอดตามความยาวเชือก จากนั้นปลายของเชือกจะติดตั้งช้ินไม้รูปพายไว้และโยนไปท้ายเรือขณะที่เรือแล่นไปข้างหน้า จากนั้นก็จะปล่อยให้เชือกม้วนออกอย่างอิสระในเวลาที่กำหนด ซึ่งปกติแล้วจะใช้นาฬิกาทรายในการจับเวลา
2
หลังจากนั้นลูกเรือก็จะนับจำนวนปมของเชือกที่ที่ถูกม้วนออกมาและนำไปใช้ในการคำนวณหาความเร็วของเรือ ซึ่ง 1 ปมเชือก (knot) หมายถึง 1 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง ดังนั้นหากเรือที่แล่นได้ด้วยความเร็ว 15 ปมเชือก (knot) ก็หมายถึงแล่นด้วยความเร็ว 15 ไมล์ทะเลต่อชั่วโมง
ภาพส่วนประกอบและการใช้งานของ chip log
และนี่คือที่มาของหน่วย knot นั่นเอง
หลายปีต่อมา ระยะทาง 1 ไมล์ทะเลถูกอิงตามเส้นรอบวงของโลกเพื่อทำให้เป็นสากลยิ่งขึ้นและได้ค่ามาตรฐานของ 1 ไมล์ทะเลที่ 6,076 ฟุตหรือเท่ากับ 1.1508 ไมล์บนบก
จบกันไปแล้วกับเรื่องสั้นหนึ่งหน้ากระดาษตอนที่ 7 หากชอบและอยากติดตามเรื่องสนุก ๆ แบบนี้อีก อย่าลืมกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจให้ลุงเบ็นด้วยนะครับ
References :
ภาพประกอบ :

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา