Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน
•
ติดตาม
19 เม.ย. 2022 เวลา 00:07 • การศึกษา
ทะเลบอลติก … เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของยุโรปเหนือ
ทะเลบอลติก ... มีสายเคเบิลไฟฟ้าวางอยู่ใต้มหาสมุทร
หากวันนึง .. อะไรมาเกี่ยวให้มันเสียหาย
ประเทศไหนจะเดือดร้อนบ้าง ?
รู้หรือไม่ว่า .. ใต้ท้องทะเลแห่งนี้มีสายไฟฟ้าวางอยู่หลายเส้นทาง
เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายไฟฟ้า ..
และวันนึงหากสายเคเบิลเหล่านี้เกิดชำรุด
สิ่งที่จะเกิดขึ้น … คือไฟฟ้าดับครับ !!
วันนี้มาเรียนรู้กันว่า ..
ตรงใต้ทะเลบอลติค มีสายเคเบิลไฟฟ้าอยู่กี่เส้นทาง ..
ใครเป็นเจ้าของ ..
เชื่อมโยงประเทศใดกันบ้าง ?
จ่ายกระแสไฟฟ้ามากน้อยแค่ไหน?
🔘 ข้อมูลทั่วไปของทะเลบอลติก
🔸อยู่ในภูมิภาคยุโรปเหนือ มีพื้นที่ทั้งหมด 370,000 ตารางกิโลเมตร
🔸ติดกับ 9 ประเทศ : นอรเวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ รัสเซีย ลิทัวเนีย
แลตเวีย เอสโทเนีย โปแลนด์ เยอรมนี
🔸ความลึกของทะเลบอลติก : ลึกเฉลี่ย 55 เมตร ลึกสุด 459 เมตร
เครดิตภาพ : JRC Science Hub https://ec.europa.eu/jrc
จากภาพจะเห็นได้ว่า ในภูมิภาคนอร์ดิกจะมีโครงข่าย
ของระบบส่งไฟฟ้าเชื่อมโยงกันไปยังภาคพื้นยุโรป
(แลกเปลี่ยน ซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกัน)
** โครงข่ายนี้สามารถซื้อขายไฟฟ้าปริมาณมากถึง 5,000 เมกะวัตต์ **
1️⃣ เส้นทางเยอรมนี - สวีเดน : ความยาว 250 กิโลเมตร
🔸เริ่มใช้งานเมื่อปี 1994
🔸ระดับแรงดันที่ใช้ 450 กิโลโวลต์ (แบบกระแสตรง)
🔸มูลค่าโครงการ 280 ล้านเหรียญสหรัฐ
🔸สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ 600 เมกกะวัตต์
2. เส้นทางสวีเดน - โปแลนด์ : ความยาว 239 กิโลเมตร
🔸เริ่มใช้งานเมื่อปี 2000
🔸ระดับแรงดันที่ใช้ 450 กิโลโวลต์ (แบบกระแสตรง)
🔸สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ 600 เมกกะวัตต์
🔸สายเคเบิลเส้นทางนี้เคยเสียหาย 11 เหตุการณ์
(จากสมอเรือ จากอวนของชาวประมง และไฟไหม้ที่สถานีเปลี่ยนแรงดัน)
🔴 เกร็ดเสริม :
สายเคเบิลเส้นนี้ .. นำส่งพลังงานไปประเทศอื่นๆนอกเหนือจาก
2 ประเทศนี้ได้แก่ เยอรมนี สาธารณรัฐเชค
3️⃣ เส้นทางลิทัวเนีย - สวีเดน : ความยาว 400 กิโลเมตร
🔸เริ่มใช้งานเมื่อปี 2015
🔸มูลค่าโครงการ : 597 ล้านเหรียญสหรัฐ
🔸ระดับแรงดันที่ใช้ 300 กิโลโวลต์ (แบบกระแสตรง)
🔸สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ 700 เมกกะวัตต์
แนวเส้นทางเคเบิลใต้มหาสมุทร เอสโตเนีย - ฟินแลนด์
4️⃣ เส้นทาง เอสโทเนีย - ฟินแลนด์ : มี 2 เส้นทาง
เส้นทางที่ 1 :
🔸ความยาว 74 กิโลเมตร : เริ่มใช้งานเมื่อปี 2005
🔸ระดับแรงดันที่ใช้ 150 กิโลโวลต์ (แบบกระแสตรง)
🔸สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ 350 เมกกะวัตต์
เส้นทางที่ 2 :
🔸ความยาว 145 กิโลเมตร : เริ่มใช้งานเมื่อปี 2014
🔸ระดับแรงดันที่ใช้ 450 กิโลโวลต์ (แบบกระแสตรง)
🔸สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ 650 เมกกะวัตต์
5️⃣ เส้นทาง ฟินแลนด์ - สวีเดน : มี 2 เส้นทาง
เส้นทางที่ 1 :
🔸ความยาว 200 กิโลเมตร : เริ่มใช้งานเมื่อปี 1989
🔸ระดับแรงดันที่ใช้ 400 กิโลโวลต์ (แบบกระแสตรง)
🔸สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ 550 เมกกะวัตต์
เส้นทางที่ 2 :
🔸ความยาว 200 กิโลเมตร : เริ่มใช้งานเมื่อปี 2011
🔸ระดับแรงดันที่ใช้ 500 กิโลโวลต์ (แบบกระแสตรง)
🔸สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ 800 เมกกะวัตต์
ฟืนแลนด์ มีนำเข้าไฟฟ้าจากรัสเซีย ราวร้อยละ 4
หากไม่สามารถนำเข้าจากรัสเซีย ยังสามารถนำเข้าได้จากสวีเดน
(แต่ต้นทุนจากสวีเดน .. สูงกว่า)
2
ระบบไฟฟ้าของฟินแลนด์ อ่านต่อกดลิงค์👇🏼
https://www.blockdit.com/posts/625a8ade5897d99b10ea6adb
🔘 การซ่อมแซมสายเคเบิลหากเกิดความเสียหาย ?
ใช้เวลาราว 2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น
(เส้นทาง เยอรมนี - สวีเดน การซ่อมแซมใช้เวลา 29 วัน)
🔘 ปริมาณไฟฟ้า 100 เมกะวัตต์ จ่ายกระแสไฟฟ้า ~ 16,400 หลังคาเรือน
ตัวอย่าง : เส้นทางเยอรมนี - สวีเดน จะมีผลกระทบราว 1 แสนครัวเรือน
** กระทบไม่น้อยเลย **
*️⃣ ทิ้งท้ายโพสต์นี้ด้วย
ทะเลบอลติกจะมีเรือพาณิชย์แล่นผ่านราว 3,500–5,500 ลำ ต่อเดือน
โอกาสที่จะมีสมอเรือ ไปทำให้สายเคเบิลที่อยู่ใต้ทะเลเสียหายย่อมมี
เวลาในการซ่อมแซมนี้ … นานพอดูครับ
หากจะเสียหายขอเป็นเพียงแค่ สมอเรือ .. หรือจากเหตุอายุการใช้งาน
คงไม่มีเหตุเกิดจากเรือดำน้ำไปเกี่ยว ?
และหากเกิดขึ้นจริง : น่าจะระบุสัญชาติเจ้าของเรือดำน้ำยากหน่อย
เรียนรู้ .. ไปพร้อมๆกัน
19 เมษายน 2565
อ้างอิง
https://www.aa.com.tr/en/economy/baltic-nordic-countries-become-independent-in-energy/127721
https://en.wikipedia.org/wiki/SwePol
https://en.wikipedia.org/wiki/Fenno%E2%80%93Skan
https://www.cnbc.com/2021/10/04/worlds-longest-under-sea-electricity-cable-begins-operations.html
https://www.nkt.com/references/baltic-cable-repair
ทะเลบอลติก
สายเคเบิลใต้น้ำ
3 บันทึก
19
20
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ที่สุดในโลก..ด้านไฟฟ้า
3
19
20
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย