Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ก้าวตามตถาคต
•
ติดตาม
17 เม.ย. 2022 เวลา 03:24 • ปรัชญา
EP122 :
ตัณหา ในตัวเรา คือ อะไร ?
เข้าใจตัณหา ด้วยอริยสัจสี่
ความเข้าใจ”ตัณหา” ก่อนและหลังเรียนรู้คำสอนของพระพุทธเจ้า
คนทั่วไปเข้าใจความหมายของตัณหาว่าอะไร ?
ตัณหา ตามความหมายทางภาษาที่ใช้ในภาษาไทยทั่วไป คือ ความอยาก ความใคร่ กามารมณ์ ความดิ้นรน ความหลงไหลในราคะ สิ่งที่ฝังอยู่ในจิตใจสามัญชนทั่วไป
Passion ตามความรู้ทางวิชาจิตวิทยาตะวันตก
- ความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง ความรู้สึกความเชื่อมั่นที่เข้มข้น เปี่ยมล้นพลังขับเคลื่อนการดิ้นรนที่ต่อต้านกับอารมณ์ (รูปแบบอันซับซ้อนในตัวเราที่เกิดมาจากประสบการณ์ นิสัยพฤติกรรม สรีระ ที่เราใช้เมื่อพบเหตุการณ์สำคัญส่วนตัว เช่นความกลัว ความอับอาย)
- ความต้องการทางเพศที่รุนแรง
- ความกระตือรือร้นให้กับกิจกรรม วัตถุ แนวความคิด
โดยสังเขปเราเข้าใจได้ว่า ตัณหา เป็นส่วนหนึ่งของเรา ตัณหาเป็นคุณและเป็นโทษในการดำรงชีวิตของเรา ในฐานะหนึ่งของมนุษย์ที่ครั้นเมื่ออยากจะรู้ความจริงที่แท้ของตัวตน อยากจะพ้นทุกข์ ต้องการหาหนทางไปสู่ความจริงที่แท้ เราจะไปหาพระพุทธเจ้า ผู้ที่ตรัสรู้ได้โดยพระองค์เอง พระองค์สอนในเรื่องตัณหาอย่างไรหนอ ?
ตัณหา คืออะไร ?
ในสังสารวัฏ ทุกสิ่งเรียกว่าทุกข์ ความจริงแห่งทุกข์คือความไม่เที่ยงแท้ เมื่อมีเกิดย่อมมีเสื่อม มีเสื่อมลงเรื่อยๆ และแตกสลายดับไป ธรรมชาติหนึ่งๆจะเกิดขึ้นเชื่อมโยงกันไปอย่างไร เราศึกษาได้ในธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าในหลัก อริยสัจสี่ อิทัปปัจยตา ปฏิจจสมุปบาท
ธรรมธาตุที่เป็น “ตัณหา” เป็นธรรมที่เชื่อมโยงมาจาก (เวทนา ~ ตัณหา ~ อุปาทาน) เมื่อเรามีผัสสะ (คือการกระทบกันระหว่างระบบภายในภายนอกในการรับรู้เรียกว่า สฬายตนะ)
เช่นเมื่อตาเราไปเห็นรูป (ผัสสะ) จะมีธรรมธาตุเกิดต่อเนื่องมาคือ เราจะเกิด(เวทนา) ความรู้สึก เป็นสุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ เรารู้สึกอย่างไรแล้ว ก็จะเกิด(ตัณหา) ความอยากดิ้นรนขึ้นมา เห็นเสื้อผ้าในร้านขายเสื้อผ้ามีตั้งหลายร้อยตัวเราก็รู้สึกเฉยๆได้ พลั้นตาเหลือบไปเห็นเสื้อแขนกุดสีสวยดูเพลินตาถูกใจเรารู้สึกเป็นสุข เรารู้สึกเพลินหลงไหล เราเกิดความอยากดิ้นรนที่จะไปจับต้องและเราก็ซื้อเสื้อตัวนี้มา มันไม่เหมือนเสื้อตัวอื่นๆที่เห็นก่อนหน้านั้นแล้ว ความต่างคือ(อุปาทาน)ใจเราเข้าไปหวงกั้นครอบครองเสื้อตัวนี้แล้ว ตัณหานี้เกิดขึ้นจะตามมาด้วยอุปาทานหรือความยึดมั่นถือมั่นต่อไป
ตัณหา เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งในกระบวนการเกิดดับ จากตัณหา จะเกิดการยึดมั่น จะเกิดภพ หรือภว พระพุทธเจ้าเปรียบสอนว่าภพเปรียบเสมือนผืนนา ผืนนามีสามประเภท ผืนนาเลว ผืนนาปานกลาง ผืนนาดี เมื่อเกิดภพ จะเกิดชาติ การเกิดขึ้นต่างๆนี้จากนั้น ชรา มรณะ โศกเศร้า รำพัน ทุกข์กายใจ คับแค้นใจ เป็นกองทุกข์ที่บังเกิดขึ้นตามมา
ตัณหา คนเราและสัตว์โลกต่างๆมีความอยากในอะไรบ้าง ?
ตัณหามีอยู่สามประเภท
- กามตัณหา ความอยากดิ้นรนไปตามตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไปสัมผัสกับรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสและอารมณ์ หรือจะเรียกว่าความทะยานอยากในกามคุณทั้งห้า การหลงไหลกับกามคุณมาก ติดยึดมาก ก็ทุกข์มาก มีความสุขบ้างแต่ต้องมี อินทรีย์สังวรคือการฝึกระวังอยู่ว่าตาหูจมูกลิ้นกายใจมันก็เป็นธรรมชาติที่เกิดดับอย่าไปยึดติด ทานอาหารอร่อยก็อร่อย สุดท้ายก็อิ่มเบื่อหน่ายไป อย่าไปหลงอยู่กับความอยาก แต่เห็นธรรมชาติที่มันเกิดและดับไป อร่อย มีสุข มีเพียงชั่วขณะเท่านั้นแหละ
4
- ภวตัณหา ความอยากดิ้นรนที่จะเกิด ที่จะเป็น
- วิภวตัณหา ความอยากดิ้นรนที่จะไม่เกิด ที่จะไม่เป็น
ความอยากดิ้นรนต่างๆนี้เมื่อเราสังเกตตัวเราเองดู เราจะพบว่าในวันหนึ่งตัณหาจะเกิดขึ้นกี่มากน้อยเลยทีเดียว เรากับตัณหาสำหรับปุถุชนผู้ไม่เคยฟังคำพระพุทธเจ้าแล้ว แยกกันไม่ออก เวียนเกิดเวียนดับอยู่ไม่สิ้นสุด
1
การดับของ “ตัณหา” เป็นอย่างไร ?
หลักในสังสารวัฏ อิทัปปัจจยตา
“ นี้มี นี้มี
นี้เกิด นี้เกิด
นี้ไม่มี นี้ไม่มี
นี้ดับนี้ดับ “ สี่บรรทัดเท่านั้น
และสายปฏิจจสมุปบาท
“อวิชชา ~ สังขาร ~ วิญญาณ ~ นามรูป ~ สฬายตน ~ ผัสสะ ~ เวทนา ~ ตัณหา ~ อุปาทาน ~ ภว ~ ชาติ ชรา มรณะ โศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายสาทั้งหลาย”
เพราะการดับลงของเวทนานั้นนั่นเทียว จึงมีการดับลงแห่งตัณหา ถ้าเราไม่ได้ไปน้อมจิตไปที่ความรู้สึก มันก็จะไม่มีตัณหาตามมาแน่นอน เป็นหลักธรรมชาติ
ที่สรุปมานี้เป็นหลักธรรมที่ใช้อ้างถึงคือ อริยสัจสี่ ในความเป็นทุกข์ เหตุให้เกิดแห่งทุกข์ เหตุให้ดับแห่งทุกข์
การหลงระเริงใน “ตัณหา” ให้ผลอย่างไร ?
เมื่อเราปล่อยจิตไปเรื่อยตามที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจกระทบ เจตนาที่เกิดก็เป็นกรรมขึ้นมาแล้วเป็น เวทนา~ตัณหา~อุปาทาน~ภพ… การสร้างกรรมมีสี่อย่าง คือกรรมดำ ทำบาปหรืออกุศล(ผิดศิลห้า)อันนี้เมื่อกายแตกจะไปเกิดใหม่ในระดับนรก เปรต เดรัจฉาน กรรมขาว ทำกุศล(อยู่ในศิลธรรม)ตายไปเกิดเป็นเทวดา กรรมดำปนกรรมขาว ทำชั่วทำดีปนกันไปพอกันเกิดเป็นมนุษย์ และกรรมไม่ขาวไม่ดำ อันนี้เป็นไปเพื่อนิพพาน หรือหลดพ้นจากสังสารวัฏ
ทำอย่างไรให้พ้นจาก “กิเลสตัณหา” ?
หนทางในการดับซึ่งทุกข์
หลักคำสอนพระศาสดาคือ มรรคมีองค์แปด ศิล สมาธิ ปัญญา สมถะวิปัสสนา อานาปานสติ
ถ้าเราเบื่อหน่ายแล้ว อาจจะเพราะเป็นมาหลายครั้งในชีวิตที่ตัวเอง มีรู้สึกสุข อยากดิ้นรนจนได้มาติดยึด แล้วก็เป็นทุกข์ เสื้อที่ชอบมาก ถูกขโมยบ้าง ฉีกขาด เก่าเสื่อมไป รักมากหวงมากก็ทุกข์มาก อยากจะอยู่เหนือความสุขทุกข์เหล่านี้
1
มีธรรมชาติอยู่สี่ตัว คือ “ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา “ พวกนี้เมื่อจิตน้อมไปตั้งยึดอยู่ คือธรรมชาติที่ทำให้ติดยึด ดึงให้เกิด เราเวียนเกิดตายมาแล้วนานมากจนหาจุดเริ่มจุดปลายไม่เจอ เราเคยเกิดมาทุกอย่างจากนรกถึงสวรรค์ ธรรมในการหลุดพ้นคือต้อง “ละนันทิ” นันทิคือความเพลิน เราต้องพยายามละความเพลิน
2
การฝึกละความเพลินทำได้ไม่ยากคือ การมีสติอยู่ที่ลมหายใจ ทำได้แม้ยืนเดินนั่งนอน หรือทำกิจอยู่ การฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอไม่มากไป ยิ่งทำมากยิ่งเจริญไม่อยู่ห่างจากฌาน และการมีสติอยู่กับลมหายใจนั้นประกอบไปด้วยหลักธรรมในการพ้นทุกข์ทั้งหมดที่กล่าวมา
2 บันทึก
6
1
2
6
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย