หลังจากสร้างความน่าสนใจใน DR ที่อ้างอิงกับหุ้น Alibaba ในชื่อ "BABA80" ไปแล้ว ล่าสุดตลาดหุ้นไทยกำลังจะมี DR ตัวใหม่ที่อ้างอิงกับหุ้นจีน นั่นก็คือ Tencent ค่ะ
ขึ้นต้นประโยคแค่นี้ หลายท่านก็คงจะสงสัยแล้วว่า DR คืออะไร มาเรียนรู้และทำความเข้าใจกันเลยค่ะ
DR หรือ Depositary Receipt เป็นตราสารที่ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับสิทธิประโยชน์จากหลักทรัพย์ต่างประเทศ เปรียบเสมือนการถือครองหลักทรัพย์ต่างประเทศ DR จึงเป็นเครื่องมือในการกระจายการลงทุนไปยังหลักทรัพย์ต่างประเทศที่สะดวก
โดยผู้ลงทุนสามารถซื้อขาย DR ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยเงินบาทและใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีอยู่ และมีค่าธรรมเนียมเท่ากับการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มี DR ซื้อขายอยู่แล้ว คือ
แต่ DR สามารถลงทุนผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีอยู่ได้ทันที ลงทุนขั้นต่ำเพียง 1 DR และซื้อขายเป็นเงินบาท สามารถตัดปัญหาเรื่องการแลกเปลี่ยนสกุลเงินตราต่างประเทศได้ ทำให้การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป
💥 สำหรับผลตอบแทนจากการลงทุน DR หรือกำไรจากการซื้อขาย DR จะได้รับการยกเว้น Capital Gain Tax เหมือนการซื้อขายหุ้นในตลาด ในขณะที่เงินปันผลรับต้องนำไปนับรวมเป็นเงินได้พึงประเมิน
⛳ ลงทุนใน DR แตกต่างจากไปลงทุนหุ้นต่างประเทศเองอย่างไร
การลงทุนใน DR จะเหมือนการถือครองหลักทรัพย์ต่างประเทศ แต่ DR มีความสะดวกมากกว่าผู้ลงทุนในต่างประเทศด้วยตัวเอง โดยเฉพาะในเรื่องการซื้อขายที่ DR จะซื้อขายได้สะดวกกว่าหุ้นทั่วไป เพราะ DR นั้นซื้อขายได้ขั้นต่ำครั้งละ 1 DR (1 หน่วย) ขณะที่หุ้นทั่วไปจะซื้อขายกันขั้นต่ำที่ Board Lot ละ 100 หุ้น
นอกจากนี้ยังมีความต่างอื่นอีก ดังนี้
⛳ ความเสี่ยงจากการลงทุนใน DR
1
เนื่องด้วยผู้ลงทุนที่ถือครอง DR เปรียบเสมือนกับถือครองหลักทรัพย์ต่างประเทศ ดังนั้น ความเสี่ยงจึงอยู่ที่ความผันผวนและการปรับลดลงของราคา DR โดย 3 ปัจจัยหลักที่มีผลต่อราคา DR มีดังนี้
โดยสำนักงาน ก.ล.ต. ได้กำหนดให้ผู้ออก DR ต้องติดตามข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของหลักทรัพย์ต่างประเทศที่มีการเปิดเผยในต่างประเทศ และนำข้อมูลข่าวสารดังกล่าวมาเผยแพร่ ผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ผู้ลงทุน DR ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ และใช้ตัดสินใจในการลงทุนใน DR ได้อย่างเหมาะสม
และเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญกับหลักทรัพย์ต่างประเทศ ผู้ออก DR จะขอให้มีการขึ้นเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น XD, H, SP ตามหลักทรัพย์ต่างประเทศในตลาดแม่ เพื่อให้นักลงทุน DR ได้รับข่าวสารที่เท่าเทียมกันด้วย
2.อัตราแลกเปลี่ยน
1
แม้จะสามารถซื้อขาย DR ได้ในตลาดหุ้นไทยด้วยสกุลเงินบาท แต่เวลาที่ซื้อขายนั้นก็ต้องอ้างอิงกับราคาหุ้นหรือราคาสินทรัพย์อ้างอิงในต่างประเทศ อ้างอิงกับเงินสกุลนั้น ๆ ที่สินทรัพย์จดทะเบียนอยู่
ดังนั้นเมื่อค่าเงินเปลี่ยนแปลงก็ย่อมส่งผลกับราคา DR ในตลาดหุ้นไทย ซึ่งค่าเงินทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงตามทิศทางเงินไหลเข้าออกแต่ละประเทศ ซึ่ง DR ที่อ้างอิงกับสินทรัพย์ในต่างประเทศก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินด้วยเช่นกัน
3.ความต้องการของนักลงทุน
1
ปัจจัยด้านความต้องการซื้อหรือขายผ่านตลาดหุ้นไทยที่มากกว่าปกติในบางช่วงเวลา อาจทำให้ราคา DR คลาดเคลื่อนกัน เมื่อเทียบกับราคาสินทรัพย์อ้างอิงในต่างประเทศ ดังนั้น ในการพิจารณาของนักลงทุนควรดูในเรื่องของราคาว่ามีความผิดปกติหรือไม่ก่อนที่จะเข้าซื้อทุกครั้ง
DR ถูกกล่าวถึงมากขึ้นในระยะนี้ ในฐานะผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนในต่างประเทศประเภทหนึ่ง แม้จะไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ในการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง ก็ควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุนเสมอค่ะ