17 เม.ย. 2022 เวลา 10:00 • ไลฟ์สไตล์
“ข้าวเหนียวมะม่วง” ไทยในสายตา “คนจีน”
1
“ทุเรียน” ไม่ใช่ผลไม้ไทยชนิดเดียวที่มีศักยภาพไปตีตลาดโลกและตลาดจีน แต่ยังมีอีกหนึ่งผลไม้ไทยที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน นั่นก็คือ “มะม่วง” เพราะคนจีนเวลามาเที่ยวไทยมักจะติดใจและสั่งเมนู “ข้าวเหนียวมะม่วง” และ “ข้าวเหนียวทุเรียน” เสมอ
1
บทความโดย ภากร กัทชลี (อ้ายจง) | คอลัมน์ ปากตลาดจีน BY อ้ายจง
“ข้าวเหนียวมะม่วง” ไทยในสายตา “คนจีน”
หากพูดถึง “ผลไม้ไทยยอดนิยม” ในสายตาของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนจีน คิดว่าทุกคนคงจะกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า “ทุเรียน” แน่นอนว่า “ทุเรียนไทย” เป็นผลไม้ไทยอันดับต้นๆ ที่คนจีนนึกถึง โดยเฉพาะพันธุ์ยอดนิยมอย่าง “หมอนทอง” ซึ่งตอนนี้กำลังเจอคู่แข่งขันสำคัญอย่าง “ทุเรียนมูซานคิง” จากฝั่งมาเลเซีย ที่ทางมาเลเซียวางแผนให้ดังเป็นแบรนด์ระดับโลกของพวกเขา เพื่อไปเจาะตลาดจีน อย่างไรก็ตาม “ทุเรียน” ไม่ใช่ผลไม้ไทยชนิดเดียวที่มีศักยภาพไปตีตลาดโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือตลาดจีน “มะม่วง” เป็นอีกหนึ่งผลไม้ไทย ที่ทั้งคนจีนและชาวต่างชาติจากประเทศอื่นๆ ติดอกติดใจเวลามาเที่ยวเมืองไทย
1
“มะม่วงไทย” เมนูของกินสุดอร่อยที่คนจีนและนักท่องเที่ยวจีนนิยมไม่เสื่อมคลายก็คือ “ข้าวเหนียวมะม่วง”
อ้ายจง ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากโลกโซเชียลจีนทั้ง Weibo และบน Baidu แพลตฟอร์มค้นหาข้อมูลอันดับหนึ่งที่คนจีนใช้ในช่วงปี 2562 พบว่า เมื่อคนจีนค้นหาและเขียนถึงคำที่เกี่ยวข้องกับ 泰国旅游/泰国旅行 เที่ยวเมืองไทย กลุ่มช่วงอายุที่พูดถึงมากที่สุด ได้แก่ 30-39 ปี รองลงมาคือ 40-49 ปี อันดับสาม 50 ปีขึ้นไป ส่วนอายุ 29 ปีลงไป เป็นกลุ่มท้ายสุด ซึ่งคำภาษาจีนที่แปลเป็นไทยว่า มะม่วง ทุเรียน และข้าวเหนียว เป็นหนึ่งในสามคำหลักของคำที่เกี่ยวข้องเมื่อพูดถึงเที่ยวเมืองไทย และเมื่อวิเคราะห์ลงลึกไปอีกทำให้ได้รู้ว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะคนจีนเวลามาเที่ยวไทย มักจะสั่งเมนู “ข้าวเหนียวมะม่วง” และ “ข้าวเหนียวทุเรียน” เสมอ
4
ตัดภาพมาที่ ณ ปัจจุบัน แม้จะไม่มีรีวิวและพูดถึงข้าวเหนียวมะม่วงในประเทศไทยของกลุ่มคนจีน เนื่องจากการแพร่ระบาดโควิด-19 คนจีนจึงยังไม่สามารถเดินทางมาเที่ยวไทยได้ตามปกติ แต่เมื่อค้นหาคำว่า 芒果糯米饭 (อ่านว่า หมางกั่วนั่วหมี่ฟั่น) ข้าวเหนียวมะม่วง บน Xiaohongshu (เสี่ยวหงซู) สังคมออนไลน์ยอดนิยมในสายไลฟ์สไตล์และการรีวิว ซึ่งกลุ่มผู้ใช้งานหลักคือ กลุ่มผู้หญิงจีน จะเห็นได้เลยว่า 芒果糯米饭泰国 ข้าวเหนียวมะม่วงไทย เป็นหนึ่งในคำแนะนำที่ทางระบบแนะนำขึ้นมาเมื่อทำการค้นหา โดยจะเลือกจากคำที่ผู้ใช้งานนิยมใช้ ฉะนั้น วิเคราะห์ได้ว่า “ข้าวเหนียวมะม่วงไทย” เป็นหนึ่งในภาพจำที่คนจีนจะนึกถึงเมื่อพูดถึง “ข้าวเหนียวมะม่วง” นั่นเอง
1
เทรนด์ “น้ำมะม่วงไทย” สินค้ายอดฮิตไม่แพ้กันในจีน
สมัยที่ อ้ายจง ใช้ชีวิตอยู่ในจีน ช่วงปี 2554 – 2561 มีโอกาสได้สัมผัสกับปรากฎการณ์ “น้ำมะม่วงไทย” ที่เรียกว่าเป็นกระแสเลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา ช่วงเวลาที่ประเทศไทยกลายเป็นจุดหมายปลายทางอันดับแรกที่นักท่องเที่ยวจีนจะเดินทางไปเที่ยว
ยุคแรกเริ่มของเทรนด์ “น้ำมะม่วงไทย” เกิดจากผู้ประกอบการในจีนรายหนึ่งจับกระแสโอกาส “ไทยแลนด์ฟีเวอร์” โดยเอาหนึ่งในจุดเด่นของไทย นั่นคือ ผลไม้ และเลือกเอา “มะม่วง” มาเป็นพระเอก ถ้าจะขายมะม่วงอย่างเดียวก็ดูจะธรรมดาไป จึงทำให้เป็น “น้ำมะม่วงปั่น” และโปะหน้า Topping ด้วยมะม่วงเหลืองอร่ามชิ้นใหญ่ๆ แล้วตั้งชื่อร้านให้เป็นจุดเด่น โดยตั้งชื่อว่า “泰芒了” อ่านว่า ไท่หมางเลอ แปลเป็นไทยคือ “ฉันยุ่งมาก”
สาเหตุที่ตั้งชื่อเช่นนี้เพราะทางเจ้าของร้านมีการเล่นคำในลักษณะของคำพ้องเสียง 泰芒了 พ้องเสียงกับ 太忙了 (ฉันยุ่งมาก) ทั้งสองคำอ่านออกเสียง ไท่หมางเลอ เหมือนกัน แต่คำแรก ตัวอักษร泰 (ไท่) มาจาก ไท่กั๋ว ที่แปลว่าประเทศไทย และ 芒 (หมาง) มาจาก 芒果 มะม่วง ตัวอักษรสองตัวแรกจึงสื่อถึง “มะม่วงไทย” แต่พอเขียนคำภาษาไทยให้ดูมีกิมมิคว่า นี่คือร้านขายสินค้าไทยนะ จึงเขียนออกมาว่า ยุ่งมากมาก เพื่อทำให้ร้านดูน่าสนใจและมีกิมมิคเพิ่มขึ้น ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จไม่น้อยเลยทีเดียว
4
ในยุครุ่งเรืองของร้านนี้ คนจีนต่อแถวยาวมาก และทำให้มีร้าน “น้ำมะม่วง” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากร้านนี้เปิดขึ้นเป็นดอกเห็ด พร้อมกับปรากฎการณ์ “การตั้งชื่อร้านในจีน ด้วยภาษาไทยแบบแปลกแหวกแนว” ขอให้มีคำว่า 泰芒了 หรือมีการปรับไปใช้ภาษาจีนคำอื่น (กลัวรู้ว่าเลียนแบบ หรือได้รับแรงบันดาลใจแบบเข้มข้น) ก็เปลี่ยนไปใช้คำแนวๆ เดียวกัน เช่น 最芒 อ่านว่า จุ้ยหมาง เล่นคำกับ 最忙 ที่แปลว่า ยุ่งที่สุด ส่วนภาษาไทยที่ติดหน้าร้านจะใช้คำว่าอะไรนั้นก็สุดแท้จะครีเอท บางทีติดตัวอักษรกลับหัวกลับหางก็มีให้เห็นเช่นกัน คนจีนที่ไม่รู้ภาษาไทยคงไม่รู้สึกอะไร เพราะไม่เข้าใจความหมาย แต่คนไทยในจีนเมื่อเห็นแล้ว คงอดไม่ได้ที่จะถ่ายรูปและขำขันกับไอเดียเหล่านั้น
ชื่อภาษาไทยสุดแปลกสำหรับร้านน้ำมะม่วงในจีนแนวๆ นี้ ที่อ้ายจงไปเจอมา ก็มีหลากหลายเลย เช่น ร้านท้ายเหมือง ร้านเมาอนาถ ร้านหรือดีที่สุด คืออ่านแล้วคนไทยเองยังงงงวย งองูหลายตัวผสมกันว่า “ต้องการสื่ออะไรกันแน่?” และเท่าที่หาข้อมูลจากเพื่อนคนจีนจากโลกออนไลน์จีน และจากประสบการณ์ส่วนตัวที่กลับไปในจีนในช่วงปี 2562 ก่อนที่โควิด-19 จะระบาดหนัก ร้านน้ำมะม่วงที่นำความเป็นไทยของ “มะม่วง” (แม้หลายร้านจะไม่ได้ใช้มะม่วงไทยก็ตามที) และภาษาไทย (แบบสุดแปลก) มาใช้เป็นตัวชูโรง ก็เริ่มล้มหายตายจากตามการผันแปรของกาลเวลา แต่ที่ยังสามารถพบเห็นได้อยู่ตลอด
โฆษณา