17 เม.ย. 2022 เวลา 18:42 • ประวัติศาสตร์
-ทำไมชาวไวกิ้ง ถึงรบแบบไม่รักตัวกลัวตาย ?
ทุกคนที่อ่านอยู่ตอนนี้ คงรู้จักขาวไวกิ้งกันอยู่ใช่มั้ยครับ คงจะผ่านตากันมาบ้างแหละ คำว่า Viking มาจากภาษาคำว่า Vinking-r แปลว่า คนที่อาศัยอยู่แถบช่องแคบ ขณะที่ Viken เป็นพื้นที่ค้าขายสำคัญของนอร์เวย์ จึงเป็นไปได้ว่า ผู้คนที่มาทำการค้าจึงเรียกกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ที่นั่นตามชื่อพื้นที่ก็เป็นได้
ง่ายๆก็ Viking คือ โจรสลัดนั่นแหละ ในยุคนั้นไวกิ้งก็คือโจรสลัดในสายตาคนทั่วไปนั่นเอง โดยพวกเขาจะเริ่มออกเดินเรือเพื่อการปล้นชิงในช่วงฤดูหนาว ที่การเพาะปลูก หรือเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ทำได้ลำบาก พอหมดหน้าหนาวก็กลับมาทำไร่ไถนา วนเวียนอย่างนี้เป็นวัฎจักรไป การบุกโจมตีของชาวไวกิ้ง เริ่มมีมากขึ้นในศตวรรษที่ 9 และขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ศตวรรษที่ 10 จากนั้นก็เริ่มลดระดับลง และจางหายไปในช่วงศตวรรษที่ 11 ที่ชาวไวกิ้งนั้นได้เริ่มลงหลักปักฐานในดินแดนใหม่เป็นที่เรียบร้อย พร้อมกับปรับตัวเข้ากับผู้คน และสถานที่ใหม่ที่พวกเขาเข้าไปอาศัยอยู่
3
มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า
ทุกคนรู้จักดินแดนวัลฮัลลามั้ยครับ แดนสุขาวดีของเหล่านักรบไวกิ้ง
1
วัลฮัลลา
วัลฮัลลา คือชื่อเรียกดินแดนในตำนานของชาวสแกนดิเนเวียน ปกครองโดยเทพโอดิน ที่นั่นเป็นอภิมหาราชวังที่กว้างใหญ่ไพศาล มีประตูมากถึง 540 บาน ประตูแต่ละบานมีขนาดกว้างพอที่นักรบไวกิ้งจำนวน 800 คน โดยมีห้องโถงกลางที่มีอาหาร และเครื่องดื่มวางเรียงรายแบบไม่จำกัดจำนวน กินดื่มได้ไม่อั้นแบบบุฟเฟต์ นักรบที่ได้เดินทางมาอาศัยอยู่ที่นี่จะได้อยู่อย่างอิ่มหนำสำราญ และซ้อมรบไปพลางๆ เพื่อรอที่จะต่อสู้ในศึกสงครามวันสิ้นโลก หรือ Ragnarok ที่เทพโอดินจะเป็นผู้นำทัพด้วยตนเอง นักรบที่จะขึ้นมาเป็นกำลังพลในสงครามที่สำคัญขนาดนี้ จึงมีแค่นักรบผู้กล้าหาญที่ตายในสนามรบเท่านั้น โดยมีเหล่าเทพธิดา วัลคีรี (Valkyrie) เป็นผู้นำทางพานักรบที่ถูกเลือกข้ามสะพานสายรุ้ง Bifrost เพื่อไปยังวัลฮัลลาต่อไป......จบ
1
โฆษณา