24 เม.ย. 2022 เวลา 02:09 • ประวัติศาสตร์
พิธียกป้าย
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเปิดโอกาสให้ญาติมิตรและประชาชนทั่วไปได้ร่วมในการประกอบพิธียกป้าย อันถือเป็นการสร้างความรักและสามัคคีในหมู่ญาติ
๒. เพื่อให้เจ้าภาพได้บำเพ็ญบุญในการยกป้ายอาคาร บ้านเรือน หรือบริษัทห้างร้านของตน ให้เกิดความเป็นสิริมงคลในการเริ่มกิจการและให้มั่นคงถาวรสืบไป
พิธียกป้าย
การเตรียมการ
– ป้ายที่เขียนชื่อไว้เรียบร้อยแล้ว ตั้งไว้ข้างโต๊ะหมู่บูชา
– แป้งเจิม ๑ ที่
– ทองคำเปลว ๓ แผ่น พร้อมขี้ผึ้งหรือกระเทียมทาปิดทอง
– ดินสอดำ ๑ แท่ง สำหรับลงยันต์
– ด้ายสายสิญจน์ ๑ ม้วน
– โต๊ะหมู่บูชา พร้อมเครื่องสักการะ
– นิมนต์พระสงฆ์ ๙ รูป กรณีมีการเจริญพระพุทธมนต์
การปฏิบัติ (ถ้ามีพิธีเจริญพระพุทธมนต์แล้ว)
เจ้าภาพ
– จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย กราบพระ ๓ ครั้ง
– อาราธนาศีล
– ประธานสงฆ์ให้ศีล
– อาราธนาพระปริตร
– พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
เมื่อถึงเวลาฤกษ์
ประธานสงฆ์
– ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ป้าย เจิม ปิดทอง ลงยันต์และผูกด้ายสายสิญจน์ที่ป้าย
เจ้าภาพ
– ยกป้ายขึ้นประดิษฐานที่อาคาร ผู้ร่วมพิธีถือด้ายสายสิญจน์
พระสงฆ์
– เจริญชัยมงคลคาถา ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์
เจ้าภาพ
– ประเคนภัตตาหารแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ฉันเสร็จ
– ประเคนไทยธรรม ร่วมกับญาติมิตร
– กรวดน้ำ รับพร
ประธานสงฆ์
– ประพรมน้ำพระพุทธมนต์แก่เจ้าภาพ และผู้ร่วมพิธี
– เสร็จพิธี
หมายเหตุ
ถ้าไม่มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ นิมนต์พระ ๑ รูป หรือเชิญประธานที่ไม่ใช่พระสงฆ์มาประกอบพิธียกตามขั้นตอนดังกล่าวก็ได้
ขอขอบคุณจากแหล่งที่มา
โฆษณา