18 เม.ย. 2022 เวลา 10:49 • ธุรกิจ
การนำเข้าสินค้าจากจีนในยุคนี้ จึงไม่ใช่เรื่องยาก โดยเฉพาะหากเป็นการนำเข้าที่ถูกกฎหมาย ซึ่งหมายถึงการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้ากับกรมศุลกากร ทำให้มีเอกสารนำเข้าที่ถูกต้อง ทั้งใบขนสินค้า ใบกำกับภาษี และใบเสร็จต่างๆ ที่ออกโดยกรมศุลกากร สามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงการนำเข้าต่อเจ้าหน้าที่สรรพากรและศุลกากรได้ทุกเมื่อ
ขณะที่การนำเข้าแบบชั่งกิโล หมายถึง การสั่งซื้อสินค้าแล้วนำเข้าได้ทันที ซึ่งจะมีความเสี่ยงมากกว่าเนื่องจากไม่มีเอกสารนำเข้าที่ถูกต้อง เมื่อถูกตรวจสอบย้อนหลัง จะต้องเสียทั้งค่าปรับ ค่าภาษีย้อนหลัง ถูกริบของ และถูกดำเนินคดีตามกฎหมายมาตรา 27 และมาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2496 ซึ่งมีโทษทั้งจำและปรับ
การนำเข้าแบบถูกกฎหมายดีกว่าอย่างไร ?
เพราะ 1 ใน 5 ความผิดที่พบได้บ่อยที่สุดในการนำเข้าสินค้า คือ การลักลอบหนีศุลกากร หรือการนำของที่ยังไม่ได้เสียค่าภาษีอากรหรือของที่ควบคุมการนำเข้าหรือของที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในไทย แม้ว่าของที่ลับลอบหนีศุลกากรอาจเป็นของที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ต้องเสียภาษีก็ตาม หรืออาจเป็นของต้องห้ามหรือของต้องกำกัด หากไม่นำมาผ่านพิธีการศุลกากรตามขั้นตอน ถือว่ามีความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร โทษสูงสุดคือริบของ และปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ เป็นต้น (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 5 ความผิดในการนำเข้าและส่งออกที่พบได้บ่อย)
การนำเข้าสินค้าแบบถูกต้อง ไม่ว่าจะนำเข้าปริมาณมากหรือน้อย จึงส่งผลดีต่อผู้นำเข้าในระยะยาวมากกว่า เนื่องจากไม่ต้องกังวลว่าจะถูกตรวจสอบเมื่อไหร่ นอกจากนี้ ยังประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว กอปรกับปัจจุบัน การนำเข้าสินค้าจากจีนได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้าต่ำสุด 0% หากมีเอกสารรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าหรือ Form E ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับความเสี่ยงในระยะยาวที่หากถูกปรับแล้ว อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าหลายเท่า จึงนับว่าคุ้มค่ากว่ามาก
ขั้นตอนการลงทะเบียนสำหรับปฏิบัติพิธีการศุลกากร
ไม่ว่าผู้นำเข้าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ต้องทำการลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้ากับกรมศุลกากร ปัจจุบันเป็นการลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Paperless) โดยสามารถยื่นแบบคำขอลงทะเบียนได้ตามขั้นตอน ดังนี้
1. ยื่นแบบคำขอลงทะเบียนในระบบลงทะเบียนออนไลน์หรือ (ดาวน์โหลดแบบคำขอลงทะเบียน คลิกที่นี่ )
2. ยื่นแบบคำขอลงทะเบียนโดยกระดาษ ณ ฝ่ายทะเบียนผู้นำเข้าและส่งออก ส่วนทะเบียนและสิทธิพิเศษ กองมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร หรือฝ่ายบริหารงานทั่วไปหรือหน่วยงานที่ได้รับอนุมัติให้รับลงทะเบียนของสำนักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากร
3. เตรียมเอกสารสำหรับใช้ในการลงทะเบียน กรณีนิติบุคคล ผู้มีอำนาจลงนามตามหนังสือรับรองนิติบุคคล เซ็นชื่อและประทับตราบริษัท กรณีบุคคลธรรมดา เซ็นชื่อลงนามในเอกสารต่างๆ (เอกสารประกอบคำขอลงทะเบียนเพิ่มเติม คลิกที่นี่)
4. นำแบบคำขอ และเอกสารหลักฐานประกอบยื่นลงทะเบียนที่กรมศุลกากร
5. เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียนตรวจสอบความถูกต้องของแบบคำขอ และเอกสารหลักฐานประกอบ
6. เจ้าหน้าที่ศุลกากรออกใบตอบรับการลงทะเบียน
7. หากไม่ถูกต้อง ต้องนำเอกสารกลับไปแก้ไขและนำมายื่นใหม่ตามขั้นตอนที่ 4 หากเอกสารถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะบันทึกข้อมูล และจัดเก็บในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Paperless)
โฆษณา