Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
NIA : National Innovation Agency
•
ติดตาม
18 เม.ย. 2022 เวลา 12:00 • การเกษตร
10 อันดับเทรนด์เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตรสำหรับปี 2022
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในภาคเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบฟาร์มอัตโนมัติและการจัดเก็บข้อมูลแบบดิจิทัล การเกษตรยุคใหม่จึงมีแนวโน้มที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แก้ปัญหาภายในฟาร์มมากขึ้นเพื่อเพิ่มทรัพยากร ในขณะเดียวกันก็สามารถลดการสูญเสียพืชผลจากการผลิตแบบดั้งเดิม การทำฟาร์มอัจฉริยะเป็นแนวคิดที่ประกอบไปด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลากหลาย เช่น Internet of Things (IoT) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์และโดรน เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าว เอื้อให้กระบวนการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตมีความแม่นยำมากขึ้น ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ข้อมูลเป็นหลัก
10 Agriculture Trends Innovation
นอกจากนี้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีดังกล่าวไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงคุณภาพและปริมาณโดยรวมของพืชผลและปศุสัตว์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการบรรลุเป้าหมายสูงสุดนั่นก็คือ ระบบการเกษตรแบบยั่งยืน รังสรรค์ประโยชน์ให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคตลอดจนทุกหน่วยย่อยในห่วงโซ่อุปทานการเกษตร
StartUs insights นำเสนอภาพรวมของแนวโน้มด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมการเกษตร 10 อันดับแรกที่ส่งผลกระทบต่อบริษัทต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งข้อมูลการจัดลำดับดังต่อไปนี้ได้จากการวิเคราะห์ตัวอย่างสตาร์ทอัพและสเกลอัพระดับโลกจำนวน 5,290 ราย โดยจัดลำดับสตาร์ทอัพจากจำนวนมากไปน้อย ดังนี้
Agriculture Trends Innovation
1. Internet of Things (IoT) 19%
เทคโนโลยี IoT เป็นทางเลือกที่น่าสนใจแทนวิธีการดั้งเดิม อุปกรณ์ IoT ประกอบด้วยเซนเซอร์ตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปที่รวบรวมข้อมูลและให้ข้อมูลที่ถูกต้องผ่านแอปพลิเคชันมือถือหรือวิธีการอื่นๆ ในแบบเรียลไทม์ สตาร์ทอัพในปัจจุบันกำลังเร่งพัฒนาเซนเซอร์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ผสมผสานเทคโนโลยี IoT เข้ากับโดรน หุ่นยนต์ และคอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและความแม่นยำของกระบวนการในฟาร์ม เทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาพัฒนาเรื่องการแจ้งเตือนที่ตรงเวลาและปรับปรุงการตอบสนองต่อเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างสตาร์ทอัพทน่าจับตามอง ได้แก่
Agrila: สตาร์ทอัพบัลแกเรียสร้างเซนเซอร์ที่ใช้ IoT แบบแยกส่วนเพื่ออํานวยความสะดวกในการตรวจจับพารามิเตอร์ที่สําคัญ เช่น ความชื้นในดิน อุณหภูมิ ความเร็วลม ทิศทางฝน รังสีแสงอาทิตย์ และอื่นๆ อีกมากมาย
Farmer’s Hive: สตาร์ทอัพแคนาดาใช้ IoT ในการตรวจสอบอุปกรณ์ฟาร์มและพืชผลจากระยะไกล
1
2. Agricultural Robotics 17%
สตาร์ทอัพมุ่งผลิตหุ่นยนต์ทางการเกษตรเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการลดแรงงานคนในการเก็บเกี่ยว ปลูก เคลื่อนย้าย ฉีดพ่น เพาะเมล็ด และการกำจัดวัชพืช ช่วยให้เกษตรกรสามารถปรับปรุงผลผลิตโดยรวม โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องของเวลา ทั้งยังป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ได้อีกด้วย ตัวอย่างสตาร์ทอัพทน่าจับตามอง ได้แก่
Advanced.Farm: สตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกา ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อพัฒนา solution สําหรับการเก็บเกี่ยวและการนําทางอัตโนมัติ
Robotic Weeders: สตาร์ทอัพชาวแคนาดาพัฒนา Le Chevre หุ่นยนต์ที่ตรวจจับและกําจัดวัชพืชในทุ่งนา
1
3. Artificial Intelligence (AI) 14%
AI ช่วยให้เกษตรกรได้รับข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ สามารถคาดการณ์สำหรับการพยากรณ์ข้อมูลสภาพอากาศ ผลผลิต และราคา ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจโดยอ้างอิงจากข้อมูลที่มีความแม่นยำสูง รวมไปถึงการปรับปรุงคุณภาพพืชผลทางการเกษตรโดยรวมได้อีกด้วย ตัวอย่างสตาร์ทอัพทน่าจับตามอง ได้แก่
Arva: สตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกาใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์เพื่อให้คําแนะนําสําหรับการวางแผนผลิตพืชผล
Ask Attis: สตาร์ทอัพชาวเบลเยียมเสนอการตรวจหาโรคพืชผ่านแอพ Planticus ขับเคลื่อนโดยAIในแอปพลิเคชันมือถือโดยสามารถระบุโรคและตรวจจับศัตรูพืชได้
1
4. Drones 13%
โดรนหรือที่เรียกว่าอากาศยานไร้คนขับ มีประโยชน์สำหรับการจัดการฟาร์ม โดยโดรนที่ติดตั้งกล้องจะช่วยอำนวยความสะดวกในการถ่ายภาพทางอากาศและการสำรวจพื้นที่ใกล้และไกลเพื่อปรับการใช้ปุ๋ย น้ำ เมล็ดพืช และยาฆ่าแมลงให้เหมาะสม นอกจากนี้โดรนพร้อมกับเทคโนโลยี GPS ยังใช้สำหรับการติดตามปศุสัตว์ การระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ และการเฝ้าติดตามสัตว์ได้อีกด้วย อีกทั้งมีบริษัทสตาร์ทอัพที่พัฒนาโดรนเพื่อใช้ในการวัดระดับคลอโรฟิลล์ แรงดันวัชพืช แร่ธาตุ และองค์ประกอบทางเคมีของดิน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรที่ต้องการควบคุมต้นทุนและคุณภาพของผลผลิต ตัวอย่างสตาร์ทอัพทน่าจับตามอง ได้แก่
1
Wakan Tech: สตาร์ทอัพของโอมานที่ใช้โดรนที่เป็นนวัตกรรมใหม่สําหรับการผสมเกสรทางอากาศของต้นอินทผลัม
Equinox’s Drones: โดรนสตาร์ทอัพของอินเดีย ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีโดรนเพื่อให้บริการมากมาย เช่น การเฝ้าระวังพืชผล การตรวจสอบทางอากาศ การประมวลผลข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
1
5. Precision Agriculture 11%
เกษตรกรรมแม่นยำ เป็นวิธีการที่เกษตรกรควบคุมปริมาณน้ำ ยาฆ่าแมลง และปุ๋ย ที่แน่นอนเพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิตที่ปลูกอยู่บนพื้นที่ๆ มีคุณสมบัติของดินต่างกัน รับแสงแดดต่างกัน หรือมีความลาดชันต่างกัน การจัดการแบบเดียวกันสำหรับทุกพื้นที่จึงไม่มีประสิทธิภาพ และทำให้เสียเวลาและทรัพยากรไปเปล่าๆ ด้วยเหตุนี้สตาร์ทอัพจำนวนมากจึงกำลังพัฒนา solution ในการเกษตรที่แม่นยำ เพื่อปรับปรุงความสามารถในการทำกำไรพร้อมๆ กับจัดการกับความท้าทายด้านความยั่งยืนให้แก่เกษตรกร ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่น่าจับตามอง ได้แก่
1
Data Farming: สตาร์ทอัพชาวออสเตรเลียนําเสนอแพลตฟอร์มบนคลาวด์ โดยมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกต่างๆ ให้แก่เกษตรกร เช่น ภาพถ่ายดาวเทียม การทําแผนที่ดิน และอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยให้เกษตรกรมีข้อมูลเชิงลึกที่สามารถดําเนินการพัฒนาระบบเพาะปลูกต่อไปได้
Agricolus: สตาร์ทอัพชาวอิตาลีที่พัฒนาเครื่องมือมากมายสําหรับการทําฟาร์มที่มีความแม่นยําเพื่อปรับปรุงการจัดการฟาร์ม ใช้ดาวเทียมและโดรนสําหรับการคํานวณพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำและปริมาณของคลอโรฟิลล์
6. Agricultural Biotechnology 7%
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการเกษตรจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของพืชผลและปศุสัตว์ เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ เช่น การขยายพันธุ์พืช การผสมพันธุ์ พันธุวิศวกรรม และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อช่วยให้ระบุลักษณะที่ดีขึ้นในพืชได้รวดเร็วยิ่งขึ้น CRISPR-Cas9 เป็นเทคโนโลยีการแก้ไขจีโนมเพื่อผลิตพืชที่มีคุณสมบัติตามต้องการ เช่น ความทนทานต่อโรค ความทนทานต่อความแห้งแล้ง ความต้านทานศัตรูพืช และความสามารถในการให้ผลผลิตสูง ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่น่าจับตามอง ได้แก่
AgGene: สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการเกษตรของแคนาดาที่ใช้ประโยชน์จากเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อพัฒนาเมล็ดพันธุ์และเนื้อเยื่อเพื่อให้มีปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้น
XytoVet: สตาร์ทอัพชาวออสเตรเลียใช้เทคนิคการผสมพันธุ์และดีเอ็นเอเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาพันธุ์แกะวัวและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
1
7. Big Data & Analytics 6%
ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้วิเคราะห์สถิติข้อมูลทางการเกษตร เป็นรากฐานสำหรับการสร้างผลผลิตในครั้งต่อไป โดยระบุรูปแบบและความสัมพันธ์ต่างๆ ออกมาเป็นผลที่เข้าใจง่ายและช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลสู่การดำเนินงานภาคสนามของตนได้ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลการวิเคราะห์ช่วยส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับระดับธาตุอาหารของดิน ความเป็นกรดและด่างของดิน ความต้องการปุ๋ย และพารามิเตอร์อื่นๆ อีกหลายอย่าง ซึ่งช่วยให้เกษตรกรสามารถเลือกสิ่งที่ถูกต้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่น่าจับตามอง ได้แก่
1
Fyllo: สตาร์ทอัพชาวอินเดียที่ใช้อุปกรณ์ติดตั้งทั่วทั้งฟาร์มเพื่อตรวจจับและรายงานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลผ่านบริการคลาวด์เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลฟาร์ม
AgriData Innovations (ADI): สตาร์ทอัพชาวดัตช์อํานวยความสะดวกในการรวบรวมวิเคราะห์และแสดงภาพข้อมูลฟาร์มโดยเฉพาะอย่างยิ่งของเรือนกระจก พวกเขาได้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้สำหรับการถ่ายโอนและจัดการข้อมูล
8. Controlled Environment Agriculture 6%
การทำฟาร์มในร่ม การทำฟาร์มแนวตั้ง โรงเรือน และอื่นๆ มีการปรับใช้เทคนิคต่างๆ เช่น ไฮโดรโปนิกส์และแอโรโปนิกส์มากขึ้น อีกเทคนิคหนึ่งคือ aquaponics ซึ่งเป็นการปลูกพืชและปลาพร้อมกัน ปลาจะช่วยให้สารอาหารแก่พืช ในขณะที่พืชทำให้น้ำในบ่อเลี้ยงปลาสะอาดขึ้น วิธีการนี้จะช่วยลดศัตรูพืชและโรค อีกทั้งยังช่วยเพิ่มผลผลิตและสร้างแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ยั่งยืน ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่น่าจับตามอง ได้แก่
1
OnePointOne: สตาร์ทอัพสหรัฐอเมริกาสร้างพื้นที่การเกษตรการบินเครื่องบินแนวตั้ง พวกเขาปรับใช้เทคนิคการทําฟาร์มแนวตั้งเพื่อคิดค้นแนวทางแก้ปัญหาโดยการประหยัดพื้นที่ประหยัดน้ำและประหยัดแรงงาน
Baltic Freya: สตาร์ทอัพชาวลิทัวเนียพัฒนาการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในการทำฟาร์มไฮโดรโปนิกส์และแอโรโปนิกส์ โดยควบคุมอุณหภูมิของระบบด้วยการสร้างหมอกเทียม
9. Regenerative Agriculture 4%
การทำเกษตรมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงความหลากหลายทางชีวภาพของดินและการฟื้นฟูดินชั้นบน เช่น การทำฟาร์มแบบไม่ไถพรวน การไถพรวน การหมุนเวียนพืชผล และอื่นๆ ตัวอย่างเช่น การปลูกพืชคลุมดินระหว่างฤดูกาลเพาะปลูกเพื่อฟื้นฟูคุณภาพดิน นอกจากนี้ การทำนาแบบ Regenerative ยังช่วยให้ทุ่งนาทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งนำไปสู่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศและส่งผลเสียต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศน้อยลง ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่น่าจับตามอง ได้แก่
2
Freesoil: สตาร์ทอัพชาวดัตช์ที่พัฒนาสารสกัดปุ๋ยหมักคุณภาพสูงจากพืช เมื่อนำสารสกัดจากปุ๋ยหมักไปใช้กับดิน พืชจะสามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยปราศจากสารเคมี นอกจากนี้พวกเขายังใช้จุลินทรีย์ปรับปรุงคุณภาพของดินอีกด้วย
Acterra: บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติแคนาดา เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการหมักสำหรับการทำปุ๋ยหมัก เมล็ดพืช ดิน และการบำบัดสารตกค้าง อีกทั้งยังมีการพัฒนาสารเติมแต่งปุ๋ยหมักที่เร่งการสลายตัวของสารอินทรีย์ ช่วยลดความจำเป็นในการใช้ปุ๋ยเคมีและยังทำให้มูลสัตว์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกด้วย
10. Connectivity Technologies 3%
การขาดการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นหรือบรอดแบนด์เป็นปัญหาในพื้นที่ชนบททั่วโลก การทำฟาร์มอัจฉริยะเป็นไปไม่ได้หากไม่มีเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ เช่น 5G, LPWAN, บรอดแบนด์ในชนบทหรือการเชื่อมต่อผ่านดาวเทียมที่เข้ามามีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกให้กับอุปกรณ์ IoT หุ่นยนต์ และเซนเซอร์ต่างๆ เพื่อพัฒนาการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วสูงขึ้น และช่วยให้เกษตรกรตรวจสอบข้อมูลได้แม่นยำยิ่งขึ้นในแบบเรียลไทม์ การใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจากสายไฟเบอร์ออปติกทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลภาคสนามได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการปรับปรุงความแม่นยำในส่งผ่านข้อมูล ตัวอย่างสตาร์ทอัพที่น่าจับตามอง ได้แก่
1
Ellenex: บริษัทสตาร์ทอัพในออสเตรเลียนำเสนอผลิตภัณฑ์เซ็นเซอร์ทางการเกษตรที่หลากหลายซึ่งขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีหลากหลาย เช่น LoRaWAN, ดาวเทียม, Sigfox, WiFi และอื่นๆ
AgriLinx: บริษัทสตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกาที่พัฒนาเครือข่าย FLEX ซึ่งเป็นเครือข่าย LoRaWAN ที่ให้ข้อมูลแบนด์วิดธ์ต่ำครอบคลุมสูงสุด 5 ไมล์ ช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลฟาร์มบนอุปกรณ์เคลื่อนที่และติดตามการชลประทาน อุปกรณ์การเกษตร และอื่นๆ
เมื่อย้อนกลับมามองแนวโน้มด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรจากสตาร์ทอัพไทยที่เริ่มมีจำนวนมากขึ้น เห็นได้จากกลุ่มการใช้ระบบ IoT และ โดรน ที่เริ่มนำมาใช้ในการบริหารจัดการฟาร์มมีการกระจายตัวมากขึ้น แต่ยังมีช่องว่างอันเนื่องมาจากการที่เกษตรกรไม่เข้าใจและไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้โดยง่าย ระบบโครงสร้างพื้นฐานควรจะต้องพัฒนาให้รองรับการใช้งานให้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มี่ความเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเกษตรจึงควรมีส่วนช่วยสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร ลดการทำเกษตรแบบพึ่งพาดินฟ้าอากาศ เพิ่มการจัดการเกษตรแบบอัจฉริยะเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำฟาร์มที่ง่าย แม่นยำ และรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพลิกโฉมภาคส่วนการเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นเกษตรแนวใหม่ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป
อ้างอิงจากเว็บไซต์ StartUs insights
อ่านเพิ่มเติม
startus-insights.com
Top 10 Agriculture Trends & Innovations for 2022 | StartUs Insights
Get a head-start & explore the Top 10 Agriculture Trends plus 20 Top Startups to learn how they will impact your agricultural business!
บทความโดย
กุลิสรา บุตรพุฒ
นักส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
นวัตกรรม
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
trend2022
19 บันทึก
12
14
19
12
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย