19 เม.ย. 2022 เวลา 10:01 • การเกษตร
📢ฤดูร้อนและอากาศแปรปรวน ระวัง#โรคสัตว์จากแมลงพาหะ
👉นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ด้วยขณะนี้ประเทศไทยเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน สภาพอากาศแปรปรวน เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกในบางพื้นที่ ส่งผลทำให้สัตว์เกิดความเครียด อ่อนแอ และมีโอกาสติดเชื้อต่างๆได้ง่าย อีกทั้งสภาพอากาศดังกล่าวยังมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของแมลงพาหะนำโรค จึงมีโอกาสที่จะพบการระบาดของ#โรคสัตว์จากแมลงพาหะ เพิ่มขึ้น และแพร่กระจายไปในวงกว้างได้ และโรคที่มักจะเกิดได้แก่ โรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ โรคกาฬโรคแอฟริกา และโรคโลหิตจางในม้า รวมถึงโรคพยาธิในเลือดต่างๆ เช่น โรคเซอรา โรคแอนาพลาสมา โรคไข้เห็บ
👉เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้เลี้ยงสัตว์ กรมปศุสัตว์จึงขอความร่วมมือเกษตรกรหรือเจ้าของสัตว์ในการดำเนินการป้องกัน ควบคุม กำจัดหรือลดปริมาณแมลงพาหะนำโรค โดยการใช้สารกำจัดแมลงพาหะด้วยวิธีการฉีดพ่นบริเวณคอกหรือสถานที่พักอาศัยของสัตว์ ร่วมกับการใช้ยาฉีดพ่น หรือราดหลัง หรือหยดบนตัวสัตว์อย่างสม่ำเสมอ
👉รวมทั้งการปรับภูมิทัศน์บริเวณสถานที่เลี้ยงสัตว์หรือแหล่งรวมสัตว์ ไม่ให้มีแหล่งน้ำขัง หรือแหล่งเพาะพันธุ์แมลง ทำความสะอาดฆ่าเชื้อคอกสัตว์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้มีอุจจาระ ปัสสาวะหมักหมม ควรเก็บอุจจาระไว้ในสถานที่ป้องกันแมลง และนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี รวมทั้งเฝ้าระวังและสังเกตอาการของสัตว์ทุกวัน
👉หากพบม้า ลา ล่อ แสดงอาการซึม มีไข้ อุณหภูมิมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส กินอาหารลดลง มีอาการบวมน้ำบริเวณขมับหรือคอ ตาแดงอักเสบ ชัก หรือกระวนกระวายคล้ายอาการเสียดท้อง ส่วนโค กระบือ แสดงอาการซึม มีไข้ อุณหภูมิมากกว่า 39.5 องศาเซลเซียส ไม่กินอาหาร มีตุ่มนูนตามผิวหนัง หายใจลำบาก ให้เกษตรกรหรือเจ้าของสัตว์แจ้งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ ได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ หากไม่สะดวกสามารถโทร. แจ้งมายังสายด่วนกรมปศุสัตว์ 06-3225-6888 หรือแจ้งผ่าน Application DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา”
👉อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเตือนอีกว่า หากพบสัตว์ที่แสดงอาการสงสัยด้วยโรคระบาดข้างต้น ห้ามทำการเคลื่อนย้ายสัตว์ออกจากฟาร์มโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไปยังท้องที่อื่นๆ นอกจากนี้ ควรจะเข้มงวดเกี่ยวกับการห้ามยานพาหนะ โดยเฉพาะรถรับซื้อสัตว์ รถอาหารสัตว์ รถรับซื้อมูลสัตว์เข้าภายในฟาร์มโดยเด็ดขาด หากจำเป็นต้องทำการฆ่าเชื้อยานพาหนะจากภายนอกทุกคันที่เข้า-ออกฟาร์มหรือสถานที่เลี้ยงสัตว์ รวมถึงควบคุมแมลงพาหะด้วยสารกำจัดแมลงที่อาจมากับยานพาหนะดังกล่าวด้วย และงดการนำสัตว์เข้ามาเลี้ยงใหม่จากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่ ทั้งนี้ หากกรณีเกษตรกรนำสัตว์เข้ามาเลี้ยงใหม่ ควรมีการกักแยกสัตว์ออกจากฝูงเพื่อสังเกตอาการอย่างน้อย 28 วัน พร้อมทั้งกางมุ้งกันแมลงหรือใช้สารกำจัดแมลงเพื่อควบคุมแมลงพาหะอย่างเหมาะสม
Cr: ขอขอบคุณที่มาจาก ไทยรัฐออนไลน์
💢สนใจจุลินทรีย์กำจัดกลิ่นเหม็นและกำจัดแมลงวันติดต่อได้ที่
☎️ 081-2612616 (เอ๋)
ทักแชท คลิกเลย => : https://m.me/microthai89
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
#จุลินทรีย์ไมโครเบลส
#ไมโครเบลส
#กำจัดแมลงวัน
#ดับกลิ่นเหม็น
#โรคสัตว์จากแมลงพาหะ
ระวัง"โรคสัตว์จากแมลงพาหะ"
โฆษณา