Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Southstar
•
ติดตาม
20 เม.ย. 2022 เวลา 06:46 • ไลฟ์สไตล์
ตรรกะที่บิดเบี้ยวในสังคมไทย : ตอน “ครอบครัว”
เป็นปีที่สาม ติดต่อกันมาแล้วที่ผมสามารถออกเดินใน แหล่งชุมชน ไม่ว่าจะเป็นตลาด หรือถนนสายหลักในเมือง ได้อย่างสบายใจ ว่าเนื้อตัวเสื้อผ้าจะไม่เปียก กระเป๋าตังจะไม่ชื้นแฉะ จะไม่ต้องแงะมือถือมาเป่าแห้งหรือเอาไปใส่ในถังข้าวสารเพื่อดูดความชื้นออก จากการเล่นน้ำในเทศกาลใหญ่ประจำปีที่รู้จักกันไปทั่วโลก
ภาพปก : ครอบครัว
“สงกรานต์” คือชื่อของเทศกาลดังกล่าวที่มีอยู่ในสังคมไทย แต่ดังไกลไปทั่วโลก ผลกระทบจากโควิด โรคระบาด ที่ทำให้ทั้งรัฐและเอกชนคนธรรมดา เสียกันไปคนละหลายบาท มารตการควบคุมการเล่นน้ำ และจัดกิจกรรมต่างๆจึงเป็นแนวทางที่จำเป็นในการนำมาใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ภาพที่ 1 : songkran festival
นอกจากเทศกาลสงกรานต์ จะเป็นเทศกาลเพื่อความรื่นเริงเล่นน้ำประแป้ง เข้าวัดทำบุญแล้ว ยังถือว่าเป็นช่วงเวลาแห่ง “ครอบครัว” มีการเดินทางรวมตัวรวมญาติ กลับบ้าน กลับถิ่นฐาน ถิ่นกำเนิดกันทั่วประเทศ
สิ่งที่ผมอยากชวนคิดชวนตั้งคำถามกัน คือถ้าเราพิจารณา และสังเกตดูแล้วในระบบความคิด หรือตรรกะ เกี่ยวกับ “ครอบครัว” ในสังคมไทย มันมีหลายๆเรื่องชวนให้ตั้งคำถามว่าสิ่งใดสมควร? สิ่งใดถูกต้อง? สิ่งใดผิดเพี้ยน? เพราะตรรกะหลายๆอย่างดูออกจะ เพี้ยนๆเบี้ยวๆ เลี้ยวไม่ตรงทาง
3
อยู่ก่อนแต่ง กับ แต่งแล้วไม่อยู่ แบบไหนน่าอายกว่ากัน ?
1
ยามใดที่เราจะมองหรือสังเกตการณ์เพื่อให้เห็นความจริงในสังคมไทยมากที่สุด เราไม่ควรทำตัวแบบ “มือถือสาก ปากถือศีล” นั่นพูดกันตามความเป็นจริง คงปฎิเสธไม่ได้ว่าการ “อยู่ก่อนแต่ง” ในสังคมไทยนั่นแพร่หลายยิ่งกว่าโรคโควิด และมีมานานแล้วด้วย ทั้งในคู่หนุ่มสาวออฟฟิศสำนักงาน ทั้งในคู่นักเรียน นักศึกษามหาวิทยาลัย มัธยม หรืออาชีวะ
ปัจจุบันนั่นสังคมไทยนั่นดูจะผ่อนปรนในเรื่องนี้พอสมควร แต่ก็ยังมีความคิดที่เป็นลบต่อพฤติกรรมดังกล่าวอยู่มาก ถ้าคู่รักยังอยู่ในวัยศึกษาก็อาจใช้คำตำหนิว่า ชิงสุกก่อนห่ามบ้าง ใจแตกบ้าง ไม่รักนวลสงวนตัวบ้าง แล้วแต่จะสรรหาคำมาว่ากล่าวกันให้เพื่อให้เกิดผลได้อย่างเดียวนั่นคือ “บาดแผลทางจิตใจต่อกัน”
ในทางกลับกันอีกด้านเมื่อมาเทียบกับ “การแต่งกันแล้วแต่กลับไม่อยู่” เข้าหอแบบไม่อยากลงกลอน พร้อมจะออกตะลอนได้ตลอด แต่งไม่นานหม้อข้าวยังไม่ทันดำก็โบกมือลาแบบ ซาราเฮโย ซาโยนาระ แบบนี้จะไม่น่าอายกว่าหรือ? แบบนี้จะไม่น่าสงสารลูกหลาน ญาติพี่น้อง ของเราที่ต้องเผชิญชะตากรรมแบบนี้มากกว่าหรือ?
แน่นอนที่ว่าการอยู่ก่อนแต่ง นั่นมันไม่เหมาะสม แต่สำหรับผมคิดว่ายังไม่ถึงขั้นผิดขนาดต้องมาด่าทอหนักหน่วง ควงมีดมาจ้วงกรีดลึกลงไปในความรู้สึกภายในครอบครัว ถ้าต้องประสบเจอสถาณการณ์แบบนี้ เราแค่อาจต้องหาวิธีหรือทางออกที่เหมาะสมให้ลูกหลานแทนจะได้ไหม
เช่น ถ้าในวัยทำงานก็แนะนำการใช้ชีวิตการดูแลเงินทองทรัพย์สินของตนให้ดี ถ้าในวัยเรียนวัยศึกษา ก็แนะนำในเรื่องการป้องกันเกี่ยวกับเรื่องโรคติดต่อและการตั้งครรภ์
ท้องก่อนแต่ง กับ แต่งแล้วไม่ท้อง แบบไหนน่าอายกว่ากัน?
1
ยามใดที่ได้รับข่าว รับเชิญจากเพื่อนหรือญาติมิตรเกี่ยวกับงานแต่งงานแบบกระทันหัน สิ่งที่ตามมาคือบทสนทนาแนวซุบซิบ ทั้งก่อนงานแต่ง หรือแม้กระทั้งในงานแต่งงาน ว่า “มึงว่าท้องป่าววะ”
หรือถ้าระดับเพื่อนที่สนิทกับเจ้าบ่าวเจ้าสาว ก็ยิงตรงถามตรงเจ้าตัวแบบทีเล่นทีจริง “แกรร มีน้องใช่ป่าว” อาจเพื่อความอยากรู้อยากเห็นหรือเพื่อจะเอาไปซุบซิบนินทากันต่อในวงกว้างก็แล้วแต่ปากจะพาไป จนบางทีหนุ่มสาวคู่รักไม่อยากให้ใครรู้ปิดเป็นความลับด้วยความอับอาย
ความอยากรู้อยากเห็นนั่นเป็นราวธรรมชาติของมนุษย์ แต่ถ้ามาลองคิดกันดูแล้ว ท้องก่อนแต่งอาจไม่เหมาะสม แต่ถ้า “แต่งแล้วไม่ท้อง” จะไม่น่าอับอายกว่าหรือ? จะมีมาไหมคำซุบซิบนินทาที่ว่า ไม่มีน้ำยาบ้างละ เป็นตุ๊ดเป็นเกย์บ้างละ แอบไปมีคนอื่นบ้างละ หรือแม้กระทั้ง ทำไม่เป็นบ้างละ!!
1
และมาพร้อมกับความกดดันของครอบครัวอีกสารพัดแบบเดือนต่อเดือน ปีต่อปี พ่อแม่อยากอุ้มหลานบ้างละ ไม่มีทายาทสืบสกุลบ้างละ แล้วแบบนี้ “ท้องก่อนแต่ง” กับ “แต่งแล้วไม่ท้อง” แบบไหนกันแน่ที่มันน่าอึดอัดและทุกข์ใจกว่ากัน? แล้วเพื่อนผู้อ่านละ คิดว่า “ท้องก่อนแต่ง กับ แต่งแล้วไม่ท้อง” แบบไหนน่าอายกว่ากัน???
ทุกคนล้วนแต่เป็น “ขอทาน” !!!!
1
เชื่อหรือไม่ ? ไม่ว่าจะ แพทย์ สถาปนิก ทนายความ วิศวกร โปรแกรมเมอร์ นักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจ นักบวช ขุนนาง ราชวงศ์ ข้าราชการ ..และอื่นๆอีกนับไม่ถ้วน ล้วนแต่ประกอบอาชีพ “ขอทาน” มาก่อนโดยธรรมชาติทั้งสิ้น
มนุษย์นั่นถือได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ทรงภูมิปัญญา และอาจกล่าวได้ว่าครองโลกอยู่ในช่วงเวลานี้ แต่ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ธรรมชาติได้ออกแบบมนุษย์ไว้ให้พึ่งพาผู้อื่นมาตั้งแต่แรกเกิด เพราะยามที่เราเกิดขึ้นมานั่นอย่าว่าแต่จะเอาตัวรอดจากสภาพแวดล้อม หรือหุงหาอาหารเพื่อดำรงชีวิตเลย แม้แต่การจะยืน หรือหยัดยืนขืนคอให้ตั้งตรง ก็ยังทำไม่ได้
ในยามหิว หรือยามเจ็บปวดสิ่งที่ทำได้เพียงอย่างเดียวนั่นคือ การแหกปากร้องขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่อยู่ข้างๆเรายามเกิด ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ญาติมิตร หรือผู้มีบุญคุญอุ้มชู ชุบเลี้ยง
แล้วอย่างนี้ถ้าจะกล่าวว่าเราทุกคนนั่นล้วนแล้วแต่เป็นขอทานกันมาก่อนทั้งสิ้นคงจะไม่ผิด ใช่หรือไม่?
ภาพที่ 2 : เด็กแรกเกิด
สิ่งที่น่าตกใจในยุคแห่ง โลกเสมือน ยุคที่ข้อมูลข่าวสาร และการเชื่อมต่ออินเตอร์เนตเฟื่องฟู เรากลับได้เห็นตรรกะความคิดที่บิดเบี้ยว ผิดเพี้ยน แบบเสรีนิยม หรือสิทธิเสรีภาพอย่างสุดโต่ง แบบหน้ามืดตามัวของคนรุ่นใหม่มากขึ้นทุกที
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในสังคมไทย คือกลุ่ม เยาวชน 3 นิ้ว มักจะแสดงออกถึงแนวคิดดังกล่าวอย่างชัดเจน เช่น ช่อง BLUESKY Channel เสนอข่าว “อมนุษย์ 3นิ้ว ด่าพ่อควายเผือก เพียงพ่อแค่เชื่อมั่นการฉีดวัคซีน” หรือ ช่องยูทูปชื่อดังอย่าง ‘มอเตอร์ไซค์ อินดี้’ เสนอคอนเทนต์ “สามนิ้วลั่น ไม่จำเป็นต้องเลี้ยงดูพ่อแม่”
แม้แต่คนระดับด็อกเตอร์ที่ได้การยอมรับว่าเป็นภูมิปัญญาของสังคม ก็ออกมาสนับสนุนแนวความคิดบิดเบี้ยวเช่นนี้ อย่างเว็ปไซต์
brighttv.co.th
เสนอข่าว “ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง โพสต์เฟซบุ๊ก ซัดพ่อแม่ทำเด็กเกิดมา เด็กไม่ได้ขอมาเกิด ลั่น “ไม่ใช่หน้าที่ต้องมากตัญญู ขอบคุณพ่อแม่” !!!
โดยความคิดเห็นส่วนตัวแล้ว ผมสนับสนุนความมีสิทธิ และเสรีภาพในด้านต่างๆของปัจเจกชนที่พึ่งกระทำได้แบบไม่เดือดร้อนต่อผู้อื่น แต่ผมมีความคิดเห็นว่า ชีวิตนี้เป็นของผมแค่ครึ่งเดียว
ส่วนอีกครึ่งนั่นเป็นของ พ่อแม่ หรือผู้มีพระคุณที่อุ้มชูชุบเลี้ยงเรามายามที่เรายังนอนแช่เบาะราวกับผู้พิการ คออ่อนตั้งตรงไม่ได้ และตะโกนแหกปากร้องขออาหารจากท่านเหล่านั่นไปวันๆ ถ้าไม่มีคนเหล่านี้ผมก็จินตนาการไม่ออกเลยว่าจะมีชีวิตรอดมาถึงวันที่ตะโกนว่า สิทธิ และเสรีภาพ ได้อย่างไร?
ถ้าเราลองถามคนรอบตัวว่า “อยากจะมีลูกหลานไปเพื่ออะไร?” คำตอบส่วนใหญ่ที่ได้คงจะเป็น ไว้ดูแลยามแก่เฒ่า ความคิดดังกล่าวเหมือนดังราวภาพฝันในอุดมคติ
ถ้าลองสังเกตและพิจารณาดูดีๆแล้ว รอบตัวมีลูกหลานสักกี่คน เมื่อเติบใหญ่ได้ดิบได้ดีแล้วจะกลับมาอยู่ดูแลพ่อแม่ หรือผู้มีบุญคุณชุบเลี้ยงได้จริงๆจังๆ อย่างดีก็ใช้วิธีส่งเงินส่งทองมาดูแลรักษา ไว้ใช้ซื้อหาใช้จ่าย
แต่ก็เป็นสิ่งที่เข้าใจได้เพราะเมื่อโลกวิวัฒเข้าสู่ยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม การลดลงของครอบครัวใหญ่ จนแปรเปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะปัจจัยแห่งสถานที่ทำงาน เพื่อนร่วมงาน ทรัพยากร หรือความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ มันแข็งแกร่งเกินจะต่อต้าน
หรือแค่จริงๆแล้วพ่อแม่ หรือผู้มีพระคุณเหล่านี้ ไม่ได้ต้องการเลยกับคำว่ากตัญญูแบบต้องมาอยู่ดูแลชิดใกล้ ขอแค่เห็นลูกหลานปีกแข็งบินได้ด้วยกระแสลมที่ถูกต้อง ดันใต้ปีกให้บินสูงขึ้นไปเรื่อยๆไม่ตกต่ำ แค่นี้ก็สุขใจมากพอแล้ว
ภาพที่ 3 : work from home
ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ยุคแห่งอินเตอร์เนต ยุคแห่งโลกเสมือน คนสามารถใช้ชีวิต สันทนาการ ติดต่อสื่อสาร และทำงานได้ทุกที่ เหมือนอย่างที่ผมได้เขียนไว้ในบทความ “ประวัติย่นย่อของ โลกเสมือน” รูปแบบครอบครัวเดี่ยวในยุคนี้อาจจะเปลี่ยนโฉมหน้าและวิวัฒนาการไปอีกขั้นก็เป็นได้
สงกรานต์ปีหน้า ผมอาจจะไม่สามารถออกเดินในตลาด ถนนสายหลัก หรือแหล่งชุมชน โดยปราศจากซองกันน้ำใส่มือถือ รวมถึงเสื้อผ้าที่เปียกชุ่มและรอยแป้งขาวที่เต็มตัวเต็มหน้า
พร้อมรอยยิ้มที่สนุกสนานที่กลับมาสู่สังคมไทยอีกครั้ง การได้สาดน้ำเย็นสดชื่นเติมเต็มวันสงกรานต์ให้สมบูรณ์อย่างที่มันควรจะเป็น และเช่นเดียวกัน หากในสังคมไทยยังไร้ผู้ซึ่ง กล้าคิดกล้าตั้งคำถามแบบ วิพากษ์-วิจารณ์ (Critical Thinking) ต่อให้มีน้ำอมฤต จากการกวนเกษียรสมุทร มาประพรม สังคมก็ยังจะเดินสับสนวนเวียนอยู่ในเขาวงกตแห่งความคิดผิดเพี้ยนและบิดเบี้ยวอยู่นั่นเอง / JPW
ภาพที่ 4 : songkran festival again
ขอขอบคุณ : ภาพปก และภาพประกอบ
ภาพปก โดย Patricia Prudente จาก
unsplash.com
ภาพที่ 1 โดย Aditya Chinchure จาก
unsplash.com
ภาพที่ 2 จาก health
line.com
ภาพที่ 3 โดย Chris Montgomery จาก
unsplash.com
ภาพที่ 4 จาก
twinpalmshotelsresorts.com
ครอบครัว
ไลฟ์สไตล์
วิถีชีวิตใหม่
3 บันทึก
3
2
4
3
3
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย