22 เม.ย. 2022 เวลา 14:19 • การศึกษา
ทำไม? ทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่าง
.
หลายครั้งที่เราตั้งเป้าหมายไว้หลายอย่างในชีวิต พอทำไปสักพักก็เลิกทำ หรือทำได้ก็ไม่ดีพอ ทำทุกอย่างแค่"พอประมาณ" ไม่เสร็จ ไม่สำเร็จสักอย่าง สุดท้ายก็ล้มเลิกไปในที่สุด
เช่น ปีนี้ตั้งใจว่าจะลดน้ำหนักอย่างจริงจัง เเรกๆตั้งใจมาก พอผ่านไปสักพักน้ำหนักเริ่มลดลงนิดหน่อยก็ตะบะแตก กินทุกอย่างที่ขวางหน้า มิหนำซ้ำอ้วนกว่าเดิมอีก😅 แล้วก็กลับมากินเหมือนเดิม และล้มเลิกความตั้งใจไป
ส่วนใหญ่คนที่ทำอะไรไม่สำเร็จมักใช้คำว่า "แล้วค่อยทำ,แล้วค่อยเริ่ม" ผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย อย่างเช่น ปีนี้ไม่ทัน แล้วค่อยเริ่มปีหน้า พอปีหน้ามาถึงก็อ้างนู่นนี่เพื่อที่จะไม่ทำสิ่งที่เคยตั้งเป้าไว้ สุดท้ายทุกอย่างก็สายเกินไป ไม่ทันได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันสักอย่าง
เคยถามตัวเองมั้ยว่าทำไมเราถึงเลิกทำบางอย่างไปกลางคัน ทำไมเราถึงทำสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่นาน ทำไมเราถึงไม่เจอสิ่งที่อยากทำจริง ๆ สักที
.
มาดู 5 เหตุผลที่ทำให้เรา ทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่าง!!
1. เป้าหมายไม่ชัดเจนพอ
การตั้งเป้าหมายไม่ชัดเจน ก็เหมือนการเดินทางโดยไร้จุดหมาย ไม่รู้ว่าปลายทางคือที่ไหน ไม่รู้ว่าจะเดินไปทางไหน ได้เเต่เดินไปเรื่อยๆ ทั้งเหนื่อยเเละเสียเวลา..
การมีเป้าหมายชัดเจนคือจุดเริ่มต้นของทุกๆความสำเร็จ การที่จะมีเป้าหมายที่ชัดเจนนั้น ต้องหาเหตุผลก่อนว่าเป้าหมายที่เราจะทำนั้นคืออะไร เกี่ยวกับอะไร ต้องอาศัยปัจจัยอะไรบ้าง และต้องใช้เวลาเท่าไหร่จึงจะสำเร็จ
เป้าหมายเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญต่อการทำงานของสมอง เพราะทำให้สมองของเราจดจ่อต่อสิ่งที่จะต้องสละพลังงานเพื่อความอยู่รอดไปใช้กับการคิดเรื่องอื่นๆ ได้อย่างถูกต้อง
2. ขาดเเรงจูงใจ
การขาดแรงจูงใจ หรือกำลังใจในการเดินไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ก็เหมือนกับการอ่านหนังสือเล่มนึงซึ่งถ้าอ่านไปเฉยๆโดยขาดเป้าหมายเเละเเรงจูงใจ ก็จะทำให้ไม่มีกำลังในในการอ่านต่อจนจบเล่ม
ลองหาแรงบันดาลใจสักอย่าง มองหาเหตุผลที่จะทำสิ่งต่างๆ เช่นเราเคยแอบรักใครสักคน แล้วเค้าบอกว่าชอบผู้หญิงผอมๆ เราก็ยิ่งพยายต้องลดน้ำหนักเพื่อจะเอาชนะใจเขา
แรงจูงใจ คือพลังผลักดันให้คนมีพฤติกรรม และยังกำหนดทิศทางและเป้าหมายของพฤติกรรมนั้นด้วย คนที่มีแรงจูงใจสูงจะใช้ความพยายามในการกระทำไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละ แต่คนที่มีแรงจูงใจต่ำจะไม่แสดงพฤติกรรม หรือไม่ก็ล้มเลิกการกระทำก่อนบรรลุเป้าหมาย
3. ทำไม่ต่อเนื่อง
เชื่อว่าหลายคนเป็นเหมือนกันทำไปสักพักก็เกิดอาการอยากเลิกทำ หรือทำแบบขาดๆหายๆ อาจเนื่องมาจากการขี้เกียจ หรือเจออุปสรรคที่ยาก
หากเริ่มพยายามบังคับตัวเองให้ทำให้ต่อเนื่องจะเกิดนิสัยหรือกิจวัตรนั้น คือการที่สมองเราจะทำซ้ำพฤติกรรมบางอย่างด้วยระบบประสาทอัตโนมัติ เราแทบไม่ต้องใช้ความคิดหรือความพยายามอะไร บางครั้งก็ทำไปโดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เช่นการแปรงฟันหรืออาบน้ำ เราไม่รู้หรอกว่าเราถูร่างกายตรงไหนก่อน ถ้าไม่มีใครถาม นั่นเพราะเราอาบน้ำด้วยกลไกอัตโนมัตินี้
4. ไม่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก
ก่อนจะลงมือทำอะไรสักอย่าง ต้องถามตัวเองก่อนเลยว่า สิ่งที่ทำอยู่คือสิ่งที่ทำแล้วเป็นตัวเองจริงๆใช่มั้ย ทำไปแล้วมีความสุขหรือป่าว หากเป็นสิ่งที่รักเราจะอยู่กับมันได้นานขึ้น ไม่เบื่อ ไม่ล้มเลิกกลางคัน ทุกครั้งที่ทำเราจะรู้สึกว่า"ต้องทำ"ไม่ใช่ทำเเค่ผ่านๆ และทุกช่วงเวลาที่อยู่กับสิ่งนั้น เราแทบจะลืมไปเลยว่าเวลาผ่านมานานเเค่ไหน
หากเป็นสิ่งที่เราไม่ได้คิดจะทำ หรือทำในสิ่งที่ไม่ได้รัก ก็เหมือนกับเราพยายามบังคับตัวเองให้ตื่นขึ้นมาแต่งตัวไปทำงานในทุกๆวันก็เพื่อหาเงินประทังชีวิต เพราะไม่มีทางเลือก 😁
5. ยอมแพ้อะไรง่ายๆ
เมื่อไรก็ตามที่เราพบกับความล้มเหลว ไม่ประสบความสำเร็จ หรือพบเจอกับปัญหาที่ค่อนข้างยาก แน่นอนว่าเป็นธรรมดาที่เรามักรู้สึกอยากยอมแพ้และหันหลังให้ จนทำให้อาจเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีขึ้น
หากพบกับอุปสรรคที่ยากและท้าทาย ให้เราคิดไว้เสมอเลยว่า ทุกสิ่งอย่างบนโลกนี้ ไม่เคยมีอะไรได้มาง่ายดาย ทุกคนที่ประสบความสำเร็จย่อมฝ่าฟันอุปสรรคทั้งยากและง่ายมาแล้วทั้งนั้น มันเป็นธรรมดาที่ต้องมีบททดสอบในชีวิต หากความสำเร็จได้มาง่ายดาย ทุกคนคงร่ำรวยไปหมดแล้ว.
อยากประสบความสำเร็จ อยากทำอะไรหลายๆอย่างให้เสร็จสมบูรณ์ ต้องอาศัยความขยัน อดทน สม่ำเสมอ ทำให้ต่อเนื่อง และใช้เวลาในการสร้างมันขึ้นมา ไม่มีทางลัดที่เร็วที่สุด มีเเต่ความเพียรพยายามของตัวเราเองเท่านั้น..
References
: หนังสือ"เลิกนิสัยทำอะไม่เสร็จสักอย่าง"
Thank you😊
โฆษณา