21 เม.ย. 2022 เวลา 03:00 • สุขภาพ
โรงพยาบาลรัฐ...ใครว่าแย่...แค่เข้าใจ...❤️
ขอบคุณภาพจาก Pixabay.com
สวัสดีค่ะทุกคน  ห่างหายไปหลายวัน  พองานเปิดก็ยุ่งมากมาย  และต้องพาคุณแม่สุดที่รักไปพบหมอตามนัดด้วยค่ะ
วันนี้พอมีจังหวะ  เลยมาเขียนบทความให้เพื่อนๆ  ที่ติดตามกันอ่านสักหน่อย
1
เรื่องที่จะเล่าให้ฟังวันนี้  คือเรื่องของการใช้บริการที่โรงพยาบาลรัฐค่ะ   แอดมินคิดว่าคงมีไม่น้อยในที่นี้ที่เคยใช้บริการของโรงพยาบาลรัฐ
แอดมินใช้บ่อยค่ะ  เพราะคุณแม่ใช้สิทธิ์บัตรทองของผู้สูงอายุ  แม่เป็นโรคเรื้อรัง  เบาหวาน  และความดัน  ต้องหาหมอบ่อยๆ  แรกๆ  ทุกเดือน  หลังจากการนั้นก็ขยับมาเป็นทุก  2 เดือน  ทุก  3  เดือน  ปัจจุบันทุก  4  เดือนค่ะ
2-3  ปี  มานี่นอกจากโรคเบาหวานแล้ว  ก็มีเข่าเสื่อมตามอายุเพิ่มมาอีก 1  โรค  คนแก่นี่โรครุมเร้าจริงๆ  นะคะ  ถ้าช่วงหนุ่มสาวไม่ได้ดูแลเรื่องสุขภาพดีๆ  ซึ่งคนรุ่นพ่อแม่เราก็ยังไม่ค่อยสนใจเรื่องสุขภาพกันเท่าใดนัก
1
ด้วยเหตุนี้โรงพยาบาลจึงเต็มไปด้วยผู้ป่วยสูงอายุ  โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ
เรื่องที่จะมาเล่าและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทุกคนในวันนี้  คือ  การให้บริการของโรงพยาบาลรัฐ
แอดมินมักจะได้ยิน  คนจำนวนไม่น้อยที่ต่อว่าต่อขาน  หรือร้องเรียนโรงพยาบาลของรัฐเกี่ยวกับการให้บริการ
แอดมินอยากให้ทุกคนลองเปิดใจ  ทำความเข้าใจกับบริบทของโรงพยาบาลรัฐ  อย่างไม่มีอคติ  จะเห็นว่าบุคลากรทุกคนพยายามทำหน้าที่ของตนเองอย่างสุดความสามารถจริงๆค่ะ
แอดมินขอเล่าเหตุการณ์ต่างๆ  ที่พบเจอระหว่างพาแม่ไปรักษาโรค  เป็นเวลาหลายๆ  ปี  ที่โรงพยาบาลรัฐประจำอำเภอ  แห่งหนึ่งนะคะ  ขอเล่าเป็นข้อดังนี้
❌️การรอคิวนาน
✅️เรื่องนี้เราต้องเข้าใจก่อนว่า  เราเป็นคนไข้หมอนัดต่อเนื่อง  หรือคนไข้ walk in
ขอบคุณภาพจาก Pixabay.com
ถ้าเป็นคนไข้นัดก็ให้ดูเวลาที่ใบนัดให้ดี  ว่าต้องมายังจุดซักประวัติกี่โมง  เพราะปัจจุบันเกือบทุกโรงพยาบาล  ไม่ต้องการให้คนมากันพร้อมกันเยอะ  เรื่องนี้ผู้สูงอายุอาจจะไม่เข้าใจ  ต้องอธิบายกันค่ะ  ( แม่แอดมินก็อยากจะมาแต่เช้าเหมือนกัน  ต้องอธิบายว่าไปเร็วก็ไม่มีประโยชน์  เพราะหมอเรียกตามคิว)
ถ้าเป็นคนไข้  Walk in อันนี้ต้องไปแต่เช้าหน่อย  เพื่อกดบัตรคิว  ไปช้าอาจต้องรอนาน  ควรโทรเช็คให้ดีว่าวันหนึ่งโรงพยาบาลรับกี่เคส   เพื่อไม่ให้เสียเที่ยว (ไม่รวมฉุกเฉิน)
1
❌️พยาบาลเสียงดัง  เจ้าหน้าที่เสียงดัง
✅️เรื่องนี้มีเหตุผลค่ะ  จากที่แอดมินอยู่ในสถานการณ์นี้บ่อยๆ  มีความเข้าใจและเห็นใจคุณพยาบาลและเจ้าหน้าที่มากๆ  ค่ะ
ขอบคุณภาพจาก Pixabay.com
เพราะอะไร  ก็เพราะลูกหลานที่พาพ่อแม่  ปู่ย่า  ตายาย  ไปรพ.  ไม่ได้สนใจดูจอมอนิเตอร์ที่เรียกคิว  ไม่ได้ฟังพยาบาล  บ้างเล่นเกม  บ้างเล่น Social media
1
ผู้สูงอายุบางคน  ไปคนเดียว  ไปเจอเพื่อน  ก็นั่งคุยกันเพลินตามประสาคนแก่  ไม่ได้ฟังเสียงเรียก  บวกกับหูตึงตามอายุ  เข้าไปอีก  ยิ่งไปกันใหญ่
1
ด้วยเหตุนี้พยาบาล  หรือเจ้าหน้าที่จึงต้องตะโกนเสียงดัง  ตอนนี้ดีหน่อย  มีลำโพงให้ใช้
ที่แอดมินเคยพบและประทับใจมากก็คือ  คุณตาท่านหนึ่งมาหาหมอคนเดียว  เดินไม่ค่อยไหว  พอถึงคิวที่ต้องซักประวัติ  พยาบาลเรียกชื่ออยู่นาน  ก็ไม่ได้ยิน  เพราะหูตึง  และเสียงคนไข้ที่คุยกันก็เจี๊ยวจ๊าวมาก  คุณพยาบาลจำคนไข้ได้  จึงลุกเดินมาหาคนไข้ที่เก้าอี้  พร้อมกับนั่งซักประวัติตรงนั้นเลย  ไม่ต้องลุกไป มา บ่อยๆ
2
❌️รอหมอตั้งนาน  หมอตรวจเดี๋ยวเดียวเสร็จหล่ะ
✅️เรื่องนี้  เป็นเรื่องของความชำนาญตามวิชาชีพจริงๆ  ค่ะ  หมอเขาทราบเองว่าใครต้องคุยกันนาน  ใครไม่ต้องคุยนาน เพราะบางครั้งหมอก็ดูข้อมูลทางชีวเคมี  จากการเจาะเลือด  ตรวจปัสสาวะ  หรือจากการ X-ray  ทรวงอก ควบคู่ด้วย ถ้าอยู่ในค่าปกติก็คุยไม่นาน
1
ขอบคุณภาพจาก Pixabay.com
แอดมินเคยคุยกับหมอทั้งนาน  และไม่นานค่ะ  วันไหนคุยนานแสดงว่ามีประเด็น  คุณหมอเคยขอตรวจเลือดเพิ่มเพราะดูตาแม่ที่ซีดผิดปกติ  ซึ่งแอดมินก็ไม่ได้สังเกตเห็น  สรุปว่าครั้งนั้น  แม่มีเลือดออกในกระเพาะ  ต้องนอน รพ.10 วัน  ให้ทั้งเลือด  ทั้งน้ำเกลือ
แอดมินจึงเข้าใจคุณหมอนะคะที่ต้องใช้เวลาในการตรวจให้คุ้มค่าที่สุด  มีคนไข้ที่นั่งรออยู่นอกห้องอีกหลายสิบคนเลย
คุณหมอที่แอดมินเจอ  ขอพักทานข้าวแค่  15  นาที  แล้วตรวจต่อเลยก็มี  ยกเว้น  ต้องขึ้นไปดูคนไข้ใน  ถึงจะตรวจต่อตอนบ่ายโมง
เชื่อเถอะค่ะคุณหมอ  คุณพยาบาล  และเจ้าหน้าที่  พยายามบริการเราอย่างเต็มที่จริงๆ
อัตราส่วนพยาบาล 1 คน  เจ้าหน้าที่ 1 หมอ 1  บริการคนไข้เกิน 50 คน  ต่อวัน  นี่หนักหนาไม่ใช่เล่นเลยนะคะ (อันนี้แค่แผนกอายุรกรรม)  โดยเฉพาะคนไข้สูงอายุ  ต้องใช้พลังมากในการสื่อสาร
❌️เครื่องมือแพทย์ไม่ทันสมัย
✅️เรื่องนี้ไม่จริงซะทีเดียว  ด้วยงบประมาณที่มาถึง รพ.ขนาดเล็ก ถึง  ปานกลาง  อาจมีไม่เพียงพอ  ทำให้การจัดหาเครื่องมือล่าช้า  หรือมีจำนวนเครื่องมือไม่มากพอ  และไม่ทันสมัยบ้าง  แต่ รพ. เหล่านี้  จะมี รพ.พี่ใหญ่  ที่สามารถรับคนไข้อาการหนัก  หรือคนไข้ที่ต้องการตรวจด้วยเครื่องมือทันสมัย  คอยช่วยเหลือ  รวมทั้งแพทย์เฉพาะทางด้วย
ขอบคุณภาพจาก Pixabay.com
แม่ของแอดมินเคยถูกส่งไปผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา  ที่ รพ.อื่น  จากหนังสือส่งตัวของที่นี่  ญาติของแอดมินอีกคนถูกส่งไปผ่าตัดหัวใจ  ที่ รพ.รัฐในกรุงเทพ  มีหมอเฉพาะทางมาช่วยกันรักษาถึง 5 คน เลยทีเดียวค่ะ
รพ.จะช่วยคนไข้จนสุดความสามารถ  ไม่มีเงินก็ไม่ต้องกังวล  เจ้าหน้าที่จะพยายามเช็คสิทธิ์ที่เราพึงมีจนถึงที่สุดจริงๆ  ค่ะ  ยกเว้นเราต้องการความสะดวกสบายเป็นพิเศษยอมเสียเงินเพิ่มเกี่ยวกับห้องพักพิเศษเอง  ก็แล้วแต่เรา  ส่วนการรักษาอาการป่วยไม่ได้ต่างกันค่ะ
1
จากงบประมาณที่ไม่เพียงพอนี้  แอดมินอย่างเชิญชวนให้เพื่อนๆ  ที่ไปใช้บริการ รพ.รัฐ  ช่วยกันบริจาคเงินให้กับโรงพยาบาลรัฐ คนละเล็กละน้อยนะคะ  ในกรณีที่เราไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล  แอดมินว่าได้บุญเยอะเลย  หรือทำบุญในวันสำคัญๆ  ของเรา ก็ได้ค่ะ  กรณีที่เราสุขภาพแข็งแรง  ไม่เคยเจ็บป่วย  เหมือนช่วยคนพร้อมๆ  กันหลายๆ  คน เลยค่ะ  รับรองว่าดีต่อใจ ❤️
ขอบคุณภาพจาก Pixabay.com
แต่จะให้ดีที่สุดในสามโลก คือ  การที่เราดูแลสุขภาพของตนเอง  และคนในครอบครัว  ให้แข็งแรง  เพื่อลดภาระให้กับคุณหมอ  คุณพยาบาล  และบุคลากรทางการแพทย์  ให้มากที่สุดค่ะ😘
1
ทั้งหมดนี้คือความเข้าใจส่วนตัวของแอดมิน  จากการใช้บริการ รพ.รัฐ  มายาวนาน
...แค่เข้าใจ...เท่านั้นเอง
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว  หากมีข้อคิดเห็นอย่างไรมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันได้นะคะ
ขอบคุณที่ติดตามกัน
สวนบ้านส้ม❤️🌱🐈‍⬛
21 เม.ย. 2565
โฆษณา