Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนเกิร์ล
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
22 เม.ย. 2022 เวลา 03:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุป สงครามแย่งหุ้น Hermès ระหว่างทายาทในตระกูล และเครือ LVMH
5
รู้หรือไม่ คนที่รวยสุดในโลก 4 อันดับแรก ทำธุรกิจเทคโนโลยีไปแล้วทั้งหมด 3 คน
แต่มีเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่ร่ำรวยจากการทำธุรกิจแบรนด์หรู
5
ซึ่งก็คือ คุณเบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ เจ้าของ LVMH บริษัทเจ้าของพอร์ตแบรนด์หรูที่ใหญ่สุดในโลก ที่มีแบรนด์ในเครือมากถึง 75 แบรนด์ เช่น Louis Vuitton, Christian Dior และ Celine
3
โดยปัจจุบัน LVMH มีมูลค่าบริษัทสูงถึง 12 ล้านล้านบาท
4
แต่ที่น่าสนใจคือ บริษัทแบรนด์หรูที่ใหญ่รองลงมาจาก LVMH นั้น เป็นเจ้าของแบรนด์หรูใหญ่ ๆ เพียง 1 แบรนด์เท่านั้น ซึ่งก็คือ “Hermès” ที่ในปัจจุบันมีมูลค่าบริษัทกว่า 5 ล้านล้านบาท
ซึ่งครั้งหนึ่ง LVMH ก็เคยพยายามที่จะไล่เก็บหุ้นของ Hermès เพื่อฮุบกิจการ จนหลายฝ่ายต่างจับตาว่า LVMH มีโอกาสสูงมากที่จะทำได้สำเร็จ
2
แล้วเรื่องราวเป็นอย่างไรต่อไป ?
และสงครามแย่งหุ้น Hermès จบลงที่ใครเป็นผู้ชนะ ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
2
Hermès เป็นแบรนด์หรูที่มีอายุเก่าแก่ถึง 185 ปี
ก่อตั้งโดยคุณ Thierry Hermès ที่เริ่มต้นสร้างธุรกิจจากร้านรับทำ “สายบังเหียนม้า” สินค้าที่จำเป็นสำหรับผู้คนในสมัยนั้น เนื่องจากต้องเดินทางด้วยม้าเป็นหลัก
2
แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุด วิถีชีวิตของผู้คนก็ได้เปลี่ยนไป และผู้คนเริ่มเดินทางด้วยม้าน้อยลง ทำให้คุณ Émile Hermès ทายาทรุ่นที่ 3 ตัดสินใจต่อยอดธุรกิจเครื่องหนัง เข้าสู่ “วงการแฟชั่น”
หลังจากนั้นกิจการของ Hermès ก็ถูกส่งต่อให้คนภายในตระกูล จากรุ่นสู่รุ่น มาตลอดหลายร้อยปี
แม้กระทั่งในปัจจุบัน คนในตระกูล Hermès ก็ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ และยังคงนั่งบริหารงานอยู่ในตำแหน่งสำคัญ ๆ
3
ซึ่งส่วนหนึ่งที่ทำให้คนในตระกูล Hermès ยังคงรักษาธุรกิจของครอบครัวเอาไว้ได้ ก็เนื่องจากผลงานการบริหารที่น่าประทับใจ
อีกทั้งครอบครัวนี้ ก็ดูเหมือนจะรู้วิธีที่ดีที่สุด ในการรักษาคุณค่าของ Hermès ไม่ให้เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา แถมยิ่งเวลาผ่านไป Hermès ก็ดูเหมือนจะยิ่งมีมนตร์ขลังมากขึ้นเรื่อย ๆ
แน่นอนว่า ด้วยความล้ำค่าของ Hermès ทำให้ไม่ได้มีเพียงเครือญาติของ Hermès เท่านั้นที่ต้องการครอบครอง
เพราะคนนอกอย่าง คุณเบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ แห่ง LVMH ก็ต้องการจะเป็นเจ้าของสิ่งนี้เช่นกัน
ดังนั้นแผนการฮุบ Hermès ของคุณอาร์โนลต์ จึงได้เริ่มต้นขึ้นในปี 2001 หรือก็คือเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว
1
โดยคุณอาร์โนลต์ เริ่มแอบเพิ่มสัดส่วนความเป็นเจ้าของ Hermès ผ่านบริษัทย่อยในเครือ LVMH
1
และในขณะเดียวกัน ก็ยังใช้กลยุทธ์ “Cash-settled equity swaps” ที่ปกติแล้วจะเป็นสัญญาตกลงแลกเปลี่ยนผลประโยชน์จากหุ้นในอนาคต โดยที่เราไม่ต้องเป็นเจ้าของหุ้นตัวนั้นจริง ๆ แต่ไปตกลงทำสัญญาสวอปกับดีลเลอร์ นอกตลาดหลักทรัพย์แทน
1
ซึ่งวิธีนี้ยังมักจะถูกใช้เพื่อประโยชน์ ในกรณีที่นักลงทุนต้องหลีกเลี่ยง การเปิดเผยความเป็นเจ้าของ
เรื่องนี้เอง จึงทำให้เหล่าทายาทในตระกูล Hermès ไม่ทันสังเกตว่าแผนการของเขาได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
1
แต่เมื่อเวลาผ่านไป 8 ปี
แทนที่เขาจะปิดสัญญาแลกเปลี่ยน ด้วยการรับเงินผลประโยชน์ เขากลับรับเป็นหุ้น Hermès
2
และตอนนี้เองที่เขาได้เปิดเผยต่อสาธารณชนว่า “เขามีหุ้น Hermès ในมือมากถึง 17%”
ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ทำให้หลายฝ่ายต่างก็มองว่า เขามีโอกาสที่จะฮุบกิจการของ Hermès ได้สำเร็จ
และถึงแม้ว่าคุณอาร์โนลต์จะยืนยันอย่างชัดเจนว่า การกว้านซื้อหุ้นทั้งหมดนี้ เป็นการมาอย่าง “เป็นมิตร” แต่ฝ่ายทายาทของ Hermès กลับไม่ได้คิดเช่นเดียวกัน
1
ดังนั้น ในปี 2011 เหล่าทายาท Hermès กว่า 50 คน จึงได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า “H51” ขึ้น แล้วรวบรวมหุ้น Hermès ที่ทุกคนถืออยู่ มารวมกันไว้ในนามบริษัท H51 แทนการถือแยกแต่ละคน เพื่อรักษาตำแหน่งผู้ถือหุ้นใหญ่สุดไว้
2
ซึ่งในตอนนั้นพวกเขารวบรวมหุ้น Hermès ไว้ถึง 50.2% ของหุ้นบริษัท Hermès ทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าในขณะนั้นกว่า 5 แสนล้านบาท
ในขณะเดียวกัน พวกเขายังทำสัญญาร่วมกันว่า “จะไม่ขายหุ้น Hermès ในอีกสองทศวรรษข้างหน้า” หรือก็คือ จนกว่าจะถึงปี 2031 นั่นเอง
1
แต่ก็ไม่ใช่ทายาท Hermès ทุกคนจะสะดวกกับการนำหุ้นมารวมไว้ใน H51
เนื่องจากสองผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง คุณ Nicolas Puech ทายาทรุ่นที่ 5 ของ Hermès และในขณะนั้นเขาอายุ 68 ปี ส่วนอีกคนก็คือ คุณ Bertrand Puech ที่ในขณะนั้นอายุก็ปาไป 75 ปีแล้ว
3
ดังนั้นถ้าหากจะต้องรอเวลา 20 ปีกว่าจะขายได้ พวกเขาก็คงจะต้องอายุ 88 ปี และ 95 ปีกันแล้ว
แม้ว่าทั้งคู่จะไม่สะดวกกับการนำหุ้นมารวมไว้ใน H51 แต่แน่นอนว่า พวกเขาเห็นด้วยกับการต่อต้าน LVMH และยังได้ให้ “สิทธิในการปฏิเสธก่อน” (Right of First Refusal) กับสมาชิกในครอบครัว ในกรณีที่พวกเขาต้องการจะขายหุ้น
2
ส่วนทางด้าน LVMH ก็ยังคงเดินหน้าเก็บหุ้น Hermès จนเพิ่มจำนวนขึ้นมาเป็น 23.2%
เมื่อความขัดแย้งระหว่างทั้งสองฝ่ายดูจะหาทางลงได้ยาก ในที่สุดก็นำไปสู่การฟ้องร้องในชั้นศาล ระหว่าง LVMH และ Hermès ซึ่งกินระยะเวลาในการต่อสู้คดีนานถึง 4 ปี
2
สุดท้าย LVMH ก็ตกลงว่าจะไม่ซื้อหุ้น Hermès อีกเป็นเวลา 5 ปี
ส่วนหุ้น Hermès จำนวน 23.2% ที่อยู่ในมือ LVMH ก็จะต้องถูกนำมากระจายให้กับผู้ถือหุ้นของ LVMH
โดยผู้ที่ถือหุ้นของ LVMH ทุก ๆ 21 หุ้น จะได้รับหุ้น Hermès เป็นจำนวน 1 หุ้น
3
ซึ่งถ้าหากเราไล่เรียงรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ของ LVMH ณ ขณะนั้น ก็จะพบว่า
- บริษัทการลงทุนของครอบครัวอาร์โนลต์ Groupe Arnault หรือปัจจุบัน คือ Arnault Family ถือหุ้นอยู่ 5%
- บริษัท Christian Dior ถือหุ้นอยู่ 42%
1
ซึ่งผู้ที่เป็นเจ้าของบริษัท Christian Dior ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ คุณอาร์โนลต์นั่นเอง
4
ดังนั้น แม้ว่าหุ้น Hermès จะถูกกระจายไปอยู่ในมือผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ
แต่อย่างน้อย ๆ คุณอาร์โนลต์ ก็ยังคงรักษาหุ้น Hermès ไว้ได้ 8.5%
1
แต่ต่อมาในปี 2017 คุณอาร์โนลต์ก็ได้ตัดสินใจขายหุ้น Hermès เป็นจำนวนมาก เพื่อนำเงินที่ได้ไปซื้อหุ้นบริษัท Christian Dior จากผู้ถือหุ้นที่เหลือในบริษัท เนื่องจากเขาต้องการนำบริษัท Christian Dior ไปรวมเข้ากับอาณาจักร LVMH อย่างสมบูรณ์
2
โดยผลจากการซื้อขายหุ้นในวันนั้น ทำให้ราคาหุ้นของ Hermès ตกลงกว่า 6%
ส่วนทางด้าน Christian Dior กลับเพิ่มขึ้น 13% และราคาหุ้น LVMH ก็บวกตามมาเกือบ 5%
2
สำหรับในปัจจุบัน คุณอาร์โนลต์ เหลือหุ้น Hermès ในมือไม่ถึง 2% และหันไปโฟกัสกับอาณาจักร LVMH ของเขา
บทสรุปของสงครามชิงหุ้น Hermès จึงจบลงเพียงเท่านี้
1
ซึ่งคงต้องติดตามกันต่อไปว่า นี่เป็นเพียงการพักยก ระหว่างสองเจ้าแห่งแบรนด์หรูเท่านั้น และหลังจากปี 2031 เราจะได้เห็นการเปิดฉากสงครามชิงหุ้น Hermès ครั้งใหม่หรือไม่ ?
1
แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ “เลือด ย่อมข้นกว่า น้ำ”
สงครามแย่งหุ้น Hermès ในครั้งนี้ จบลงด้วยชัยชนะ จากฝั่งทายาทในตระกูล ซึ่งเหตุผลหลัก ๆ ก็มาจากความเป็นปึกแผ่นที่ชัดเจนของเหล่าทายาท จนทำให้คนนอกยากที่จะแทรกเข้ามาได้
1
แม้ว่าเรื่องเหล่านี้อาจจะดูเป็นรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ
แต่รอยร้าวเพียงนิดเดียว ก็อาจนำไปสู่การแตกหักได้
อย่างในกรณีของ Gucci และ LVMH ที่คนในตระกูลผู้ก่อตั้ง ต่างแย่งชิงอำนาจ และความเป็นเจ้าของในกิจการ จนสุดท้ายก็ต้องจบลง โดยไม่มีสมาชิกครอบครัวคนไหนได้เป็นเจ้าของ
1
ส่วนคุณอาร์โนลต์ที่เป็นเจ้าของ LVMH คนปัจจุบัน ก็เข้ามาครอบครองกิจการนี้ได้ เพราะคนข้างใน แตกหักกันเอง..
สำหรับใครที่อยากอ่านเรื่อง “มหากาพย์รอยร้าวของตระกูล Gucci”
สามารถอ่านต่อได้ในบทความนี้
https://www.longtungirl.com/5379
2
ส่วนใครที่สงสัยว่า บริษัท Christian Dior กลายมาเป็นของคุณอาร์โนลต์ ได้อย่างไร ?
บทความนี้มีคำตอบ
https://www.longtungirl.com/4234
1
References:
-
https://www.ft.com/content/ce231e6c-337e-11e4-ba62-00144feabdc0
-
https://www.forbes.com/sites/susanadams/2014/09/11/hermes-and-lvmh-make-peace/?sh=6a9b1a316288
-
https://www.forbes.com/sites/susanadams/2014/08/20/inside-hermes-luxury-secret-empire/?sh=2eeba0e62ad2
-
https://www.thefineryreport.com/news/2020/11/30/what-went-down-between-lmvh-and-hermes
-
https://www.campdenfb.com/article/creation-hermes-holding-company-completed
-
https://www.reuters.com/article/uk-hermes-lvmh-lawsuit-idUKBRE95I0QK20130619
-
https://www.clearygottlieb.com/~/media/organize-archive/cgsh/files/publication-pdfs/know-your-shareholders-the-use-of-cash-settled-equity-derivatives-to-hide-corporate-ownership-interests.pdf
2
หุ้น
hermes
lvmh
66 บันทึก
65
80
66
65
80
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย