25 เม.ย. 2022 เวลา 08:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ศัพท์เฉพาะของชาวโปรแกรมเมอร์
เป็นการพูดถึงโฟลว์การทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ของโปรแกรมในแต่ละขั้นๆ เช่น งานคำนวณ, ประมวลผลข้อมูล, งานที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติ
เป็นชุดของโปรโตคอลและทูลที่ช่วยในการพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือพูดง่ายๆ คือชุดโค้ดสำเร็จรูปที่คอยสื่อสารระหว่างองค์ประกอบหลายๆ ส่วน อย่างเช่น API ที่ใช้คุยกับแพลตฟอร์มดังอย่างเฟซบุ๊ก, กูเกิ้ล, ฯลฯ
กับภาษาที่ต้องมีตัวแปล (Interpreted Language) บางภาษาต้องเขียนโค้ดในรูปแอพที่ใช้ไฟล์ไบนารี ซึ่งเมื่อรันแอพก็จะมีการตรวจสอบความผิดพลาดของโค้ดก่อนแปลงอยู่ในรูปที่พร้อมทำงาน เช่นภาษา C, C++, Java, Swiftส่วนบางภาษาก็ต้องมีตัวแปลโค้ดที่อยู่แยกต่างหากบนเครื่องที่รัน เช่น PHP, Python, JS
เป็นชุดคำสั่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์รู้ว่าต้องทำอะไรบ้างในแต่ละกรณี รวมไปถึงการทำให้โปรแกรมรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิด หรือการทำงานแบบไดนามิกได้ด้วยเงื่อนไขแบบ If – Else
มีลักษณะคล้ายตัวแปร สิ่งที่ต่างคือค่ามันคงที่ตลอดไม่ได้ผันแปรโดยทั่วไปแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ Compile-Time (กำหนดค่าแบบคงที่) และ Run-Time (กำหนดแบบไดนามิก)
แม้มือใหม่ทั้งหลายไม่ค่อยได้วางแผนร่างโค้ดไว้ก่อน แต่การร่างด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายก่อนแปลงเป็นโค้ดคำสั่งของภาษานั้นๆ ถือเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีในการเขียนโปรแกรม ส่วนใหญ่แล้วมักใช้ข้อความภาษาอังกฤษร่างเป็นบรรทัดๆ ไว้ให้ครอบคลุมตรรกะและจุดสำคัญของโปรแกรมทั้งหมดก่อน
เป็นรูปแบบของการจัดเรียงและจัดเก็บข้อมูลให้ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน เพื่อให้โปรแกรมสามารถเข้าถึงและนำมาใช้งานได้อย่างเหมาะสม เช่น การตั้งค่าให้ข้อมูลจัดเรียงในรูปของ Array, Record, Tree, List, Stack, Queue เป็นต้น
ทุกข้อมูลต้องการมีการกำหนดประเภทให้ตัวแปลงหรือตัวแปลภาษาเข้าใจ และจัดสรรหน่วยความจำได้อย่างเหมาะสม โดยทั่วไปแบ่งเป็น Int (Interger), Char (Character), Boolean (True หรือ False) เป็นต้น
เป็นการเขียนโค้ดลอยไว้เป็นหมวดหมู่อิสระ เพื่อเอาไว้เรียกใช้ในจุดต่างๆ ของโค้ดหลัก แทนที่จะเขียนโค้ดชุดนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ถือเป็นพื้นฐานของการเขียนโปรแกรมในลักษณะโมดูลที่โปรแกรมเมอร์ทุกคนควรปฏิบัติให้เป็นนิสัย
ถือเป็นหัวใจของชาวโปรแกรมเมอร์ทีเดียว นอกจากตัวแก้ไขโค้ดปกติแล้ว มักพ่วงมากับทูลที่ช่วยสร้างโค้ดแบบอัตโนมัติ และตัวแก้ไขบั๊กด้วย ส่วนฟีเจอร์ที่พบบ่อยและเป็นประโยชน์ก็เช่น การขึ้นออโต้คอมพลีทเวลาเขียนคำสั่งต่างๆ เป็นต้น
ใช้เมื่อต้องการให้โค้ดส่วนหนึ่งทำซ้ำตามจำนวนครั้งที่ต้องการ หรือเมื่อตรงตามเงื่อนไข แทนที่จะเขียนโค้ดบรรทัดเดิมๆ ซ้ำหลายๆ ครั้งให้เหนื่อย โดยมีหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น For … Loop, While … Loop, หรือ Do While … Loop เป็นต้น
การทำโค้ดให้อยู่ในรูปโมดูลย่อยๆ จะสามารถนำโค้ดแต่ละโมดูลมาเลือกใช้หลายๆ ครั้งได้ ซึ่งถือเป็นแนวทางการเขียนโค้ดที่ดี เพราะนอกจากจะสะดวกต่อการนำโค้ดเดิมมาใช้ใหม่แล้ว ยังสามารถแก้ไขโค้ดในโมดูลย่อยได้โดยลดความเสี่ยงที่จะกระทบส่วนอื่นของโค้ดด้วย อย่างการเขียนโปรแกรมแบบ Object-Oriented ก็ช่วยแบ่งงานหลักออกเป็นคลาสย่อยๆ ได้
ป็น “สิ่ง” ต่างๆ ที่จัดเก็บไว้ในหน่วยความจำสำหรับอ้างอิง ซึ่งสิ่งนั้นๆ เป็นได้ทั้งตัวแปร, โครงสร้างข้อมูล, หรือฟังก์ชั่นก็ได้ โดยในภาษาระดับสูงที่มีการแบ่งคลาสหลายคลาส จะมีการดึงอ๊อพเจ็กต์ขึ้นมาอยู่ในรูปของตัวแปรในแต่ละคลาสอย่างยืดหยุ่น เรียกว่าเป็นการเขียนโปรแกรมแบบอิงอ๊อพเจ็กต์หรือ Object-Oriented
เช่น กำหนดให้ใช้เฉพาะในแต่ละโค้ด(Local) หรือเปิดบังคับใช้แบบสากลทั่วทั้งโปรแกรมหรือ Globalซึ่งทำให้ใช้หน่วยความจำได้อย่างคุ้มค่า
เป็นตัวกลางที่ไปจับคู่กับข้อมูลที่ต้องการหรือ Identifier แล้วเก็บไว้ในหน่วยความจำ โดยกำหนดให้เป็นได้หลายประเภททั้งตัวเลข (Integer), ข้อความ (String), Character, Array, Object เป็นต้น ถือเป็นรากฐานของทุกโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์เนื่องจากเป็นกุญแจสู่การรับค่าที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ หรือการทำงานแบบไดนามิก
เมื่อรู้ศัพท์เริ่มต้นกันแล้ว มาต่อยอดความรู้เหล่านี้กัน สนใจติดต่อ
หรือโทร
065-4919415 อาจารย์นก
089-8475156 คุณแพนด้า
080-4499751 คุณเตเต้
ได้ตลอด 24 ชั่วโมงเลยครับ
#eqgroup #CodingCamp #Python #SummerCamp # รับจัดค่าย #รับสอนออนไลน์ #รับสอนAi #รับสอนโค้ดดิ้ง #รับสอนCoding #รับสอนPython #รับสอนตัวต่อตัว #PrivateClass #VIPClass #สอนเขียนโค้ด #eqgroup #รับจัดค่ายภาษาอังกฤษ #ค่ายภาษาอังกฤษ #English Camp #ค่ายภาษา #ภาษาอังกฤษ #ค่ายอังกฤษ #รับจัดค่ายเชียงใหม่ #รับจัดค่าย #รับจัดค่ายภาคเหนือ #รับจัดค่ายภาษาอังกฤษภาคเหนือ #รับจัดค่ายภาษาอังกฤษเชียงใหม่
โฆษณา