22 เม.ย. 2022 เวลา 08:18 • หุ้น & เศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจด้วยBCG (Bio-Circular-Green Economy)☘️🪵
เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ เศรษฐกิจสีเขียว(Bio-Circular-Green Economy) เป็นโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน อธิบายแนวคิดการนําวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-curves) คือ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร, อุตสาหกรรมพลังงานและวัสดุ, อุตสาหกรรม สุขภาพการแพทย์และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และบริการ ซึ่งวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแก่ผู้ผลิต เช่น เกษตรกรและชุมชน
1
สนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการท่ีมีมูลค่าเพิ่มสูงรวมไปถึงนวัตกรรมนอกจากนี้ยังสนับสนุนการพัฒนาที่ สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์และมีกระบวนการ ผลิตที่ทําให้เกิดของเสียน้อยที่สุด (Eco-design & Zero-Waste) ส่งเสริมการใช้ซ้ำ(Reuse, Refurbish, Sharing) และให้ความสําคัญกับการ จัดการของเสียจากการผลิตและบริโภค โดยนําวัตถุดิบที่ผ่านการผลิตและบริโภคแล้วเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพเพื่อกลับมาใช้ใหม่ (Recycle, Up cycle)
ความสําคัญของBCG
BCG เป็นแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ ได้แก่ การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน การรับมือการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การอนุรักษ์ความ หลากหลาย ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การลดความเหลื่อมล้ำและยังสอดคล้องกับ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักสําคัญใน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
การพัฒนาเศรษฐกิจด้วยBCG Model ส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไร??
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคม
ในอนาคตอีก5ปี BCG จะเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศท่ีสามารถสร้างมูลค่าประมาณ 4.4 ล้านล้านบาท (24% GDP) และมีการจ้างงาน 16.5 ล้านคน
Value creation เป็นการสร้างความมั่งคั่ง รวมไปถึงการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ส่งผลให้ประเทศมีเศรษฐกิจที่เติบโตแบบมี ประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสทางการค้าในเวทีโลก เห็นได้จากมูลค่าเศรษฐกิจ BCG เพิ่มขึ้นจาก 3.4 ล้านล้านบาทในปี2562 เป็น 4.4 ล้านล้านบาทใน ปี2565
การจ้างงานรายได้สูงขึ้น สามารถสร้างงาน ใหม่ได้ในอุตสาหกรรม BCG เกิดตําแหน่งงาน รายได้สูง อีกทั้งยังสามารถช่วยเพิ่มระดับรายได้ของแรงงาน
เกิดการจ้างงานกลุ่ม Highly-skill talents and Innovative entrepreneurs มีงานรายได้สูง 10 ล้านตําแหน่งภายในระยะเวลา 10 ปีเกิด Startupเก่ียวกับ BCG 10,000 ราย
สามารถลดความเหลื่อมล้ำ ช่วยเพิ่มรายได้แก่คนในชุมชนด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนนําศักยภาพที่ถนัดออกมาใช้ให้เกิด ประโยชน์เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 240,000 บาท/ครัวเรือน/ปี มีดัชนีความมั่นคงอาหารไทยติด Top 5 ของโลก และมีการเข้าถึงยาชีววัตถุอย่างน้อย 300,000 คน ต่อปีภายใน 5 ปี
เกิดความมั่นคงในทรัพยากรธรรมชาติ มีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรไปจนถึงห่วงโซ่คุณค่าช่วยลดปริมาณของเสีย และช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดแสดงถึงการลด การใช้ทรัพยากรลง 2 ใน 3 ในปัจจุบันปริมาณขยะลดลง 16.5 ล้านตันและด้านการจัดการท่องเที่ยวติด Top 3 ของเอเชียแปซิฟิก
สรุป คือ BCG เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมที่ พัฒนา3 มิติไปพร้อมกัน คือ เศรษฐกิจชีวภาพ( BioEconomy)มุ่งไปสู่การใช้ทรัพยากรชีวภาพในการสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยให้ความสําคัญกับการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เช่ือมกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)มุ่งนึกถึงการนําวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากท่ีสุด อีกทั้ง 2 เศรษฐกิจยังอยู่ภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) คือ การพัฒนาเศรษฐกิจที่พัฒนา ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมให้สมดุลเพื่อให้เกิดความมั่นคงและ ยั่งยืน โดยเปลี่ยนข้อได้เปรียบท่ีไทยได้รับจากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม เป็นความสามารถในการแข่งขันด้วยนวัตกรรมเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจ BCG ที่สามารถแข่งขันในระดับโลกเกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำเป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อมและเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
References:
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล. (2564). เศรษฐกิจ BCG แนวทางการพัฒนาขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างยั่งยืน. เข้าถึงได้จาก. https://www.stsbeijing.org/contents/16588
ทสพร ฐานะตระกูล. (2020). ทําความรู้จัก ‘BCG Economy’ โมเดลใหม` เศรษฐกิจไทย. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/busines s/859943
ฝ่ายสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร. (2019). โมเดล เศรษฐกิจใหม่ BCG. เข้าถึงได้จาก https://www.bcg.in.th/bcg-by-nstda/
ฤทัย อ่อนพุทธา. (2020). โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy). เข้าถึงได้จาก https://www.nstda- tiis.or.th/methodology_developm/bcg- economy/
สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ. (2020). BCG Economy Model คือ อะไร. เข้าถึงได้จาก https://www.nstda.or.th/home/knowledge _post/what-is-bcg-economy-model/
สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2019). โมเดลเศรษฐกิจ บีซีจี.เข้าถึงได้จาก https://www.nxpo.or.th/th/bcg-economy/
โฆษณา