Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เปิดตำนานเรื่องผี
•
ติดตาม
22 เม.ย. 2022 เวลา 13:09 • การศึกษา
ประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็ง
คือประเพณีการฟ้อนผีของชาวล้านนา คล้ายกับการลงผี(เข้าทรง)ผีเจ้าพ่อของท้องถิ่นอื่น นิยมเรียกกันว่า "ฟ้อนผีมด-ผีเม็ง" ประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็ง เป็นการฟ้อนรำเพื่อสังเวยผีบรรพบุรุษ ซึ่งชาวล้านนา(ชาวบ้านในท้องถิ่นภาคเหนือ)นับถือกัน เป็นพระเพณีเก่าแก่ที่สันนิษฐานกันว่ารับมาจากชาวมอญ เพราะคำว่า "เม็ง" ภาษาล้านนาหมายถึงชาวมอญ การแต่งกายของผู้เข้าร่วมพิธีก็จะคล้ายกับชาวมอญ [1] ประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็งนี้ จะจัดกันภายในสายตระกูล ตามคติความเชื่อของชาวล้านนา คนเราจะมีผีบรรพบุรุษ (บางครั้งเรียก ผีปู่ย่า หรือ เจ้าปู่เจ้าย่า) ซึ่งหมายถึงผีปู่ย่าตายายญาติผู้ใหญ่ในวงศ์ตระกูลที่เสียชีวิตไปแล้ว ยังคอยปกป้องรักษา
คุ้มครองลูกหลานในวงศ์ตระกูล ความหมายในอีกแง่หนึ่ง "ผีมด" หมายถึงผีระดับชาวบ้าน สืบเชื้อสายจากชาวไทใหญ่ ส่วนผีเม็ง หมายถึงผีระดับแม่ทัพนายกอง สืบเชื้อสายจากชาวมอญ [2] ลูกหลานจะทำที่สถิตย์ของผีบรรพบุรุษที่เรียกว่า "หอผี" ไว้
ทางทิศหัวนอนของบ้านผู้เป็น"เก๊าผี" หมายถึงผู้หญิงที่เป็นใหญ่ที่สุดในวงศ์ตระกูล ด้วยเหตุนี้เมื่อถึงเวลาอันสมควร ก็จะต้องจัดพิธีเพื่อสังเวยผีบรรพบุรุษ อาจจะจัดเป็นรอบทุกๆ2ปีหรือ3ปีแล้วแต่จะกำหนด อาจารย์อุษามณี อภิชยากุล นายกสมาคมช่างฟ้อนได้สืบสานและร่วมอนุรักษ์ความเชื่อบรรพชน โดยจัดตั้งมูลนิธิขึ้น
ช่วงเวลาในการจัดประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็ง
ประเพณีฟ้อนผีมด-ผีเม็งนิยมทำกันในช่วงเดือน5เหนือ(เดือน3ของภาคกลาง)หรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ไปจนย่างเข้าฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวบ้านเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วและยังว่าง เหมาะที่ญาติพี่น้องจะมารวมตัวพบปะกันเพื่อช่วยกันจัดเตรียมงาน และถือโอกาสสังสรรค์เป็นงานรวมญาติของคนในสายตระกูลไปด้วยในตัว
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย