23 เม.ย. 2022 เวลา 02:39 • การศึกษา
พยานที่ให้การปรักปรำจำเลยสามารถรับฟังลงโทษได้หรือไม่?
สวัสดีครับหมอความใจดีกลับมาพบกับเพื่อนๆ กันอีกแล้ว สำหรับวันนี้จะขอนำกฎหมายว่าด้วยการรับฟังพยานของศาล
ในคดีอาญามีพยายฝนอะไรบ้าง ที่จะสามารถรับฟังและลงโทษจำเลยผู้กระทำความผิดได้
โดยหลักพยานหลักฐานใดก็ตามที่สามารถพิสูจน์ความผิดของจำเลยหรือพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิด สามารถที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้ในชั้นพิจารณาคดีของศาลครับ
แต่พยานหลักฐานจะต้องมาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น เช่น ไม่ได้มาจากการข่มขู่ หลอกลวง จูงใจ สมยอม ฯลฯ การรับฟังพยานเป็นหน้าที่ของศาลในการชั่งน้ำหนักของพยานว่าจะมีความน่าเชื่อมากน้อยเพียงใดในการลงโทษจำเลยครับ
สำหรับคดีที่กำลังโด่งดังเป็นข่าวเกี่ยวกับรองหัวหน้าพรรคได่ไปล่วงละเมิดทางเพศ
ผู้หญิงหลายคนนั้น ผมรู้สึกสะเทือนใจ
เป็นอย่างมากที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนี้
ในประเทศที่นับถือศาสนาพุทธอย่างประเทศของไทยเรา
แต่เรื่องดังกล่าวนี้ในฐานะเราเป็นนักกฎหมายการกล่าวอ้างอะไรก็ตามจะต้อง
มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยได้ การที่จะอ้างพยานอื่นที่เป็นผู้เสียหายด้วยกันมาเบิกความเป็นพยานให้กับผู้เสียหายอีกคดีหนึ่งนั้น น้ำหนักพยานรับฟังได้หรือไม่ คำถามมีอยู่ว่า ผู้เสียหายกับจำเลย
มีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยหรือไม่?
เมื่อมีการแจ้งความดำเนินคดีกับจำเลย แน่นอนทางผู้เสียหายย่อมต้องเบิกความไปในทำนองที่จะให้จำเลยเป็นผู้กระทำความผิดอยู่แล้ว นอกจากนี้ในคดีอื่นๆ ที่ได้แจ้งความไว้ศาลก็ยังไม่ไดัมีคำพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด จึงทำให้คำเบิกความของพยานมีน้ำหนักน้อยตามไปด้วย
มีหลายคดีที่ไม่มีประจักษ์พยาน(พยานที่รู้เห็นการกระทำความผิด)ได้มีการนำจำเลยในคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้วมาเป็นพยานยืนยันจำเลยในคดีที่ศาลกำลังพิจารณาศาลก็รับฟังเป็นพยานลงโทษจำเลยได้เช่นเดียวกันโดยศาลให้เหตุผลน่ารับฟังว่าจำเลยถูกศาลพิพากษาลงโทษและรับโทษไปแล้วจึงเชื่อว่าได้เบิกความไปตามความจริงสามารถรับฟังถัอยคำพยานประกอบกับพยานแวดล้อมอื่นๆลงโทษจำเลยได้
หมอความใจดีขอเป็นกำลังใจให้ผู้เสียหายทุกคนให้ต่อสู้จนได้รับความเป็นธรรมด้วยกันทุกคนนะครับ
โฆษณา