23 เม.ย. 2022 เวลา 09:45 • สัตว์เลี้ยง
สัตว์โลกน่ารัก ‘ตัวกินมดหนาม’
ชวนมารู้จักกับ ‘อีคิดนา’ หรือ ‘ตัวกินมดหนาม’ สัตว์พื้นถิ่นของออสเตรเลียและปาปัวนิวกินี มีลักษณะคล้ายเม่นตัวเล็กไร้ฟัน เป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงสองชนิดที่ออกลูกเป็นไข่
อีคิดนา (Echidna) หรือตัวกินมดหนาม เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่พบได้ในออสเตรเลียและปาปัวนิวกินีเท่านั้น พวกมันมีลักษณะคล้ายเม่นตัวเล็ก ๆ มีขนหนามปกคลุมทั่วทั้งตัว มีจมูกเรียวยาว ไม่มีฟัน และมีอุ้งเล็บเท้าขนาดใหญ่ไว้ขุดหาอาหาร โดยพวกมันจะใช้ลิ้นที่มีน้ำลายเหนียวกวาดกินมดและแมลงอื่น ๆ
ปัจจุบัน มีอีคิดนาหลงเหลืออยู่เพียง 4 สายพันธุ์เท่านั้น พวกมันถูกแบ่งออกเป็นสองสกุลด้วยกัน ได้แก่ สกุล Zaglossus หรืออีคิดนาจมูกยาว ซึ่งเป็นสกุลของ ตัวตุ่นปากยาวของตะวันตก, ตัวตุ่นปากยาวของเซอร์เดวิด และตัวตุ่นปากยาวของเซอร์เดวิดซึ่งถูกพบได้ในปาปัวนิกินีทั้งหมด
อีกสกุลหนึ่งคือ สกุล Tachyglossus หรืออีคิดนาจมูกสั้น มีสปีชีส์เดียวคือ ตัวตุ่นปากสั้น ซึ่งพบได้ทั้งในออสเตรเลียและบางส่วนของปาปัวนิวกินี อีคิดนาในสกุลนี้มีจมูกสั้นกว่าอีคิดนาสกุลซากลอสซัสมากและอีคิดนาจมูกสั้นในแทสเมเนียนั้น มีขนยาวจนแทบจะปกคลุมขนหนามของมันไปหมด
ความจริงแล้วอีคิดนามีบรรพบุรุษร่วมกับตุ่นปากเป็ด (platypus) อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน อีคิดนาและตุ่นปากเป็ดเป็นสิ่งมีชีวิตในอันดับ โมโนทรีม(monotremata) หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออกลูกเป็นไข่ เพียงสองชนิดที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยปกติแล้ว อีคิดนาจะวางไข่เพียงหนึ่งฟองต่อปี และจะเก็บไข่ไว้ในกระเป๋าหน้าท้องพิเศษจนกว่าจะฟัก เป็นลูกอีคิดนาที่มีชื่อเรียกว่า ‘puggles’
สำหรับสถานะการอนุรักษ์ อีคิดนาจมูกยาวกว่าสองสายพันธุ์ถูกจัดให้เป็น สิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤต (critically endangered) และอีกหนึ่งสายพันธุ์มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable) เพราะว่าในป่าปาปัวนิวกินีพวกมันกำลังถูกคุกคามอย่างหนัก โดยการล่าและการขยายพื้นที่ทำฟาร์ม
โฆษณา