23 เม.ย. 2022 เวลา 14:53 • การศึกษา
ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อแรงงานในภาคอุตสาหกรรมไทย
2
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลกรวมไปถึงประเทศไทยก็ได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์นี้เช่นกัน รัฐบาลจึงประกาศมาตรการต่างๆ เช่น มาตรการล็อกดาวน์ ส่งให้ ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยได้รับผลกระทบดังนี้
ในปี 2564 ภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่า 10,734.76 พันล้านบาท โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ คือ 32,359.65 พันล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ภาคอุตสาหกรรมนั้นมีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างมากถึงร้อยละ 32.1
ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในสัดส่วนค่อนข้างสูง และภาคอุตสาหกรรม ย้อนหลัง 5 ปีนั้น (ปี 2560 - 2564) จะเห็นได้ว่า ปี 2563 ที่ประเทศไทยประสบปัญหาสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 นั้น ภาคอุตสาหกรรมนั้นมีรายได้ลดลงจาก ปี 2562 มากถึง 957.24 พันล้านบาท ซึ่งถือเป็นเม็ดเงินจำนวนค่อนข้างมาก และใน ปี 2564 ก็ฟื้นตัวขึ้นมา แต่ยังไม่มาก เท่าก่อนเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
การที่ภาคอุตสาหกรรมนั้นประสบปัญหา ย่อมส่งผลให้แรงงานหรือลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรม ลดลงเช่นเดียวกัน หรือ การที่ประเทศไทยมีอัตราการว่างงานที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ที่มี จำนวนแรงงานประมาณ 9,100,000-9,200,000 คนต่อปี แต่เมื่อภาคอุตสาหกรรมประสบสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้มีแรงงานภาคอุตสาหกรรมลดลงใน ปี 2563 จาก ปี 2562 ที่มีแรงงาน 9,211,224 คน เหลือเพียง 9,041,786 คน ซึ่งปี 2563 น้อยกว่า ปี 2562 ถึง 169438 คน และในปี 2564 นั้น มีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม น้อยกว่าปี 2563 ถึง 87,503 คน ซึ่งจะเห็นได้ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อโควิด-19 นั้นส่งผลต่อแรงงานในภาคอุตสาหกรรมลดลงนั่นเอง
นโยบายของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการให้เงินอุดหนุนค่าจ้างเพื่อให้บริษัทในพื้นที่และธุรกิจที่ได้รับ ผลกระทบยังคงรักษาการจ้างลูกจ้างไว้ นั้นไม่ได้ส่งผลที่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากว่าภาคอุตสาหกรรมนั้นยังมี จำนวนแรงงานที่ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งถือเป็นนโยบายของทางภาครัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
สำหรับนโยบายของภาครัฐในเรื่อง การสนับสนุนในการพัฒนาทักษะแรงงานและให้ธุรกิจเกิดการ เปลี่ยนแปลงไปในทางดิจิทัลมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการผลิตสินค้าและบริการนั้นต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพที่ดีมากขึ้น ลดต้นทุนการผลิต ดังนั้นการที่พัฒนาทักษะของแรงงาน เพื่อที่จะให้ทันการเติบโตของเทคโนโลยีช่วยให้แรงงานมีความพร้อมที่จะเติบโตในในการใช้ทักษะใหม่ๆ ไม่หยุดพัฒนา ทำให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยพัฒนาต่อไป
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน หรือสัดส่วนของประชากรที่เป็นผู้ใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน โดยนำมาประยุกต์เพื่อหาจานวนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของ เชื้อโควิด-19 นั้นได้กระทบกับแรงงานภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสามารถสังเกตได้จากจานวนแรงงานใน ภาคอุตสาหกรรมนั้นมีจานวนที่น้อยลง
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ด้านการผลิต หรือ GDP (Gross Domestic Product) ซึ่ง ประกอบไปด้วย ภาคบริการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตร เมื่อกาหนดให้ ภาคบริการ ภาคเกษตร มี ค่าคงที่ จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ด้านการผลิต ในปี 2564 นั้นสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า ภาคอุตสาหกรรมนั้นส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศถึง ร้อยละ 32.1 หรือ 10,734.76 พันล้านบาท
ทฤษฏี S-curve โดยการผลิตสินค้าหรือบริการต่างๆ ย่อมมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ซึ่ง จะมีวงจรชีวิตของนวัตกรรม (Innovation Lifecycle) ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยกราฟเส้นโค้งรูปตัวเอส
S-curve เป็นกราฟที่แสดงการเติบโตของเทคโนโลยี ที่ใช้อธิบายถึงประสิทธิภาพและความประหยัด ต้นทุนของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาที่ผ่านไป โดยจะมี 3 ระยะดังนี้
1.ระยะที่1 คือระยะที่เทคโนโลยีพึ่งถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ ยังคงต้องปรับปรุงประสิทธิภาพ ซึ่งต้องใช้ทั้ง เงินลงทุนและเวลา
2.ระยะที่2 คือระยะที่มีการพัฒนาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3.ระยะที่3 คือระยะทีเทคโนโลยีเริ่มมีการอิ่มตัว ดังนั้นองค์การหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้อง แสวงหานวัตกรรมใหม่ เทคโนโลยีใหม่ หรือ เส้น S-curve ใหม่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อไป ไม่เช่นนั้นองค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะล้าหลังและหยุดนิ่งไปในที่สุด
✨✨บทสรุป✨✨
จากเนื้อหาข้างต้นทำให้เห็นว่านอกจากภาคบริการ ก็ยังมีภาคอุตสาหกรรมซึ่งค่อนข้างมี ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศด้านการผลิตหรือGDP (Gross Domestic Product) และภาคอุตสาหกรรมนั้นแรงงานจำนวนค่อนข้างมาก ซึ่งสามารถนำมาเชื่อมโยงกับ ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ได้ อีกทั้งนโยบายภาครัฐถ้าหากนำมาใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพจะส่งผล ให้ไม่เกิดผลประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมเลย
โฆษณา