23 เม.ย. 2022 เวลา 16:41 • ความคิดเห็น
Covert Narcissist หรือ Hypersensitive Narcissist
Narcissist เปรียบเหมือน Sprectrum ในระดับความเข้มของอาการที่เป็นมากน้อยไม่เท่ากัน
"People with covert narcissism also rely on others to build up their self-esteem, but instead of talking themselves up, they tend to put themselves down.
There are two major reasons for this:
1. Fear of failure or exposure may contribute to anxiety.
2. Frustration over idealized expectations not matching up with real life, and the inability to get needed appreciation from others, can trigger feelings of resentment and depression.
Keyword : ของการสังเกต คนกลุ่มนี้คือ Humblebrag/ Silent treatment/ Gaslighting/ Blame-shifting/ ทำตัวเองเป็นเหยื่อเก่ง/ ดูเป็นคนดี/ การให้คือ ให้เมื่อรู้จะได้อะไรกลับไป/ High Sensitivity
ในความเป็นจริง ความเป็น narcissist อาจมาในภาพลักษณ์ของบุคคลที่น่าเลื่อมใส น่าเคารพนับถือ ดูดี หรืออีกแบบคือ อ่อนน้อม เก็บตัว ไม่ค่อยพูด ดูไม่มีพิษมีภัยอะไรกับใคร ในหนังสือ “Rethinking Narcissism” ของ Craig Malkin บอกว่า narcissist บางคนดูเหมือนมีนิสัยชอบช่วยเหลือผู้อื่นหรือเสียสละด้วยซ้ำ
อีกแบบที่ตรงกันข้ามคือ “vulnerable” ซึ่งเป็น narcissist แบบเก็บกด มีบุคลิกภาพที่ซับซ้อน ไม่ค่อยเชื่อมั่นในตนเอง แต่ในขณะเดียวกันก็คิดว่า ตนเองเหนือกว่าคนอื่น ทำให้พอเจออุปสรรคท้าทาย vulnerable narcissist ก็มักถอยหนี และตามมาด้วยข้อแก้ตัวอยู่เสมอ พวกเขามีความอ่อนไหวสูงต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ ขี้อาย ไม่แสดงออก หลบหลีกสังคม หันหลังให้กับความท้าทาย ปกปิดความรู้สึก เราจะไม่ค่อยเห็น vulnerable narcissist ในโลกโซเชียล
Vulnerable narcissist นั้นมองเห็นยาก และมีชีวิตที่เศร้ากว่า grandiose มาก เพราะอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งในใจตลอดเวลา ใจหนึ่งคิดว่าตนเองเก่ง สวย หล่อ อีกใจหนึ่งก็ไม่กล้าใช้คุณสมบัติที่ตนคิดว่ามี
📌 เพราะกลัวจะพบว่า “ที่คิดว่าดีนั้น ไม่ดีจริง” จึงพยายามอุทิศทั้งชีวิตให้กับการหลีกเลี่ยงปัญหาและความท้าทายอยู่ตลอดเวลา และนั่นทำให้ vulnerable narcissisit เป็นคนก้าวร้าวแบบดื้อเงียบ แบบ passsive-agressive  ทำนองว่า “อะไรๆก็ไม่เอา”
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม สิ่งที่เหมือนกันของ narcissist คือ “ต้องชนะให้ได้” เพราะพวกเขาถือว่าตนเก่งเหนือกว่าคนอื่น  มีการทดสอบความสามารถทางด้านสติปัญญาต่างๆ โดย Fugelsang และ Risko กับ narcissist พบว่า narcissist จะเชื่อมั่นในตนเองเกินความจริงอยู่เสมอ
และนี่คือจุดอันตราย เพราะในแง่ game theory แล้ว คนที่เชื่อมั่นว่าตนเองเหนือกว่า จะเล่นเกมเพื่อเอาชนะ ไม่ยอมร่วมมือ ไม่ยอมประนีประนอม เพราะการเอาชนะทำให้เขาได้ประโยชน์สูงสุด และได้มาไม่ยาก
นั่นหมายความว่า หากใครต้องทำงาน มีกิจกรรมใดๆ หรือมีชีวิตร่วมกับ narcissist แล้วละก็ จะต้องพบกับการถูกเอาชนะเสมอ ทุกอย่างเป็น zero-sum game ไม่ค่อยมีตรงกลาง
📌หากเมื่อใด narcissist แพ้ ก็จะ “เอาคืน” ในรูปแบบใดแบบหนึ่ง มิเช่นนั้นแล้วความแพ้ก็จะรบกวนใจเขาอยู่อย่างนั้น
ที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะเป็นการเอาชนะรอบแรกหรือเอาคืนรอบหลัง narcissist ไม่ค่อยคำนึงถึงผลที่ตามมาในระยะยาวเท่าไหร่ เพราะสิ่งที่เขาต้องการอย่างยิ่งคือ “ชนะให้ได้” หรือ to win at all cost
📌ส่วน narcissist เอง ก็ควรหาทางปรับเปลี่ยนตัวเอง เพราะจากงานศึกษาที่มีชื่อเสียงโดย Delroy Paulhus ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน “dark personalities” สรุปว่า  ไม่ว่าจะเริ่มต้นดูดีอย่างไรก็ตาม narcissist ก็จะจบลงด้วยการหมดความยอมรับนับถือไปในที่สุด และต้องหันไปหาคนกลุ่มใหม่ที่ยังไม่รู้จัก เพื่อเริ่มบทบาทใหม่ พอหมดสภาพก็ย้ายกลุ่ม เป็นวงจรดังนี้ไปเรื่อยๆตลอดชีวิต
Reference:
2. เรื่องของคน Narcissist : สุรพร เกิดสว่าง 9 ก.ย.2562
โฆษณา