Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
phương Mỹ Chi
•
ติดตาม
24 เม.ย. 2022 เวลา 09:57 • ประวัติศาสตร์
ในฐานะชาวพุทธ เราควรเก็บความลับ 3 อย่างไว้ตลอดเวลา :
ซ่อนคุณธรรมของเรา
ซ่อนความผิดของผู้อื่น
ซ่อนแผนการในอนาคต
"ซ่อนคุณธรรมของเรา"
ตามคำสอนของศาสนาพุทธ แม้ว่าเราจะมีคุณธรรมที่มากมายเกินหยั่ง เช่น การรักษาศีลบริสุทธิ์ มีปัญญา การทำสมาธิ และคุณธรรมอื่นๆ ที่นึกไม่ถึง เราไม่สามารถประกาศต่อหน้าผู้อื่นได้และต้องเก็บเป็นความลับ
1
หากเราประกาศคุณธรรมและความดีของตัวเองล้วนแต่จะเป็นการแสดงความเห็นแก่ตัวอันเป็นกิเลสพิษทั้งห้าประการ และคนอื่นๆ อาจไม่เชื่อถือในตัวเราเสมอไป แต่จะเกิดความคิดไปต่างๆ นานา
ก่อนจะยกระดับตนเองได้ บุญที่แท้จริงบางอย่างก็จะลดลงลงไปเนื่องจากการโอ้อวด เพราะฉะนั้น ปราชญ์จะไม่ประกาศคุณธรรมความดีงามของตน
อย่างไรก็ตาม คนในสมัยสิ้นธรรม (คือสมัยนี้) มักชอบอวดว่าตนได้ตรัสรู้แล้ว ได้บรรลุบุญ มีอำนาจเหนือธรรมชาติ เป็นพระพุทธเจ้าที่ยังมีชีวิต ฯลฯ เพื่อจะได้สนองความโลภของตน
อย่างไรก็ตาม พระอาจารย์จิกเม พุนชก (Jigme Phuntsok) ยังกล่าวอีกว่า เพื่อที่จะรับศิษย์ และตัดทอนความเห็นผิด ๆ ของศิษย์ พระภิกษุผู้สูงส่งและทรงคุณธรรมยิ่งใหญ่บางท่านก็กล่าวจะถึงคุณธรรมความยิ่งใหญ่ของตนบ้างเป็นครั้งคราว เช่น ภูมิธรรมภายในของเราอยู่ในสถานะใดในขณะนี้
แต่คนฉลาดมักสังเกตความผิดของตนเอง ดังที่ "สมบัติแห่งคำพังเพย" กล่าวว่า: " นักบุญสังเกตความผิดของเขาเอง ผู้ด้อยกว่าสังเกตข้อบกพร่องของผู้อื่น นกยูงสังเกตร่างกายของมันเอง และนกเค้าแมวบอกลางร้ายแก่ผู้คน"
“ซ่อนความผิดของผู้อื่น”
ปกติเราไม่พูดถึงความผิดของคนอื่นเพราะเราเป็นคนธรรมดาและก็ไม่ได้บริสุทธิ์ไร้มลทิน หลายครั้งที่เราไม่ชอบคนอื่น และเรารู้สึกดีกับตัวเองเสมอ เหมือนกับที่ชาวทิเบตพูดว่า: “เห็นเหาบนใบหน้าคนอื่น แต่ไม่เห็นจามรีของตัวเอง“ (ความผิดคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดตัวเราเท่าเส้นผม -ผู้แปล) นี่หมายความว่าเราไม่ได้ฝึกฝนอย่างดีพอ
1
ผู้มีคุณธรรมมากมายกล่าวว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าเห็นล้วนเป็นพระพุทธเจ้า สิ่งที่พระโพธิสัตว์เห็นล้วนเป็นพระโพธิสัตว์ และสิ่งที่คนธรรมดาเห็นล้วนเป็นคนธรรมดา
มีเคนโป (มหาเปรียญของทิเบต) ในวิทยาลัยของเรา ไม่ว่าเขาเห็นคนอื่นทำอะไร เขามักจะพูดว่า: "อย่าพูด อย่าพูด มันอาจจะมีลับลมคมในก็ได้ อย่าไปมองว่าเขาผิด"
เพราะบางครั้งเราไม่รู้จักคนอื่นดีพอ และเรารู้เพียงสิ่งเดียวเท่านั้นและไม่รู้อีกสิ่งหนึ่ง
การกล่าวว่าความผิดของคนอื่นไม่เป็นประโยชน์ต่อเรา มีศีลโดยละเอียดเกี่ยวกับคำปฏิญาณของพระภิกษุและคำปฏิญาณของพระโพธิสัตว์ ใน “สามสิบเจ็ดกวีนิพนธ์พระพุทธบุตร” ยังกล่าวอีกว่า “การกล่าวถึงการประพฤติของพระโพธิสัตว์ผู้อื่นด้วยความสับสนจะทำลายบุญคุณความดีของตนเอง ดังนั้นในหมู่ปราชญ์มหายานจึงไม่กล่าวว่าตนได้สูญเสียความประพฤติของบุตรพระพุทธเจ้า"
เราผู้ปฏิบัติธรรมไม่ควรเป็นเหมือนคนในโลกที่ชอบพูดเกินจริงและเอาเปรียบคนอื่นเสมอ ผู้ทรงคุณธรรมที่ยิ่งใหญ่มากมายมักจะทำสิ่งที่ธรรมดาสามัญที่สุดก่อนที่จะเริ่มเผยแพร่ธรรมะและพวกท่านก็ปฏิบัติโดยไม่ให้ใครรู้ ดังนั้นคนธรรมดาทั่วไปแล้วโดยบนผิวเผินก็ไม่สามารถเห็นประจักษ์ซึ่งหลักฐานภายในและข้อดีของผู้อื่นได้
การยกย่องตัวเองเสมอ คนอื่นก็จะไม่เคารพเรา เป็นการยากที่จะกล่าวว่าสิ่งที่เรากล่าวดูหมิ่นนั้นเป็นนิรมาณกายของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ หรือไม่ เพราะพระโพธิสัตว์หลายองค์จำแลงกายเป็นผู้หญิงโสเภณีและนายพรานเพื่อกอบกู้สรรพสัตว์ เราจึงควรสังเกตด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์อยู่เสมอ
มีคำกล่าวที่โด่งดังในโลกนี้ว่า การพูดถึงความผิดของผู้อื่นเป็นความผิดต่อตัวเอง
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปกปิดความผิดของผู้อื่นไม่ว่าจะในแง่เพื่อตนเองหรือเห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น
"ซ่อนแผนการในอนาคต"
เราต้องเก็บแผนการในอนาคตของเราไว้เป็นความลับ และอย่าบอกคนอื่นเกี่ยวกับแผนการในอนาคตของเรา บางครั้งถึงจะเป็นความคิดฝันเรื่องเกี่ยวกับการสร้างอาราม การรับศิษย์ การสอนธรรมะ ฯลฯ ไม่คุ้มค่าที่ได้ทำลงไป
โดยทั่วไป ก่อนที่แผนจริงจะเกิดขึ้น มันจะทำให้เกิดการละเมิด ดังนั้นจึงไม่ควรเปิดเผย
ยิ่งกว่านั้น ผู้ปฏิบัติอย่างเราสามารถมีแผนสำหรับการฝึกฝนธรรมะได้ แต่เราไม่สามารถวางแผนมากเกินไปเกี่ยวกับกฎของโลกได้ เพราะทุกสิ่งในโลกนั้นไม่เที่ยง และแผนไม่สามารถตามให้ทันการเปลี่ยนแปลงได้
เช่นเดียวกับปราชญ์ของเรา ท่านอาจารย์จิกเม พุนชก ท่านไม่พูดอะไรเมื่อท่านไม่มีความมั่นใจแปดสิบหรือเก้าสิบเปอร์เซ็นต์
ดังนั้นเราควรเรียนรู้จากการกระทำของปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่และซ่อนแผนการทั้งหลายสำหรับอนาคต
อย่าพูดลวกๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ยังทำไม่เสร็จ สิ่งที่วางแผนไว้ หรือสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ พูดตรงๆ ถือเป็นข้อห้าม และถ้าพูดไปจะทำให้เดือดร้อน
**คำสอนของท่านเคนโป โซดาร์กเย (Khenpo Sodargye) หนึ่งในปรมาจารย์ทางพุทธศาสนาร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ท่านเป็นลามะทิเบต และนักคิดทางพุทธศาสนายุคใหม่ที่โด่งดังไปทั่วเอเชียและตะวันตกด้วยความสนใจในการผสมผสานคำสอนทางพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมเข้ากับประเด็นต่างๆ ทั่วโลกและชีวิตสมัยใหม่
ภาพ - เจ้าอาวาสและพระธรรมทายาท ศิลปะทิเบตตะวันตก ศตวรรษที่ 14 หรือก่อนหน้านั้น อยู่ที่ Los Angeles County Museum of Art
ประวัติศาสตร์
6 บันทึก
12
5
6
12
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย