30 เม.ย. 2022 เวลา 07:16 • สุขภาพ
เคยสงสัยไหมว่า "สารต้านอนุมุลอิสระ" (anti-oxidant) หน้าตาเป็นอย่างไร? แล้ว "อนุมูลอิสระ" คืออะไร? ทำไมต้องมีสารมาต้าน?
สารต้านอนุมูลอิสระ คือ หน้าตาเป็นอย่างไร?
  • สำหรับผู้ที่ลืมวิชาเคมีมาแล้ว ทำความเข้าใจเรื่องอะตอม เบื้องต้นกันก่อน
1. โครงสร้างของอะตอม ปกติ จะมีประจุบวก (Proton) อยู่ตรงกลาง และจะมี ประจุลบ (Electron) วิ่งอยู่ล้อมรอบ (แบบในภาพด้านล่าง)
ซ้าย:โมเลกุลออกซิเจนที่เสถียร    ขวา: โมเลกุลออกซิเจนที่ไม่เสถียร และเป็นอนุมูลอิสระ (Free Radical)
2. ปกติแล้ว อะตอม หรือ โมเลกุลที่เสถียร (โมเลกุลปกติ) จะมีจำนวนของ ประจุบวก และ ประจุลบที่เท่ากัน (รูปซ้าย)
3. ถ้าประจุลบของโมเลกุล อยู่ๆหลุดกระเด็นออกจากโมเลกุลไป โมเลกุลนั้น ก็จะไม่เสถียร ต้องวิ่งหา หรือแย่งชิงประจุลบ มากจากโมเลกุลที่อยู่ใกล้ๆ เราจะเรียกตัวนี้ว่า "เป็นอนุมูลอิสระ" หรือ Free Radical (รูปขวา)
4. อนุมูลอิสระ หรือ Free Radical นี่แหละ ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของสุขภาพที่แย่ลง ทำให้เกิดการเสื่อม การชรา เกิดโรคหัวใจ เกิดมะเร็ง เป็นต้น
ที่มาของคำอธิบายและภาพมากจาก : https://www.bio-oxygen.com.au/free-radicals-and-oh-radicals/
  • อนุมูลอิสระ (Free Radical) ทำร้ายร่างกายได้อย่างไร?
อนุมูลอิสระเกิดจาก ปัจจัยหลายอย่างมาก เช่น
- เกิดจากการเผาผลาญอาหารในร่างกาย (Metabolism)
- รังสี x-ray , Ozone , บุหรี่ , มลภาวะเป็นพิษ , สารเคมีต่างๆ
เมื่อมีอนุมูลอิสระ เกิดขึ้นในร่างกาย มันจะไปแย่งเอา ประจุลบจากเซลล์ในร่างกายของเรา ทำให้เซลล์ในร่างกายเราเกิดการสูญเสียประจุลบ เรียกปฏิกิริยาที่เซลล์ถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระนี้ว่า "Oxidative Stress"
เวลาที่เราปอกแอปเปิ้ลทิ้งไว้ในอากาศ แอปเปิ้ลจะค่อยๆดำ นี่คือปฏิกิริยา การทำลายของอนุมูลอิสระ (Oxidation)
ออกซิเจนในอากาศจำนวนหนึ่งก็เป็นอนุมูลอิสระ เมื่อเราปอกแอปเปิ้ลทิ้งไว้ระยะหนึ่ง เนื้อแอปเปิ้ลก็ถูกทำลายจากออกซิเจนที่มาสัมผัส
การถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ
  • สารต้านอนุมูลอิสระ (Anit-Oxidant) คืออะไร?
สารต้านอนุมูลอิสระ (Anit-Oxidant) เป็นโมเลกุล ที่มีคุณสมบัติ ตรงกันข้ามกับ อนุมูลอิสระ (รูปล่าง ตัวด่านขวา)
นั่นก็คือ สารต้านอนุมูลอิสระ จะมีประจุลบ วิ่งอยู่ในจำนวนมากกว่าประจุบวก ซึ่งจะสามารถทำให้ "บริจาคประจุลบ" ให้กับอนุมูลอิสระได้นั่นเอง
Free Radical (อนุมูลอิสระ) VS Anti-Oxidant (สารต้านอนุมูลอิสระ)
ภาพด้านล่างจะอธิบายได้ชัดมาก
  • อะตอมปกติ จะอยู่นิ่งๆ ไม่ทำร้ายใคร
  • อนุมูลอิสระ ตัวเองขาดประจุลบ จึงต้องไปแย่ง ประจุลบจากเซลล์หรืออะตอมอื่นๆ
  • ถ้าอะตอมใดถูกแย่งประจุลบไป ตัวมันจะกลายเป็นอนุมูลอิสระตามไปทันที ทำเกิดปฏิกิริยาลูกโช่ แย่งชิงประจุลบกันไปเรื่อยๆไม่จบไม่สิ้น
  • สารต้านอนุมูลอิสระ เป็นพระเอก ตัวเองมีประจุลบเยอะเหลือเฟือ พอที่จะแบ่งปันให้กับอนุมูลอิสระได้ โดยที่ตัวเองก็ไม่กลายร่างไปเป็นอนุมูลอิสระด้วย
เปรียบเทียบอนุมูลอิสระ และ สารต้านอนุมูลอิสระ
  • สารต้านอนุมูลอิสระ หาได้จากไหน?
แม้ว่าเราจะเคยเห็นอาหารเสริม หรือเครื่องดื่มต่างๆ เขียนโฆษณาไว้ว่า "มีสารต้านอนุมูลอิสระ" แต่ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากมากๆ ที่จะพิสูจน์ว่า ของเหล่านั้น มีสารต้านอนุมูลอิสระจริงหรือเปล่า
จากโครงสร้างเรื่อง ประจุบวก และ ประจุลบ ที่อธิบายได้ข้างต้น จะเห็นว่า เนื่องจากประจุลบ โคจรอยู่รอบนอกของอะตอม ตามปกติแล้วสิ่งที่จะมีสารต้านอนุมูลอิสระนั้น มักจะถูกเก็บไว้ได้ไม่นาน
หากต้องการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่แท้จริง แนะนำให้ทานผัก ผลไม้สด เช่น ส้ม มะม่วง แครอท ผักใบเขียว ชาเขียว ฟักทอง เป็นต้น
  • เครื่องมือวัดสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย มีจริงไหม?
หัวข้อนี้ ก่อนอื่นต้องบอกว่า ผู้เขียนขออนุญาตอธิบายตามความเข้าใจของตัวเองค่ะ ขอสรุปว่า "เครื่องมือที่ใช้วัดสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายแต่ละคนนั้น อาจจะ ไม่มีอยู่จริง"
ในวงการสุขภาพ อาหารเสริม มักจะโฆษณากันว่า มีอาหารเสริมที่จะช่วยทำให้ร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระมากขึ้น
ในบ้างผลิตภัณฑ์ อาจผลิตอาหารเสริมขึ้นมาเอง พร้อมกับผลิตเครื่องมือวัดสารต้านอนุมูลอิสระขึ้นมาเองด้วย เพื่อใช้ในการวัดหา "ค่าบางอย่าง" ในร่างกายก่อนทานอาหารเสริม และ เมื่อมาวัดอีกครั้ง "ค่าที่วัดได้ มีปริมาณเพิ่มขึ้น" และคนขายอาหารเสริม ก็สรุปเอาเองว่า นี่แหละ คือ ค่าสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายเพิ่มขึ้น
หากมาตรวจสอบกันดีๆแล้ว ในมุมที่บริษัทผลิตเครื่องวัดออกมาเอง เพื่อวัดค่าบางอย่าง ที่ผู้บริโภคทานเข้าไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง แล้วค่านั้นๆเพิ่มขึ้น ในมุมมองของผู้เขียน จึงไม่คิดว่าเป็นการวัดทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม
เช่น เครื่องวัดค่าออกซิเจนในเลือด ก็มีบริษัทมากมายผลิตออกมา และวัดค่านั้น ได้ค่อนข้างตรงกัน
แต่การที่บริษัท ผลิตอะไรออกมา เพื่อวัดผลของผลิตภัณฑ์ตัวเอง จึงดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าไหร่นัก
  • สารต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นที่ยอมรับ คือต้องเป็นสารที่สามารถแตกตัว สามารถเกิด Free electron ขึ้นได้ (มีประจุลบที่สามารถเป็นตัวบริจาคประจุลบ ให้สารอื่นๆได้)
Antioxidants neutralize free radicals by giving up some of their own electrons.
- Harvard Medical School -
มีวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ ที่เราสามารถให้การยอมรับว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่จริงๆ ได้แก่
  • 1.
    วิตามิน C : พบได้ใน ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะละกอ เบอร์รี่ต่างๆ มะเขือเทศ แคนตาลูป เป็นต้น
  • 2.
    วิตามิน E : พบได้ใน อะโวคาโด อัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง เป็นต้น
  • 3.
    แคโรทีนอยด์ (เบต้า-แคโรทีน , ไลโคปีน) พบได้ใน ส้ม ฟักทอง แครอท พีช แอพริคอต เป็นต้น
  • 4.
    เซเลเนียม (Selenium) พบได้ใน ปลา กุ้ง หอย ข้างกล้อง
  • 5.
    Zinc พบได้ใน หอยนางรม , งา , เมล็ดฟักทอง , เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นต้น
  • 6.
    สารประกอบฟีนอล (Phenolic compounds) พบได้ใน แอปเปิ้ล , ชาเขียว , องุ่น, บลูเบอร์รี่ เป็นต้น
บทความเต็มเกี่ยวกับ สารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้ในอาหารต่างๆ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ : https://bit.ly/3vRc77r
  • เครื่องมือวัดค่าประจุบวก-ลบ Oxidation-Reduction Potential Meter (ORP)
เครื่องมือนี้ ใช้วัดค่าประจุบวก-ลบ หลักการทำงานคร่าวๆมีดังนี้
  • ถ้าวัดได้ + บวก มากๆ สารนั้น จะมีความสามารถในการ Oxidation สูง (มีความสามารถในการ แย่งประจุลบสูง = เป็นอนุมูลอิสระ
  • ถ้าวัดได้ - ลบ มากๆ สารนั้น จะมีความสามารถในการ Reduction สูง (มีความสามารถในการ บริจาคประจุลบสูง = เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ)
ตัวอย่าง ภาพเครื่องวัดค่า ORP (Oxidation Reduction Potentail)
💧 น้ำดื่ม ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ : จากหนังสือ อยู่ร้อยปีไม่มีป่วย เขียนโดยคุณหมอชินยะ แพทย์ชาวญี่ปุ่น
หนังสือของคุณหมอชินยะ กล่าวถึง น้ำดื่ม ประเภทหนึ่ง ผลิตจากเครื่องกรองน้ำระบบอิเล็กโทรไลซีสจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสามารถผลิตน้ำดื่ม ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระได้ วัดค่า ORP ได้มากถึง -400mV
แต่น่าเสียดายที่ สารต้านอนุมูลอิสระนี้ จะหายไปอย่างรวดเร็ว หลังจากการผลิตน้ำออกมาจากเครื่อง ทำให้ไม่มีน้ำแบบนี้ วางจำหน่ายในรูปแบบน้ำบรรจุขวด
สามารถอ่านบทความเต็มของเรื่องน้ำดื่มนี้ ได้ที่ : https://bit.ly/3HfJFk6
น้ำดื่มที่สามารถต้านอนุมูลอิสระได้
  • หลีกเลี่ยงการได้รับอนุมูลอิสระเข้าร่างกายได้อย่างไรบ้าง?
อย่างไรก็ตาม อนุมูลอิสระ ถือเป็นตัวการสำคัญมากที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้แก่ โรคเกี่ยวกับหลอดเลือด, การอักเสบต่างๆในร่างกาย, ความเสื่อมชรา, และมะเร็ง เราจึงควรเลี่ยงเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดอนุมูลอิสระให้ได้มากที่สุด ได้แก่
  • 1.
    หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพ ที่มีมลภาวะเป็นพิษ อากาศเสีย
  • 2.
    หลีกเลี่ยง Processed meats อาหารที่เก็บรักษาได้นานๆ เช่น ไส้กรอก เบค่อน ซาลามี่ ไส้กรอกอีสาน ลูกชิ้น อาหารจำพวกนี้ มีสารกันเสียเยอะมาก ทำให้เกิดอนุมูลอิสระเยอะมากๆ
  • 3.
    หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล และคาร์โบไฮเดรตสูง
  • 4.
    อย่าใช้น้ำมันเก่า เพราะน้ำมันเก่า จะมีอนุมูลอิสระเยอะมาก และเมื่อนำมาให้กับอาหาร อนุมูอิสระก็จะเข้าไปอยู่ในอาหาร
  • 5.
    จำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ และ การสูบบุหรี
  • 6.
    ทานผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระเยอะๆ แทนการทานขนมหวานต่างๆ
Free radicals damage contributes to the etiology of many chronic health problems such as cardiovascular and inflammatory disease, cataract, and cancer.
Free radicals, antioxidants and functional foods: Impact on human health
  • บทสรุปของสารอนุมูลอิสระ และสารต้านอนุมูลอิสระ
ในปัจจุบัน มีผู้ป่วยที่มีโรคภัยไข้เจ็บ อันซึ่งไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค เยอะมากกว่าผู้ป่วยที่เกิดจากเชื้อโรค
หากเราป่วยโดยเชื้อโรค (เช่น COVID-19 , ไข้เลือดออก , ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น) ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อโรคได้ และหากมีอาการข้างเคียง เรารักษาตามอาการ ทานยาไปเรื่อยๆ ไม่นาน สุขภาพเราก็จะกลับมาแข็งแรงปกติ
กลับกัน หากเราป่วยด้วยโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค แต่เกิดจากความเสื่อมในร่างกาย ซึ่งส่วนมากก็มาจากการทำลายโดยอนุมูลอิสระนี่แหละ เราจะเรียกว่า Chronic disease กลุ่มโรคพวกนี้ ได้แก่ มะเร็ง, อัลไซเมอร์, พาร์กินสัน , ข้อเข่าเสื่อม, เบาหวาน, หัวใจ, ตับ, ไต , ปอด และอื่นๆ
โรคเหล่านี้ เกิดขึ้น เพราะสภาวะแวดล้อม การดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล ความเสื่อมค่อยๆเกิดขึ้น สะสมขึ้น จึงยากที่จะรักษาให้หายด้วยการใช้ยา จึงมักเป็นโรคเรื้อรัง หากทานยามากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาเกี่ยวกับไตก็จะตามมา
เพราะฉะนั้น หากคุณกำลังมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการเผชิญหน้ากับ "อนุมูลอิสระ" ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ให้ลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น และเพิ่ม "สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ถูกต้อง" ให้ร่างกายเป็นประจำค่ะ
ที่มาอื่นๆ :
โฆษณา