25 เม.ย. 2022 เวลา 20:02 • ข่าวรอบโลก
ตีแผ่ลูกดอกโลหะ ‘เฟลเชตต์’
หนึ่งในอาวุธร้ายแรง ที่รัสเซีย
ใช้สังหารโหดในเมืองบูชา
1
--- ใช้เวลาอ่าน 4 นาที ---
ภาพจาก Getty Images
ณ เมืองบูชา, ชานกรุงเคียฟ, นครหลวงของยูเครน—มีรายงานการพบลูกดอกโลหะขนาดเล็กฝังอยู่ในรถและอาคาร, ลูกดอกชนิดนี้รู้จักกันในชื่อ ‘เฟลเชตต์ (Flechette) มาจากคำภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่า ‘ลูกดอกจิ๋ว’ โดยมีความยาวน้อยกว่า 3 เซนติเมตร และมีชื่อเสียงจากอานุภาพที่ดุร้ายต่อเหยื่อ นอกจากนี้ยังไม่เป็นที่นิยมในการสงครามสมัยใหม่ (Modern Warfare) อีกด้วย แล้วเหตุใดรัสเซียจึงใช้อาวุธชนิดนี้?
<<< ประวัติอย่างย่อ >>>
สมัยแรกเริ่ม เฟลเชตต์ เป็นอาวุธที่มีชื่อเสียงอย่างแคบ ๆ เท่านั้น, อาวุธชนิดนี้ถูกคิดค้นขึ้นในอิตาลีช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และถูกนำไปใช้ในทุกฝ่ายท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง, ในสมัยนั้นลูกดอกยังมีความยาวถึง 12 เซนติเมตรและมีครีบเป็นแฉก ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ, ลูกดอกนี้มักอัดรวมอยู่ในบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่หลักสิบถึงหลักร้อยดอกด้วยกัน เวลาใช้งานจะปล่อยบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ลงมาจากอากาศยาน, อย่างไรก็ตาม วิธีการใช้งานแบบนี้นับเป็นวิธีการที่ด้อยประสิทธิภาพ ต่อมาจึงถูกแทนที่ด้วยวิธีการติดตั้งลูกดอกกับวัตถุระเบิด ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
1
ช่วงทศวรรษที่ 1950, สหรัฐฯ เป็นผู้พัฒนาเฟลเชตต์รุ่นที่สามารถหวังผลให้ถึงตายได้ ภายใต้ชื่อโครงการ ‘เลซีด็อก--หมาขี้เกียจ’
เฟลเชตต์รุ่นใหม่ของสหรัฐฯ คือ ระเบิดขนาด 225 กิโลกรัมซึ่งติดตั้งลูกดอกกว่า 10,000 ดอก โดยคราวนี้แต่ละดอกมีความยาวเพียง 4.4 เซนติเมตรเท่านั้น, เวลาระเบิดออกลูกดอกเหล่านี้จะกระทบเป้าหมายด้วยความแรงเท่ากระสุนจริง ในอัตราเก้าดอกต่อตารางเมตร ซึ่งมีอานุภาพพอจะสังหารใครก็ตามในระยะดังกล่าว
ระเบิดชนิดนี้เป็นระเบิดที่เงียบกว่าระเบิดชนิดอื่น ๆ โดยมีเพียงเสียงของเม็ดโลหะกระทบพื้นเท่านั้น, ในสงครามเวียดนาม สหรัฐฯ ปรับรูปแบบเฟลเชตต์ให้อยู่ในรูปแบบของกระสุนปืนใหญ่ ‘บีไฮว์--รังผึ้ง’ ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับมาจากเสียงของเฟลเชตต์ที่เวลายิงออกไปจะคล้ายกับเสียงฝูงผึ้ง
กระสุนบีไฮว์ เมื่อยิงออกไปจะกระจายตัวออกทันทีหลังจากพ้นลำกล้องปืนใหญ่ สร้างชื่อเสียงในนามของ ‘ปืนลูกซองยักษ์’ ถึงขนาดที่มีตำนานว่าเหยื่อของปืนนี้ถูกตอกติดกับต้นไม้ด้วยลูกดอกจากกระสุนบีไฮว์
กองทัพอเมริกันได้ทำการศึกษาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเฟลเชตต์ในสัตว์ พบว่าลูกดอกจิ๋วพวกนี้เวลาปะทะและเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสอย่างกระจัดกระจาย รวมถึงสามารถเจาะทะลวงกระดูกได้อีกด้วย
1
ต้นทศวรรษที่ 2000, กลุ่มนักสิทธิมนุษยชนอิสราเอลได้พยายามเรียกร้องให้ยุติการใช้เฟลเชตต์ในเขตเวสต์แบงก์ รวมถึงการผลักดันให้กฎหมายสากลระบุเฟลเชตต์ลงในประเภทอาวุธต้องห้ามอย่างระเบิดลูกปลายและทุ่นระเบิดด้วย ทั้งนี้ความพยายามดังกล่าวไม่เป็นผล
นอกจากเรื่องอานุภาพการสังหาร เฟลเชตต์ยังมีข้อเสียเปรียบตรงที่เป็นอาวุธที่มีค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงกว่าอาวุธที่มีอานุภาพใกล้เคียงกันอย่าง ‘กระสุนแฟรกเมนติง’ (กระสุนที่จะแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ หลายชิ้นเมื่อกระทบเป้าหมาย), ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าระเบิดใดก็ตามที่มีปลอกโลหะหุ้มในขนาดที่พอเหมาะ จะสามารถแตกออกเป็นชิ้นส่วนจำนวนมากที่มีความรุนแรงถึงชีวิตได้เช่นกัน แต่ในทางตรงข้าม เฟลเชตต์แต่ละชนิดจะต้องถูกออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ตามแต่ละแบบจึงจะให้ผลลัพธ์ที่ดี
1
<<< ข้อเท็จจริงในบูชา >>>
นีล กิบสัน ที่ปรึกษาด้านการกำจัดวัตถุระเบิดจากฟีนิกอินไซต์ พบว่าเฟลเชตต์รุ่นที่ใช้ในเมืองบูชานั้นมาจากกระสุนปืนใหญ่รัสเซีย 3sh1 ขนาด 122 มม.
ภาพถ่ายในบริเวณใกล้เคียงเปิดเผยให้เห็นถึงปืนใหญ่ขนาด 122 มม. ที่ถูกทำลายกระจายทั่วไปในบริเวณที่พบ โดยปืนเหล่านี้บรรจุกระสุน 3sh1 ที่ยังไม่ถูกยิงด้วย
โดยปกติแล้วปืนใหญ่รัสเซียมักจะใช้กระสุนแฟรกเมนติง ซึ่งมีประสิทธิภาพกับเป้าหมายที่หลากหลายกว่า เช่น อาคารและรถหุ้มเกราะเบา
พวกรัสเซียอาจใช้เฟลเชตต์ไม่มากนักเพื่อวัตถุประสงค์เชิงตั้งรับ และด้วยปัญหาด้านการส่งกำลังบำรุง ส่งผลให้พวกเขาต้องใช้สิ่งที่มีอย่างไม่เลือกปฏิบัติ และมีความเป็นไปได้ว่าการทำเช่นนี้ก็เพื่อการข่มขู่เท่านั้น
ติดตามแผนกข่าวอื่น ๆ ของ 31130 Corporation ได้ที่
<< ข่าวสารระหว่างประเทศ 31130 News - DEEDN >>
Instagram : 31130newsth
<< วารสารวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ 31130 Wittaya Times >>
Instagram : 31130wittayath
31130 Corporation
Established 2022
Foto:
- Getty Images
โฆษณา