ความลำบากจากชีวิตด้วยอาการหูหนวก ท่ามกลางบ้านเมืองที่วุ่นวายของสงครามนโปเลียน เป็นตัวบ่มสร้างพลังให้ Beethoven แต่ง Symphony No.5 ซึ่งเป็นงานดนตรีที่สำคัญที่สุดแห่งยุค และได้รับการเผยแพร่มากที่สุดมาจนถึงปัจจุบัน
Stephen Hawking อัจฉริยะของวงการฟิสิกส์โลก ผู้ต่อยอดความคิดจากไอน์สไตน์ และเวอเนอร์ ไฮเซนเบิร์ค ถึงที่มาของจักรวาล สั่นสะเทือนวงการฟิสิกส์โลกโดยการศึกษาทฤษฎีเรื่องกลไกการแผ่รังสีของหลุมดำ และในระหว่างที่เขากำลังสร้างสิ่งใหม่ในวงการฟิสิกส์อยู่นั้น เขาได้พบกับมรสุมครั้งใหญ่ในชีวิต เมื่ออายุได้ 21 ปี ด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ ALS ยิ่งไปกว่านั้นแพทย์ยังวินิจฉัยว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ต่อได้อีกแค่ 2 ปีเท่านั้น แต่ความลำบากในการขยับร่างกายไม่ได้ กลับทำให้เขาเริ่มโครงการศึกษาต่อ และเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องจักรวาล พร้อมทั้งเขียนหนังสือเรื่อง The Brief History of Time ติดอันดับขายดีอยู่หลายร้อยสัปดาห์ และมีชีวิตอันทรงคุณค่าแก่สังคมถึงอายุ 76 ปี
หากไม่มีความลำบาก โลกเราจะไม่มีนวนิยายชื่อดัง Romeo and Juliet ไม่มี Golden Gate Bridge หรืองานประพันธ์ที่ทราบซึ้งกินใจ รวมถึงผลงานศิลปะระดับปรมาจารย์อย่าง Van Gogh และคงไม่มีเรื่องราวที่เป็นแรงบันดาลใจขับเคลื่อนชีวิตเราเป็นแน่