26 เม.ย. 2022 เวลา 06:45 • ความคิดเห็น
1) “ในนำ้มีปลา ในนามีข้าว”
ประเด็นคือ ถ้าบ้านเรามีความอุดมสมบูรณ์มากพอ “ในทุกๆด้าน” เราก็ไม่จำเป็นต้อง “นำเข้าสินค้า” จากต่างประเทศ แล้วเรายัง “ส่งออกสินค้า” ของเราไปขายทั่วโลกและอาจให้ชาวต่างชาติจ่ายให้เราเป็นเงินสกุลของเราตามที่เราต้องการ ถ้าสินค้าที่เราส่งออกนั้นคือ “ลมหายใจ” ที่ชาวโลกต้องการมากๆ
ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้มีให้เห็นอยู่ในช่วงความขัดแย้งในยูเครน ณ เวลานี้ โดยที่ทางฝั่ง “พี่หมี” ต้องการให้ “ยุโรป” ชำระค่าพลังงานเป็นเงินสกุลของพี่เขา คิดดูนะครับว่า แต่เยอรมันประเทศเดียวก็พึ่งพาพลังงานจากพี่หมีอยู่อย่างน้อยๆ 40% เข้าไปแล้ว
ซึ่งในเวลานี้ ประเทศในตะวันออกกลางที่ส่งออกนำ้มัน ก็อาจจะพิจารณาเปลี่ยนสกุลเงินที่ใช้ในการค้าขายนำ้มันเป็นเงินสกุลอื่นๆ! ที่ไม่ใช่เงินสกุลหลักที่ใช้กันมายาวนานอีกต่อไป
โดยบ้านเราเอง มีการใช้นำ้มันดีเซลอยู่ประมาณวันละ 60 ล้านลิตร และใช้น้ำมันเบนซินอยู่ราววันละ 30 ล้านลิตร ซึ่งส่วนใหญ่คือการนำเข้าจากต่างประเทศและต้องใช้เงินตราต่างประเทศในการชำระ
เพราะประเทศไทยผลิต “น้ำมันดิบ” ได้เฉลี่ยเพียงประมาณ 20 ล้านลิตร/วัน โดยน้ำมันดิบจำนวนนี้เมื่อนำไปกลั่นเป็นเบนซินและดีเซล ก็จะยิ่งได้ปริมาณน้อยลงอีก ดังนั้นน้ำมันดิบที่ไทยผลิตได้เองในประเทศ จึงมีไม่พอความต้องการใช้
2) ส่วนบ้านเราเองก็ไม่ได้มีความสามารถในการผลิตสินค้าทุกอย่าง เพราะการผลิตใดๆ ต้องอาศัย “เทคโนโลยี” และ “วัตถุดิบ” รวมถึง “ทักษะเฉพาะ” ด้วย ซึ่งบ้านเราขาดแคลนในบางเรื่อง
และความขาดแคลนนำมาสู่การนำเข้าจากต่างประเทศ และการนำเข้าก็อาจต้องชำระเงินเป็นเงินสกุลต่างชาติด้วย ดังนั้น ความต้องการเงินสกุลต่างประเทศเพื่อชำระค่าสินค้าจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ยกตัวอย่างที่ผมเห็นในข่าวทีวีคือ
“ศรีลังกา”
ผมเข้าใจว่าประเทศเขาขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ จึงไม่มีเงินไปซื้อพลังงาน และเวชภัณฑ์ ฯลฯ ผลกระทบคือ รัฐบาลต้องระงับการจ่ายไฟฟ้าวันละเป็นสิบชั่วโมง, รถไม่มีนำ้มันจะเติม, และผู้ป่วยถ้าไม่ป่วยหนักจริงๆก็ไม่ให้เข้ารักษาในโรงพยาบาล!
“Nickel”
ผมเข้าใจว่าแร่ธาตุชนิดนี้ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ถูกใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถ EV
บ้านเราเองมีการวางแผนตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ชนิดนี้ และแน่นอนว่าเราอาจต้องนำเข้าเพื่อใช้ป้อนโรงงาน
และแน่นอนครับว่า สถานการณ์ในยูเครน อาจทำให้ทั่วโลกขาดแคลน Nickel และราคาที่สูงขึ้นก็จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยบ้านเราก็อาจต้องจ่ายเป็นเงินสกุลต่างประเทศอยู่ดี
3) เรื่องราวบางส่วนของระเบียบการพิมพ์แบงค์ ผมรวบรวมไว้ใน post นี้ของผมครับ
4) ที่มาที่ไปของประวัติศาสตร์การที่เงินสกุลของ “คุณลุงแซม” ก้าวเข้ามามีบทบาทต่อการค้าขายระหว่างประเทศภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้น
ผมรวบรวมข้อมูลไว้แล้ว เดี๋ยวมีโอกาสจะเรียบเรียงเป็นบทความของผมให้นะครับ
โฆษณา