26 เม.ย. 2022 เวลา 07:04 • ข่าว
"อินโดนีเซีย" งดส่งออกน้ำมันปาล์ม สะเทือนโลก สะท้าน "ไบโอดีเซลไทย"
8
เตรียมรับมือ "น้ำมันปาล์มขาดตลาด" ห้างจำกัดซื้อได้ไม่เกิน 3 ขวด! หลังเจ้าตลาดอินโดนีเซียประกาศงดส่งออกทั่วโลก จับตาสะเทือนถึงราคา "น้ำมันดีเซล-ไบโอดีเซล" ของไทยด้วย
7
วันนี้ (25 เม.ย. 65) ราคาน้ำมันปาล์มตลาดมาเลเซียพุ่งขึ้นทันทีถึง 6% ไปแตะระดับสูงที่สุดในรอบกว่า 1 เดือน หลังจากที่อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่สุดอันดับ 1 ของโลก ประกาศงดการส่งออกน้ำมันปาล์มชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย. นี้เป็นต้นไป
2
ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย กล่าวว่า จำเป็นต้องหยุดการส่งออกน้ำมันปาล์มชั่วคราว เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาดภายในประเทศ โดยจะระงับการส่งออกจนกว่าจะมั่นใจได้ว่า อินโดนีเซียจะมีน้ำมันปาล์มมากเพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศเสียก่อน
4
มาตรการล่าสุดของอินโดนีเซียในครั้งนี้ นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการ "ปกป้องอาหารของตัวเอง" ซึ่งเป้นผลกระทบจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกอาหารและพลังงานรายใหย่ของโลก จนส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อพุ่งสูง และเกิดปัญหาขาดแคลนอาหารไปทั่วโลก และทำให้ประเทศผู้ส่งออกอาหารเริ่มหันมาใช้มาตรการ "งดส่งออก" ชั่วคราว เพื่อรับประกันความมั่นคงทางอาหารของประเทศตนเอง
2
ทำไม อินโดฯ ห้ามส่งออก จึงสะเทือนไปทั้งโลกด้วย ?
อินโดนีเซียคือประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดเบอร์ 1 ของโลก ในสัดส่วนถึงเกือบ 60% ของโลก หรืออาจเรียกได้ว่า ถึงประเทศผู้ส่งออกที่เหลือทั้งหมดจะรวมพลังกันส่งออกเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดไปของอินโดฯ ก็ยังไม่อาจเทียบได้
นอกจากนี้ อุปสงค์จากนานาประเทศโดยเฉพาะ "จีน" และ "อินเดีย" (ผู้นำเข้าท็อป 5) ซึ่งสูงกว่าปกติตั้งแต่ต้นปี 2022 มานี้ ยังทำให้อินโดนีเซียและมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับ 1 และ 2 ของโลก ไม่สามารถจัดสรรการผลิตและควบคุมการส่งออกได้ทันเวลา ขณะที่มาตรการควบคุมการอนุมัติใบอนุญาตส่งออกน้ำมันปาล์ม เมื่อเดือน ม.ค. เพิ่งมีการยกเลิก เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมาด้วย
1
การส่งออกน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียเป็นสาเหตุทำให้น้ำมันปรุงอาหารเกิดการขาดแคลน และมีราคาพุ่งขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้นักศึกษาออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลอินโดนีเซียไปแล้วก่อนหน้านี้
4
ใครเป็นลูกค้ารายใหญ่ของตลาดน้ำมันปาล์ม?
น้ำมันปาล์มนับเป็นวัตถุดิบสำคัญที่อยู่ในสินค้าอุปโภคบริโภคเกือบทุกอย่างในปัจจุบัน ตั้งแต่น้ำมันปาล์มที่ใช้ทำอาหาร ทำช็อกโกแลต นมผง เครื่องสำอาง ไปจนถึงเป็นส่วนผสมในน้ำมันไบโอดีเซล ดังนั้น การนำเข้าน้ำมันปาล์มจึงมีความหลากหลายตั้งแต่ภาครัฐจนถึงภาคเอกชนขนาดใหญ่ ดังนี้
3
ประเทศผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มมากที่สุดในโลก
1. จีน 15.95 ล้านตัน
2. สหรัฐ 11.9 ล้านตัน
3. บราซิล 9 ล้านตัน
4. อาร์เจนตินา 7.9 ล้านตัน
2
บริษัทเอกชนผู้นำเข้าน้ำมันปาล์มรายใหญ่
1
Unilever - ยูนิลีเวอร์เป็นผู้ผลิตสินค้าประเภทของกิน-ของใช้รายใหญ่ที่สุดอันดับต้นๆ ของโลก จึงมีการนำเข้าน้ำมันปาล์มมากถึงราว 1 ล้านตัน ในปี 2016 - เฉพาะการผลิตช็อกโกแลต KitKat เพียงอย่างเดียว ก็ต้องนำเข้าน้ำมันปาล์มและน้ำมันจากเมล็ดปาล์มถึง 4.53 แสนตัน ในปี 2020
3
Danone - ผลิตภัณฑ์จากนมก็ใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบสำคัญ บริษัทดานอน ซึ่งเป็นเจ้าของแบรนด์ Dumex มีการซื้อน้ำมันปาล์มมาใช้ในการผลิตถึง 71,000 ตัน ในปี 2018
2
ช็อกโกแลตเฟอร์เรโร
Ferrero - ช็อกโกแล็ตเฟอร์เรโร ลูกกลมๆ สีทองที่ทุกคนคุ้นเคย นำเข้าน้ำมันปาล์มจากมาเลเซีย 85% และจากอินโดนีเซีย 9% ในครึ่งแรกของปีที่แล้ว
2
Mondelez International - ผู้ผลิตคุ๊กกี้โอริโอ (Oreo) และช็อกโกแลต Cadbury ซื้อน้ำมันปาล์มต่อปีมากถึง 0.5% ของการบริโภคทั่วโลก
ถ้าน้ำมันปาล์มขาดแคลน แล้วมีอะไรแทนได้ ?
ปัญหาก็คือ ยังหาน้ำมันพืชชนิดอื่นทดแทนไม่ได้ทั้งในเชิงปริมาณและราคา เพราะตอนนี้ราคาน้ำมันพืชชนิดอื่น ต่างก็ปรับตัว "แพงขึ้น" ถ้วนหน้าเช่นเดียวกัน
1
"น้ำมันถั่วเหลือง" คือน้ำมันพืชที่มีการใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากน้ำมันปาล์ม แต่ล่าสุดพบว่า ราคาน้ำมันถั่วเหลืองในตลาดชิคาโก สหรัฐ ปรับตัวแพงขึ้นถึง 4.5% สร้างสถิติใหม่ 83.21 เซนต์ ต่อ 1 ปอนด์ ( ราว 13.27 บาท ) โดยราคาปีนี้แพงขึ้นแล้วถึง 50% ปัจจุบัน ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันถั่วเหลืองมากที่สุด คือ จีน สหรัฐ และประเทศในอเมริกาใต้ ซึ่งปัจจุบันเกิดภาวะแห้งแล้งจนกระทบต่อการส่งออกน้ำมันถั่วเหลืองในอเมริกาใต้ไปด้วย
2
ส่วนน้ำมันที่มีความสำคัญรองลงมาก็คือ "น้ำมันดอกทานตะวัน" ซึ่งก็เกิดปัญหาขาดตลาดเช่นกัน เพราะ "ยูเครน" ซึ่งกำลังเผชิญสงครามกับรัสเซีย เป็นหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก
4
มาเลเซีย วอนทั่วโลกทบทวนนโยบาย "ไบโอดีเซล"
มาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มเบอร์ 2 ของโลก เริ่มออกมาเรียกร้องให้ทั่วโลก "ทบทวน" นโยบายการใช้น้ำมันปาล์มผสมใน "ไบโอดีเซล" แล้ว โดยย้ำว่าในเวลาที่เกิดวิกฤตซัพพลายเช่นนี้ น้ำมันพืชควรถูกนำไปใช้เพื่อเป็น "อาหาร" มากกว่านำไปทำเป็น "พลังงาน"
2
อาหมัด ปาร์วีซ กูลัม คาดีร์ ประธานคณะกรรมการน้ำมันปาล์มแห่งชาติมาเลเซีย กล่าวว่า ประเทศผู้ส่งออกและนำเข้าน้ำมันปาล์ จำเป็นต้องมานั่งทบทวนใหม่ว่า ตอนนี้อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ระหว่างอาหารหรือพลังงาน ถึงเวลาแล้วที่อาจจะต้องระงับการใช้น้ำมันปาล์มผสมในไบโอดีเซลเป็นการชั่วคราว และกลับมาใช้ไบโอดีเซลใหม่เมื่อซัพพลายน้ำมันปาล์มกลับมาสู่ภาวะปกติ
1
เทสโก้จำกัดซื้อน้ำมันพืชคนละ 3 ขวด
สถานการณ์น้ำมันพืชขาดตลาด จนนำไปสู่การจำกัดการซื้อ เริ่มเกิดขึ้นให้เห็นแล้ว โดยห้างเทสโก้ ซึ่งเป็นบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดของอังกฤษ ประกาศจำกัดการซื้อน้ำมันพืชของลูกค้า ให้ซื้อได้ไม่เกินคนละ 3 ขวด ขณะที่ห้างมอร์ริสันและเวทโรสจำกัดให้ลูกค้าซื้อได้ไม่เกินคนละ 2 ขวด
1
แม้แต่ในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ของโลก ก็ยังเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำมันพืช และมีราคาพุ่งขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้นักศึกษาออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาลอินโดนีเซียไปแล้วก่นหน้านี้
2
ขณะเดียวกัน ผู้นำในภาคอุตสาหกรรมของอินเดีย แสดงความไม่พอใจต่อการที่อินโดนีเซียประกาศระงับการส่งออกน้ำมันปาล์มในวันนี้ โดยระบุว่าสิ่งนี้จะกระทบต่อผู้บริโภคทั่วโลก ไม่เพียงแต่ในอินเดีย เนื่องจากน้ำมันปาล์มถือเป็นน้ำมันพืชที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลก และมีการใช้ในการผลิตสินค้าหลายอย่าง เช่น บิสกิต มาร์การีน (เนยเทียม) ช็อกโกแลต และน้ำยาซักผ้า
สถานการณ์น้ำมัน ดีเซล-ไบโอดีเซล ของไทย จะเป็นอย่างไร?
ภาคเอกชนเริ่มมีเสียงเรียกร้องให้ลดการผสมไบโอดีเซลลงอีก เพื่อพยุงราคาดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร
1
นายไพโรจน์ ชัยจีระธิกุล ตัวแทนภาคเอกชนจังหวัดสงขลา เตรียมยื่นข้อเสนอคณะรัฐมนตรี เรื่องการแก้ปัญหาราคาน้ำมันดีเซลที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นจาก 30 บาท/ลิตร หลัง 1 พฤษภาคม 2565 โดยจะกระทบต้นทุนน้ำมันทั้งผู้ประกอบการขนส่งและประชาชนผู้ใช้น้ำมันดีเซล ที่อาจจะต้องใช้ดีเซลในราคาเฉลี่ยลิตรละ 35 บาท และหากหลังวันที่ 20 พฤษภาคมนี้ มาตรการของกรมสรรพสามิตจะสิ้นสุดลง อาจทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงถึง ลิตรละ 38 บาท
1
ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ได้แจ้งกับผู้ประกอบการขนส่งและโลจิสติกทั่วประเทศแล้วว่า ทุกๆ 1 บาท ของราคาน้ำมันดีเซลที่เพิ่มขึ้น จะต้องปรับราคาขนส่ง 3 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากภาคเอกชนเองก็ไม่สามารถแบกรับต้นทุนได้ไหวอีกต่อไป
1
ภาคเอกชนได้เสนอทางออกการแก้ไขราคาน้ำมันดีเซล คือ การปรับสัดส่วนน้ำมันไบโอดีเซลลง เช่น จากน้ำมันบี 5 เป็นน้ำมัน บี2 คือการผสมไบโอดีเซลไป 2 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้ต้นทุนของน้ำมันลดลงประมาณ 0.7 บาท/ลิตร และช่วยประหยัดต้นทุนพลังงานให้ประเทศไทยประมาณ 1,344 ล้านบาท/เดือน ซึ่งภาคเอกชนมั่นใจว่า นายกรัฐมนตรีทำได้เลยและทำได้ทันที
1
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เคยให้ข้อมูลว่าในปี 2564 ที่ผ่านมา ราคาปาล์มน้ำมันของไทยได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำสถิติใหม่หลายครั้ง จนมีราคาเฉลี่ยทั้งปีที่ 6.7 บาท/กก. (ราคาเฉลี่ยปี 59-63 อยู่ที่ 4 บาท/กก.) ต่อเนื่องจนถึงในเดือนม.ค. 65 ที่ราคาได้พุ่งสูงไปแตะระดับเฉลี่ยที่ 10.3 บาท/กก. นับเป็นราคาสูงที่สุดอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในตลาดปาล์มน้ำมันของไทยในรอบหลายสิบปี
1
สอดคล้องไปกับราคาน้ำมันปาล์มดิบและราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูงเช่นกัน เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนอุปทานปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะในมาเลเซียที่ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยวและมีผลผลิตน้อย ในช่วงที่มีความต้องการใช้ในหลายประเทศที่กำลังฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด-19 ท่ามกลางภาวะที่ราคาพลังงานในตลาดโลกก็ยังอยู่ในระดับสูงเช่นกัน
อย่างไรก็ดี แม้ว่าในปี 2565 ราคาปาล์มน้ำมันจะยังสามารถยืนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ปัจจัยเสี่ยงหลักที่เกษตรกรต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะในฝั่งของอุปทานคือ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทั้งราคาค่าปุ๋ยเคมี ค่ายาฆ่าแมลงและวัชพืช รวมถึงการที่เกษตรกรบางส่วนหันไปปลูกพืชเกษตรอื่นที่มีราคาสูงกว่าอย่างยางพาราและทุเรียน ล้วนส่งผลต่อแรงจูงใจในการเลือกตัดสินใจปลูกปาล์มน้ำมันในระยะยาว
3
ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในระยะกลาง-ยาว ด้วยกระแสรักสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั่วโลก จะทำให้ปาล์มน้ำมันไทยได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้พืชปาล์มน้ำมันอาจให้ภาพที่ไม่สดใสนักและอาจต้องเผชิญความท้าทายมากขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิตที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาว และรูปแบบการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป จากมาตรการ Zero Palm Oil ของกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) เนื่องจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม
3
รวมไปถึงกระแสการต่อต้านการใช้น้ำมันปาล์มในอาหารของ EU จากกระแสรักสุขภาพของผู้บริโภค จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ให้สินค้าอุปโภคบริโภคใน EU ต้องติดฉลาก No Palm Oil จึงนับเป็นจุดเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคน้ำมันปาล์มครั้งสำคัญ และกระจายเป็นวงกว้างจนเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคในระดับโลก โดยเฉพาะในตลาดเฉพาะกลุ่มของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
นอกจากนี้ กระแสการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ก็อาจยิ่งกระทบต่อความต้องการใช้ปาล์มน้ำมันด้วยเช่นกัน นับเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มโลกในระยะยาว ทำให้ภาพของราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกระยะข้างหน้า อาจมีความเป็นไปได้ที่จะไม่สามารถกลับไปอยู่ในระดับที่สูงดังเช่นในปัจจุบัน
สถานการณ์ราคาปาล์มน้ำมันในประเทศไทย
ราคาน้ำมันไบโอดีเซลอ้างอิงเฉลี่ย 18-24 เม.ย. 65 อยู่ที่ 55.56 บาท/ลิตร ลดลง 1.03 บาท/ลิตร จากสัปดาห์ก่อน
จากสถานการณ์ราคาผลปาล์มน้ำมัน ณ วันที่ 11-12 เม.ย.65 เฉลี่ยอยู่ที่ 9.60-10.20 บาท/กก.
ราคาน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ 52.50-53.00 บาท/กก. ส่วนราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลกอยู่ที่ประมาณ 52.76 บาท/กก. ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1.05 บาท/กก. เนื่องจากความกังวลสถานการณ์รัสเซียและยูเครน และจากการที่ราคาต่างประเทศอยู่ในระดับสูง ทำให้โรงสกัดมีการส่งออกเพิ่มขี้นจึงควรมีการหารือกับทางกรมการค้าภายในถึงการพิจารณามาตรการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบในการนำมาตรการภาษีเข้ามาช่วย เพื่อป้องกันการส่งออกจนขาดแคลน้ำมันปาล์มดิบในประเทศ โดยปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ ณ สิ้นเดือน ก.พ.65 ประมาณ 195,379 ตัน ลดลงจากเดือน ม.ค.65 ประมาณ 37,634 ตัน
2
(ซัพพลาย) สำหรับภาพรวม สถานการณ์การผลิตปาล์มน้ำมันปี 2564 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีเนื้อที่ให้ผลผลิต 5.81 ล้านไร่โดยในปี 2565 อัตราสกัดน้ำมันเฉลี่ยร้อยละ 17.15 ในเดือน ก.พ. 65 มีผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 203,788 ตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 2.95 ตันต่อไร่และมีการส่งออกน้ำมันบริโภคไปขายประเทศเพื่อนบ้าน 15,877 ตัน โดยมีความต้องการใช้ในประเทศด้านบริโภค และอุตสาหกรรมอื่น 75,443 ตัน และความต้องการใช้ด้านน้ำมันไบโอดีเซล 75,176ตัน
(ดีมานด์) จากข้อมูลปริมาณการใช้เดือน ก.พ. 65 มีการใช้น้ำมันดีเซลประมาณ 68.84 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค. 65 ประมาณ 2.16 ล้านลิตร/วัน ซึ่งปริมาณใช้น้ำมันไบโอดีเซล B100ในเดือน ก.พ. 65 เท่ากับ 3.72 ล้านลิตร/วัน ต่้ากว่าเดือน ม.ค.65 เท่ากับ 0.78 ล้านลิตร/วัน ทั้งนี้ปริมาณการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลประมาณ 3.57 ล้านลิตร/วัน ต่้ากว่าเดือน ม.ค. 65ประมาณ 1.32 ล้านลิตร/วัน
2
ที่มา สนพ., Reuters
โฆษณา