28 เม.ย. 2022 เวลา 02:00 • การตลาด
เริ่มจากหมื่น! สู่ธุรกิจ “อาหารแปรรูป” รายได้กว่าแสนล้านบาทต่อปี
ความสำเร็จเกิดจากความพยายามคือสูตรสำเร็จของคนที่ไม่มีต้นทุนในการเริ่มธุรกิจ แต่อาศัยใจสู้ อดทน และมีความคิดต่อยอดตลอดเวลา ใครจะเชื่อว่าจากเด็กที่ทำงานสารพัด ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย ผ่านงานมาหลายอย่างทั้งชงชา ส่งจดหมาย รับส่งสินค้า จนวันนี้มีธุรกิจรายได้กว่าแสนล้านบาทต่อปี และเป็นธุรกิจที่ขยายไปยังอีกหลายประเทศทั่วโลก
เส้นทางกว่าจะมาเป็นวันนี้ของ คุณไกรสร จันศิริ ผู้ก่อตั้ง ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ถือว่าน่าสนใจและมีแง่คิดหลายอย่างที่ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าสามารถใช้เป็นแรงผลักดัน เป็นไอเดียของใครอีกหลายคนที่กำลังมองหาโอกาสในการลงทุนที่จะประสบความสำเร็จเช่นนี้บ้าง
📢 ทำงานสารพัด! หาเงินช่วยครอบครัว! เริ่มธุรกิจด้วยเงิน 10,000 บาท
ภาพจาก https://bit.ly/3kgFDyd
คุณไกรสร จันศิริ ผู้ก่อตั้งไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป เกิดในปี 2478 ฐานะทางบ้านไม่ได้ร่ำรวย ต้องทำงานและเรียนไปด้วยตั้งแต่เด็ก ทำมาหลายอาชีพตั้งแต่เด็กชงชา เด็กส่งจดหมาย รับส่งสินค้าต่างๆ ตอนอายุได้ประมาณ 16-17 ปี ต้องลาออกจากเรียนมาทำงานเต็มตัวเพื่อหารายได้ช่วยครอบครัวอย่างเต็มรูปแบบ ถึงอายุประมาณ 30 ปีตอนนั้นมีเงินเก็บ 10,000 บาท ซึ่งถือว่าเยอะมากในสมัยนั้น และด้วยความที่มีหัวคิดทางธุรกิจจึงนำมาลงทุนทำธุรกิจแรกคือเข้าสีพ่นรถยนต์ น้ำยาขัดเงารถยนต์ รวมไปถึงทำธุรกิจขายผ้าที่สำเพ็ง
กระทั่งปี 2520 ก็เริ่มมาจับธุรกิจทูน่ากระป๋อง และก่อตั้งบริษัท ไทยรวมสินพัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจ แปรรูป และส่งออกทูน่ากระป๋อง โดยมีพนักงานในช่วงเริ่มต้นเพียง 100 กว่าคน มาถึงในปี 2531 ได้ก่อตั้งบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและส่งออกอาหารแช่แข็งด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 25 ล้านบาท
จากนั้นธุรกิจมีการเติบโตเป็นลำดับ ในปี 2540 ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป เริ่มลงทุนในต่างประเทศเป็นครั้งแรกด้วยการซื้อกิจการของชิกเก้นออฟเดอะซี ซึ่งเป็นแบรนด์ปลาทูน่ากระป๋องอันดับ 3 ในประเทศสหรัฐอเมริกา และก้าวสู่การเป็นธุรกิจที่เติบโตทั้งในและต่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบ
📢 ผลิตภัณฑ์และรายได้ของไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป
ภาพจาก https://bit.ly/3EU5Eg7
ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป เน้นการผลิตอาหารแปรรูปและมีธุรกิจในเครืออีกจำนวนมาก โดยรายได้ของไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป มาจากต่างประเทศ 88 % ในประเทศไทย 12 % และถ้าแยกตามกลุ่มสินค้าจะมาจาก อาหารทะเลแช่แข็ง 45 % ธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป 40 % ธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์และอื่นๆ อีก 15 % โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป (Ambient Seafood) คือสินค้าบรรจุกระป๋อง เช่น ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาเฮอร์ริง ในปี 2563 ยอดขายของกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้คิดเป็นเงิน 62,700 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47 ของยอดขายรวมทั้งกลุ่มบริษัท
หรือกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็ง แช่เย็น และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยสินค้าอาหารทะเลเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะจัดจําหน่ายตรงให้กับร้านอาหาร โรงแรม ผู้ประกอบการอาหาร เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารเพื่อจําหน่ายให้แก่ลูกค้าของทางร้านในปี 2563 ยอดขายของกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้คิดเป็นเงิน 49,600 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38 ของยอดขายรวมทั้งกลุ่มบริษัท
ภาพรวมรายได้ของบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ปี 2561 รายได้ 136,724 ล้านบาท กำไร 3,256 ล้านบาท ในปี 2562 มียอดขายอยู่ที่ 31,838 ล้านบาท และกำไรขั้นต้น 5,077 ล้านบาท และล่าสุดในปี 2564 ที่ผ่านมายอดขาย 102,547 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% และมีกำไรสุทธิ 6,083 ล้านบาท
📢 คีย์เวิร์ดความสำเร็จ ปั้นธุรกิจอย่างไรให้เติบโตระดับโลก
ที่ผ่านมา ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ถือว่าผ่านร้อนผ่านหนาว สะสมประสบการณ์มายาวนาน แน่นอนว่าในทุกภาวะวิกฤติ ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ก็ได้รับผลกระทบเช่นกันแต่ทุกครั้งก็สามารถผ่านพ้นและก้าวเดินหน้าได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งคีย์เวิร์สำคัญในการทำธุรกิจได้แก่
🔸1.เปลี่ยนวิฤติให้เป็นโอกาส
ภาพจาก https://bit.ly/39op1T7
ในช่วงวิกฤติการเงินเช่นปี 2540 หลายธุรกิจประสบปัญหาอย่างมาก แต่ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป กลับใช้วิกฤตินี้เป็นโอกาสเมื่อค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมากให้สินค้าส่งออกมีราคาถูกลงอย่างมากทำให้รายได้และกำไรของบริษัทเพิ่มขึ้นเพียงพอในการเข้าไปซื้อกิจการในต่างประเทศ หนึ่งในนั้นคือ “Chicken of the Sea International” ผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา รวมถึงในปี 2551 ที่เกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ที่บริษัทสามารถเข้าซื้อกิจการบริษัทปลาทูน่ากระป๋องที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปอย่าง“MWB”ได้
🔸2.เน้นทำการตลาดแบบหลากหลาย
ภาพจาก https://bit.ly/3xT9Jjl
ไทยยูเนี่ยนให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ธุรกิจที่เน้นความหลากหลายเช่นได้ประกาศเข้าลงทุนเชิงกลยุทธ์ 10% เป็นมูลค่าประมาณ 3 พันล้านบาท ในบริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือการลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิดอ่อนคุณภาพสูง เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เป็นต้น
🔸3.ระบบการเงินแบบ Blue Finance
ภาพจาก https://bit.ly/3Klsxua
ไทยยูเนี่ยนมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยการเงิน Blue Finance หรือการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อมหาสมุทรและอุตสาหกรรมอาหารทะเลโดยรวม เช่นการออกหุ้นกู้ส่งเสริมความยั่งยืนอายุ 7 ปีในประเทศไทยและมีจำนวนยอดจองซื้อมากกว่า 2.23 เท่า โดยหรือการอกสินเชื่อส่งเสริมความยั่งยืนในประเทศไทยและญี่ปุ่น เป็นต้น
🔸4.ส่งเสริมกิจกรรมด้านการตลาดต่อเนื่อง
ภาพจาก https://bit.ly/3KiT0sf
ไทยยูเนี่ยนมีกิจกรรมการตลาดต่อเนื่อง เช่นได้ส่งมอบอาหารมากกว่า 3.3 ล้านชุดให้กับชุมชนต่าง ๆ ทั่วโลก และมอบอาหารแมวเบลล็อตต้า และอาหารสุนัขมาร์โว่ ไปแล้วกว่า 78,000 กระป๋อง และอาหารสุนัขชนิดเม็ดมากกว่า 4,000 กิโลกรัม ให้กับสถานที่พักพิงสัตว์ องค์กรสัตว์เลี้ยง และอาสาสมัครทั่วประเทศไทย
🔸5.เพิ่มการลงทุนในสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีอาหาร
ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากโดยได้ลงทุนในโครงการ Corporate Venture Capital (CVC) แล้ว 6 โครงการ ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโปรตีน ทางเลือก โภชนาการเฉพาะด้านและเทคโนโลยีห่วงโซ่คุณค่า ที่หวังจะมาต่อยอดการทำธุรกิจให้เติบโตมากยิ่งขึ้น
สิ่งที่เราเห็นได้ชัดเจนคือวิสัยทัศน์และแนวคิดรวมถึงรูปแบบในการบริหารจัดการ และแน่นอนที่สุดคือหัวคิดแบบนักธุรกิจ ส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ที่เคยผ่านร้อนผ่านหนาว กว่าจะมีธุรกิจของตัวเองได้ ทำให้ทุกการลงทุนนั้นมองเห็นภาพล่วงหน้าได้ชัดเจน ถือเป็นอีกหนึ่งต้นแบบแห่งความสำเร็จที่นักธุรกิจยุคใหม่ควรศึกษาไว้ให้ดี
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน ติดตามได้ที่ Add LINE id: @tfcacademy
อัพเดทและติดตามข่าวสารได้ที่
Line : @thaifranchise
Twitter : @thaismecenter
Twitter : @thaifranchise
ที่มา : https://bit.ly/3vkEkEJ
โฆษณา