Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
พี่นักบินใจดี
•
ติดตาม
28 เม.ย. 2022 เวลา 01:22 • การศึกษา
Turbulence หรือ กระแสอากาศปั่นป่วน
😎😎😎😎ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มองไม่เห็นสำหรับการบินและยากที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ซึ่งมักก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางด้านการบินอยู่บ่อยครั้งโดยเฉพาะกับอากาศยานที่มีระยะสูงไม่มาก ในขณะ Take off หรือ Landing
✈️🚁ทางด้านการบินปกติแบ่ง Turbulence ออกเป็น 4 Categories คือ 🛸🛸🛸
1.Low-level turbulence
2.Turbulence in and near thunderstroms
3.Clear-air turbulence
4.Mountain wave turbulence
🌋🌋ความรุนแรงของ Turbulence แบ่งออกเป็น 4 ระดับ เช่นกัน คือ
1.Light ส่งผลต่อท่าทางของอากาศยานเพียงเล็กน้อย หรือ มีผลกระทบต่อความสูง และ หัวเครื่อง ไม่มาก
2.Moderate ส่งผลต่อท่าทางของอากาศยาน และความสูง แต่ยังคงสามารถควบคุมอากาศยานได้ และส่งผลให้ความเร็วของอากาศยานเปลี่ยนแปลง
3.Severe ส่งผลต่อความท่าทางและความสูงอย่างรวดเร็ว ความเร็วของอากาศยานเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก และบางครั้งอาจเสียการควบคุมอากาศยานไปชั่วขณะ
4.Extream ส่งผลต่ออากาศยานอย่างรุนแรง อาจสูญเสียการควบคุมจากความเสียหายที่เกิดจากโครงสร้าง
แต่สำหรับวันนี้จะมาเน้นในหัวข้อ Low-Level turbulence เนื่องจากมีผลกระทบต่อการบิน เฮลิคอปเตอร์ เป็นอย่างมาก
Low-Level turbulence (LLT)🚀🚀🚀
-เกิดที่ระดับความสูง ตำ่ๆ
-สาเหตุ ที่เป็นก่อให้เกิด LLT คือ ความร้อนและแรงเสียดทานของพื้นผิวโลก ซึ่งรวมถึง สิ่งกีดขวางต่างๆ เช่น ภูเขา สิ่งปลูกสร้าง รวมแม้กระทั่งต้นไม้ ซึ่ง Turbulence ที่เกิดจากสิ่งกีดขวางเรียกว่า Mechanical turbulence
🛬Mechanical turbulence
ปัจจัยคือลมแรงที่พัดมากระทบสิ่งกีดขวางซึ่งจะก่อให้เกิดแรงเสียดทานบริเวณวัตถุส่งผลให้เกิดกระแสลมหมุน ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทิศทางและความเร็วลม หรือ ลมกรรโชก โดยเฉพาะด้านหลังสิ่งกีดขวาง ซึ่งความรุนแรงขึ้นอยู่กับความแรงของลมที่มากระทบ
🏚🌲🌲เรียนรู้เพื่อสังเกตุและหลีกเลี่ยง
อ้างอิงจาก Jeppesen Aviation weather, Chapter12 Turbulence
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย