Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
2read
•
ติดตาม
29 เม.ย. 2022 เวลา 00:00
เปิด 2 เมืองแรงบันดาลใจ สู่ Smart City ระดับโลก!
บทความจากคอลัมน์ "City for Life" บนแอป 2read
ภาพจาก www.shutterstock.com
วิถีชีวิตผู้คนทรานสฟอร์มไปสู่ดิจิทัล
สำนักงานเมืองอัจฉริยะ ถูกตั้งขึ้นใหม่
เพื่อภารกิจมอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะ (Smart City)
โดย “ภูเก็ต” และ “ขอนแก่น”
เป็นเมืองที่ติดอันดับ Smart City ระดับโลก
แรงบันดาลใจ ต้นแบบโมเดลการพัฒนาครบมิติ
นำร่องประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0
หลังจากโควิด 19 ปิดฉากไป
วิถีชีวิตกำลังกลับเข้าสู่โหมดปกติ
แต่สิ่งพลิกชีวิตผู้คนไปตลอดกาลพร้อมกันกับโรคระบาด
คือการเข้าสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์มอย่างเต็มรูปแบบ
หลังจากผู้คนเริ่มชินกับการใช้ชีวิตผ่านสมาร์ทโฟนในช่วงล็อกดาวน์
เราจึงเห็นทุกสรรพสิ่งของในวิถีชีวิตของเรา
จะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมากขึ้น (Internet of Things)
เมืองอัจฉริยะ จึงเป็นกลไกที่ถูกผลักดันให้รองรับแผนการพัฒนาเมือง
ที่จะตอบโจทย์โลกดิจิทัล ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
เป้าหมายขับเคลื่อนสู่ไทยแลนด์ 4.0
ท้ายที่สุดตอบโจทย์การพัฒนาเมืองยั่งยืน
ดังนั้น จึงมีการจัดตั้งสำนักงานเมืองอัจฉริยะ
หน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ที่เริ่มที่จะกระตุ้นให้เมืองต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีพื้นที่
ยื่นแผนเข้ามาขอติดป้ายตราสัญลักษณ์การพัฒนารองรับ
การเป็น “เมืองอัจฉริยะ” (Smart City)
โดยมีเมืองยื่นข้อเสนอทั้งสิ้น 56 แห่ง
ในสิ้นเดือนมีนาคม 2565 ที่ผ่านมา
มีเมืองที่ถูกประกาศให้เป็นเมืองอัจฉริยะ 15 เมือง
และเมืองที่เป็นเขตส่งเสริมจำนวน 41 เมือง
โดยหลักการที่สรุป
ตามแนวคิดการได้รับการยอมรับป้าย “เมืองอัจฉริยะ” นั้น
มีความหมายครอบคลุมเป็นเมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี
และนวัตกรรมที่ทันสมัยและชาญฉลาด
สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการ และการบริหารจัดการเมือง
ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมือง และประชากรเป้าหมาย
โดยเน้นการออกแบบที่ดี
และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและภาคประชาชนในการพัฒนาเมือง
ให้เป็นเมืองน่าอยู่ มีความทันสมัย
ประชาชนในมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน
สำหรับเกณฑ์การประเมินครอบคลุม 7 มิติ ประกอบด้วย
1) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
2) การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)
3) การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living)
4) พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People)
5) พลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy)
6) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)
7) การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
ก่อนจะมีการติดป้ายส่งเสริมผ่านการให้ตราสัญลักษณ์
ที่ได้เปิดให้เมืองยื่นข้อเสนอมาตั้งแต่ปี 2564
เมืองมีการพัฒนาด้วยตัวเองภายในอยู่แล้ว
แต่การให้ตราสัญลักษณ์เป็นการรับรองที่มีมาตรฐาน
ที่สอดคล้องกันกับหลักสากล
ซึ่งต่อไปจะผลักดันเข้าสู่การจัดอันดับระดับโลกได้
ภายใน 7 มิติการพัฒนาการเป็นเมืองอัจฉริยะภายในประเทศไทย
ต้องการส่งเสริมให้แต่ละเมืองมีมิติการพัฒนาที่หลากหลาย
ดึงจุดแข็งของเมืองมายกระดับการพัฒนาเมืองให้ยั่งยืน
ซึ่งภายเมืองที่ยื่นข้อเสนอมามี 2 เมือง
ที่จะเป็นต้นแบบและเป็นแรงบันดาลใจให้กับเมืองต่างๆ
ในประเทศยกระดับการพัฒนาได้
จนติดอันดับเมืองอัจฉริยะระดับโลก
คือ เมืองขอนแก่นและภูเก็ต
ซึ่งขอนแก่นชูการเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาล (Medical Hub)
เพราะมีโรงพยาบาล และมหาวิทยาลัยด้านการแพทย์
และยังมีการขับเคลื่อนด้านการเชื่อมต่อการขนส่ง
มีรถราง รถไฟฟ้า (Smart Mobility)
ซึ่งภาคเอกชนล้วนขับเคลื่อนร่วมมือกันกับภาครัฐ
ขณะที่ภูเก็ตชูเรื่องการท่องเที่ยว (Tourism )
มีความโดดเด่นด้านการพัฒนา
ตั้งแต่เริ่มต้นขับเคลื่อนทุกอย่างด้วยพลังของภาคเอกชนในพื้นที่
ทั้งการติดตั้งแอปพลิเคชันในเมือง
ในช่วงโควิด 19 แม้จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก
แต่ก็เป็นผู้เริ่มต้นโครงการต่างๆ
เช่น การติดตั้งแท็กติดตามตรวจหาการติดเชื้อ
และเปิดให้มีภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์
นำร่องรองรับนักท่องเที่ยว
ทั้งสองเมืองมีเกณฑ์การพัฒนาด้านความเป็นอัจฉริยะครบทั้ง7 มิติ
แต่สิ่งที่โดดเด่นเหมือนกันมี 2 ปัจจัย คือ
1. มีผู้นำเข้มแข็ง
ซึ่งหมายถึงภาครัฐ นั่นคือ พ่อเมือง
หรือผู้ว่าราชการจังหวัดที่ให้ความสำคัญ
มีแนวคิดทิศทางเดียวกันกับการพัฒนาด้านความเป็นอัจฉริยะ
และเปิดใจให้เกิดการมีส่วนร่วม
รวมไปถึงมีสายสัมพันธ์ดึงผู้มีส่วนในการผลักดันเข้ามาร่วมมือกันพัฒนา
2. ภาคเอกชนเข้มแข็ง
มีการทำงานร่วมกันคิดริเริ่มแนวทางการพัฒนาเมือง
และดึงการลงทุนใหม่ เข้ามาร่วมมือกันพัฒนาเมือง
หลังจาก สำนักงานเมืองอัจฉริยะ
มีการมอบแบนเนอร์รองรับการเป็นเมืองอัจฉริยะแล้ว
ก็จะมีกลไกส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตามโครงการที่เมืองยื่นข้อเสนอเข้ามา
โดยการแต่งตั้ง The Smart City Ambassadors
ที่เข้ามาฝึกอบรมกับเจ้าหน้าที่ดำเนินโครงการ
เพื่อออกไปทำงานให้กับเมือง
โดยทางสำนักงานเป็นผู้ว่าจ้างในอัตรา 15,000 บาทต่อเดือน สัญญา 1 ปี
เป็นการช่วยแก้จุดอ่อนหรือเพนพอยต์การที่เมืองขาดคนทำงาน
ด้านการวางแผนการพัฒนาเมืองโดยตรง
ปลายทางของการจัดตั้งเมืองอัจฉริยะ
เพื่อต้องการส่งเสริมให้เมืองใช้จุดแข็ง
ในการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจของเมืองให้ครบทุกมิติ
ทำให้เมืองมีความน่าสนใจ
รวมถึงการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ดึงดูดการลงทุนเข้ามาพัฒนาเมือง
ที่ในอนาคตจะตอบโจทย์ความยั่งยืนของการพัฒนาครอบคลุมทุกมิติ
สอดคล้องกันกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ
เรื่องโดย ประกายดาว
อ่านเพิ่มเติม
2read.digital
city for life
เปิด 2 เมืองแรงบันดาลใจ สู่ Smart City ระดับโลก
เติมอาหารสมองและพลังใจด้วยคอนเทนต์สาระจาก 2read
กดถูกใจ กดติดตามเพจ กดไลค์โพสต์นี้ให้เราด้วยนะคะ
1 บันทึก
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย