28 เม.ย. 2022 เวลา 11:35 • หุ้น & เศรษฐกิจ
📋​รู้จักหุ้น IPO: CEYE📋​
สวัสดีครับวันนี้รู้จักหุ้น IPO ตัวใหม่ชื่อว่าที่กำลังจะเข้าเทรดวันที่ 29 Apr’22 กันนะครับ โดยเป็นธุรกิจ Creative Production แรกในไทย ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
🚩 ลักษณะธุรกิจ
​ ✔️​ บ.ตาชำนิ จำกัด (มหาชน) โดยใช้ตัวย่อในตลาดว่า CEYE เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจสื่อโฆษณา โทรทัศน์และภาพยนตร์ โดยแบ่งออกเป็น 5 ธุรกิจหลักๆ
1. ธุรกิจภาพนิ่งสำหรับสื่อโฆษณา เช่น สื่อโฆษณาในนิตรสาร, ออนไลน์, สื่อนอกบ้าน, พวกป้ายโฆษณาคุณภาพสูงตาม billboard ต่างๆ
2. ธุรกิจภาพเคลื่อนไหวสำหรับโฆษณา
3. ธุรกิจตกแต่งภาพ
4. ธุรกิจให้เช่าสตูดิโอ
5. ธุรกิจ Online Media
​ ✔️​ สัดส่วนรายได้หลักมาจากธุรกิจภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว 77%
▪️ ธุรกิจภาพนิ่งสำหรับสื่อโฆษณา: 50%
▪️ ธุรกิจภาพเคลื่อนไหวสำหรับโฆษณา: 27%
▪️ ธุรกิจตกแต่งภาพ: 12%
▪️ ธุรกิจให้เช่าสตูดิโอ: 4%
▪️ ธุรกิจ Online Media: 6%
​ ✔️​ รายได้ฝั่งภาพนิ่งยังฟื้นไปไม่เท่าก่อนช่วงโควิดส่วนรายได้ฝั่งภาพเคลื่อนไหวโตขึ้นเรื่อยๆแม้อยู่ท่ามกลางโควิด ซึ่งเช่นเดียวกับฝั่ง Online Media ที่มีอัตราการเติบโตที่สูงทุกปี
▪️ ธุรกิจภาพนิ่งสำหรับสื่อโฆษณา
2019: 199 ลบ.
2020: 114 ลบ.
2021: 137 ลบ.
▪️ ธุรกิจภาพเคลื่อนไหวสำหรับโฆษณา
2019: 65 ลบ.
2020: 69 ลบ.
2021: 73 ลบ.
▪️ ธุรกิจตกแต่งภาพ
2019: 29 ลบ.
2020: 28 ลบ.
2021: 31 ลบ.
▪️ ธุรกิจให้เช่าสตูดิโอ
2019: 15 ลบ.
2020: 10 ลบ.
2021: 10 ลบ.
▪️ ธุรกิจ Online Media
2019: 3 ลบ.
2020: 10 ลบ.
2021: 15 ลบ.
​ ✔️​ กลุ่มลูกค้าหลักเป็น Agency โฆษณากว่า 70% ส่วน 30% เป็นบริษัทเจ้าของแบรนด์โดยตรง และกว่า 80% เป็นลูกค้าในประเทศ ลูกค้าของบริษัทก็เป็นเจ้าใหญ่ๆ อย่างพวก FMCG, รถยนตร์แบรด์ต่างๆ, กลุ่มบัตรเครดิต, ผ้าอ้อม, โทรศัพท์มือถือ, ห้างสรรพสินค้า, เครื่องสำอาง และอื่นๆ (ถือว่าลูกค้ามีหลากหลายอุตสาหกรรมมาก)
​ ✔️​ บริษัทใช้วิธีกำหนดราคาแบบ Cost Plus Margin เป็นหลัก
✔️​ จุดแข็งคือทำมานาน เรื่อง Campagin โฆษณาคือการเก็บความลับ ซึ่งบริษัทได้เปรียบเรื่องนี้ และมีบริการที่หลากหลายเป็น นอกจากนี้บริษัทยังมีทีมงานช่างภาพที่มีประสบการณ์หลากหลายและหลายทีมงาน ทำให้สามารถตอบโจทย์ Budget, Idea, เวลา ตรงกันกับลูกค้าได้
✔️​ ลูกค้ามีการซื้อซ้ำ เพราะยิ่งทำยิ่งเข้าใจแบรนด์ มีลูกค้าอยู่กับบริษัทมานานกว่า 20 ปี
🚩 งบการเงินย้อนหลัง
✔️​ รายได้ได้รับผลกระทบจากโควิดอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับปี 2019 แต่ปีที่แล้วรายได้เริ่มมีการฟื้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะใน Q4/2021
▪️ 2019: 311 ลบ.
▪️ 2020: 232 ลบ.
▪️ 2021: 272 ลบ.
▪️ Q1/2021: 69 ลบ.
▪️ Q2/2021: 54 ลบ.
▪️ Q3/2021: 56 ลบ.
▪️ Q4/2021: 86 ลบ.
✔️​ GPM ลดลงลงเรื่อยๆ เนื่องจากงานถ่ายภาพนิ่งเป็นงานที่มี Margin สูงรายได้ลดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะใน Q2/2021 ที่มีโควิดระบาดมากที่สุดทำให้งานน้อยลงและเสนอราคางานที่ถูกลง
▪️ 2019: 29%
▪️ 2020: 21%
▪️ 2021: 23%
▪️ Q1/2021: 23%
▪️ Q2/2021: 15%
▪️ Q3/2021: 20%
▪️ Q4/2021: 30%
✔️​ SG&A to Sales หลักๆมาจากค่าใช้จ่ายฝั่งบริหาร 11% โดยค่าใช้จ่ายพนักงานคิดเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดที่ 6% ต่อยอดขาย
▪️ ค่าสาธารณูปโภค: 0.x%
▪️ ค่าพนักงาน: 6% (16 ลบ.)
▪️ ค่าเสือมราคา: 0.x%
▪️ ค่าธรรมเนียมและบริการ: 2% (5 ลบ.)
▪️ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ: 2% (6 ลบ.)
✔️​ เป็นบริษัทที่มีต้นทุนทางการเงินไม่เยอะโดยปี 2021 โดดขึ้นมาจากการกู้เงินไปซื้อที่ดินสำหรับสำนักงานใหม่
▪️ 2019: 0.6 ลบ.
▪️ 2020: 1 ลบ.
▪️ 2021: 3 ลบ.
✔️ กำไรเคยขึ้นไปอยู่ระดับ 39 ลบ. ก่อนโควิดและมี NPM อยู่ที่ 12% ก่อนจะลดลงเรื่อยๆตามจำนวนรายได้ที่ลดลง
▪️ 2019: 39 ลบ. / 12%
▪️ 2020: 14 ลบ. / 6%
▪️ 2021: 28 ลบ. / 10%
▪️ Q1/2021: 9 ลบ. / 12%
▪️ Q2/2021: 0.2 ลบ. / 0.4%
▪️ Q3/2021: 4 ลบ. / 7%
▪️ Q4/2021: 15 ลบ. / 18%
🚩 ภาพรวมอุตสาหกรรมและโอกาสการเติบโต
✔️ อุตสาหกรรมโฆษณาเป็นอุตสาหกรรมที่มีขนาดใหญ่แต่มูลค่าตลาดโฆษณาเกี่ยวกับภาพนิ่งคุณภาพสูงมีแนวโน้มหดตัวเรื่อยๆ แต่ถ้าเป็นภาพเคลื่อนไหวหรือ Online Media ยังสามารเกาะการเติบโตของสื่อโฆษณาดิจิทัล (Digital Advertising)ได้อยู่
✔️ ตลาดอุตสาหกรรมโฆษณาถือว่าใหญ่มากโดยอยู่ที่ประมาณ 110,000 ลบ. และมี CAGR (2017 - 2021) อยู่ที่ -1%
▪️ สื่อโฆษณาโทรทัศน์ (Television) 64,000 ลบ. และมี CAGR 13% -0.7%
▪️ สื่อโฆษณาดิจิทัล (Digital Advertising) 23,000 ลบ. และมี CAGR 13%
▪️ สื่อโฆษณาบนระบบขนส่งมวลชน (Transit) และสื่อโฆษณากลางแจ้ง (Outdoor) 9,700 ลบ. และมี CAGR -5%
▪️ สื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ (Cinema) 3,400 ลบ. และมี CAGR -13%
▪️ สื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์ (Print) 3,100 ลบ. และมี CAGR -20%
▪️ สื่อโฆษณาทางวิทยุ (Radio) 3,200 และมี CAGR -6%
▪️ สื่อโฆษณาภายในห้างสรรพสินค้า (In-Store) 670 ลบ. และมี CAGR -7%
✔️ อันดับเม็ดเงินโฆษณาในปี 2021
▪️ 1. สื่อและการตลาด: 8,421 ลบ. -4.4% YoY
▪️ 2. เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์: 8,282 ลบ. +12.1% YoY
▪️ 3. ยานยนต์: 4,190 ลบ. -10.2% YoY
▪️ 4. สินค้าเกี่ยวกับเส้นผม: 3,899 ลบ. +7.2% YoY
▪️ 5. สินค้าเกี่ยวกับผิว: 3,795 ลบ. -28.4% YoY
▪️ 6. ค้าปลีก: 3,723 ลบ. +26.7% YoY
▪️ 7. สินค้าทำความสะอาดบ้าน: 3,415 ลบ. -8.5% YoY
▪️ 8. สื่อสาร: 3,320 ลบ. -12.8% YoY
▪️ 9. สินค้าสำหรับช่องปาก: 3,189 ลบ. +11.1% YoY
▪️ 10. สินค้าเกียวกับนม: 3,068 ลบ. -11.9% YoY
🚩 คู่แข่ง
✔️ ถ้าดูจากใน Filing คู่แข่งที่ให้บริการุถ่ายภาพนิ่ง และถ่ายภาพเคลื่อนไหวมีรายได้ตั้งแต่ 14 - 47 ลบ. ถ้าเทียบกับ CEYE ถือว่าเป็นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว แต่ถ้าเทียบกับอุตสาหกรรมโฆษณาถือว่าเล็กๆมากๆ
🚩สิ่งที่ต้องระวัง
✔️​ โควิดระบาดหนักลูกค้าจะลดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาโดยช่วงโควิดระบาดหนักรายได้ลดลงไปเยอะอย่างมีนัยสำคัญ
🚩 บริษัทเอาเงินไปทำอะไร?
✔️​ บริษัทแบ่งเงินเป็น 4 ก้อนจากการระดมทุน 255 ลบ. โดยกว่า 170 ลบ.จะนำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียน, 45 ลบ. ก่อสร้างสำนักงานใหม่, 15 ลบ.ลงทุนอุปกรณ์การผลิต และ 25 ลบ. คืนเงินกู้สถาบัน
🚩 ราคา IPO และ P/E
✔️​ ราคา IPO ที่ 3.86 บาทต่อหุ้นจำนวน 70 ล้านหุ้น คิดเป็น PE 36.6 เท่า และจะมี EPS ที่ 0.105 บาท/หุ้น
💡Key Takeaways & Ideas
▪️ ช่วงไหนออก Product ใหม่เยอะๆ งานโฆษณาจะเยอะตามและรายได้แปรผันตามปริมาณโฆษณาในขณะนั้น
▪️ การรับรู้รายได้จะรับรู้รายได้ 2 แบบ คือ ในส่วนภาพนิ่งและการตกแต่งภาพจะรับรู้รายได้ต่อเมื่อส่งมอบงานให้ลูกค้าไปแล้ว ส่วนธุรกิจภาพเคลื่อนไหว ให้เช่าสตูดิโอ และ Online Media จะรับรู้รายได้ตามความาสำเร็จของงาน
▪️ รายได้จะเป็นลักษณะ Project โดยบริษัทต้องหางานเข้ามาเรื่อยๆ แต่งานพวกโฆษณษเป็นงานลักษณะต่อเนื่อง คือ ถ้าใช้เจ้าไหนแล้ว DNA ตรงกัน ลูกค้าประทับใจก็จะมีงานต่อเรื่อยๆได้
▪️ รายได้งานแต่งภาพจะเติบโตคู่ๆกับงานภาพนิ่ง
▪️ งาน Scale เล็ก Margin สูงกว่าเพราะจะทำเองเกือยทุกอย่างถ้างาน Scale ใหญ่ต้อง Outsource
▪️ ค่าใช้จ่ายหลักเป็นพนักงาน Production
▪️ ผู้บริหารบอกว่าปีนี้ Online Media ปีนี้จะเป็นการเก็บเกี่ยว
ขอให้สนุกกับการลงทุนครับ 😄
ถ้าชอบ Content ของแอดก็ขอกด Like กด Share เป็นกำลังใจให้แอดหน่อยนะครับ 😽
#ลงทุนลงดอย #หุ้นIPO2022 #CEYE
โฆษณา