30 เม.ย. 2022 เวลา 05:00 • หนังสือ
เราต่างแสวงหาความเก่งในด้าน “ศาสตร์” แต่หลงลืมไปว่า “ศิลป์” เองก็สำคัญไม่แพ้กัน..
นี่คือสรุป 10 เหตุผลสำคัญที่จะบอกกับเราว่า ทำไมเราไม่ควรเป็นคนที่เก่งแต่ “ศาสตร์” แต่ขาด “อารมณ์ศิลป์” ในการใช้ชีวิต
1. ในโลกยุคใหม่ คนที่มีทั้ง “ศิลป์” และ “ศาสตร์” อยู่ในตัว ทักษะและสติปัญญาของคนนั้นก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย
ถ้าลองค้นดูในประวัติศาสตร์ พวกเราก็รู้อยู่แล้วว่านักวิทยาศาสตร์ตำนวนมากที่ให้กำเนิดผลงานระดับแนวหน้าต่างมีความรู้ด้านศิลปะในระดับสูงด้วย
2. เราต้องเรียนรู้ที่จะ “เปิดใจให้กว้างและยอมรับผู้คนหลากหลายรูปแบบ”
เพราะในความเป็นจริงนั้น สังคมเราเต็มไปด้วยความไร้ตรรกะและความไร้เหตุผล เราต่างต้องเรียนรู้ที่จะพัฒนา และเติบโตทางอารมณ์เพื่อปรับตัวเพื่อมองเห็นโลกอย่างไร้อคติ
3. “เพื่อชีวิตที่สมบูรณ์ มีความสุข” เราจึงต้องมีอารมณ์ศิลป์ร่วมด้วย
ไม่ใช่เพียงแค่การทำงานเพื่อให้ได้รับการประเมินที่ดี ไม่อย่างนั้นชีวิตของเราก็คงจะมีแค่มิติเดียว และติดอยู่กับการตีค่าตัวเองด้วยการใช้หลักการกับทุกสิ่ง
4. เพื่อไม่ให้ตัวตนของเราไหลไปตามระบบทุกอย่าง แต่คิดและทำตามสิ่งที่เชื่อด้วย
เช่น แทนที่เราจะทำตามคำสั่งโดยไร้ความรู้สึก เราควรมี “เซ้นส์ความดีงาม” ในการใช้ชีวิต และยึดมั่นในหลักการของตัวเอง
5. เพื่อให้เราไม่เป็นคนเก่งที่ “ไร้อารมณ์”
ในข้อนี้เราจะขอยกตัวอย่างของ คนเก่งที่ขาด “ทักษะทางด้านอารมณ์” ว่ามันจะพาเราไปสู่ความมืดมิดได้อย่างไร
ผู้บริหารจำนวนมากของลัทธิโอมชินรอเกียวของญี่ปุ่นที่เป็นองค์กรศาสนาที่โด่งดังในด้านการก่อการร้ายและเคยใช้แก๊สพิษโจมตีรถไฟใต้ดินกลางกรุงโตเกียว ส่วนใหญ่สอบเข้ามหาวิทยาลัยด้วยคะแนนอันดับต้นๆ หลังออกสู่สังคม และเจ็บปวด เดือดดาล สิ้นหวังกับความไร้เหตุผลและความไร้ตรรกะในสังคมจนเอนเองเข้าหาลัทธิโอม
6. การรู้จักความต้องการทางอารมณ์ของตัวเอง คือทักษะสำคัญที่จะช่วยให้เรารับมือกับปัญหายากๆ ได้ในอนาคต
7. คนเก่งๆ หรือผู้นำท่ีประสบความสำเร็จจะมีอำนาจต่อผู้อื่น ดังนั้นคนเหล่านี้จึงจำเป็นต้องพัฒนาเซ้นส์ด้านความดี ความจริง และความงามเพื่อให้มีสติปัญญาเพียงพอและควบคุมตัวเองให้ได้นั่นเอง
8. คนที่มีตรรกะและเหตุผลมากๆ จะตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม แต่การสินใจที่ดีอาจต้องใช้สัญชาตญาณและอารมณ์ศิลป์เช่นกัน
ข้อแนะนำนี้สอดคล้องกับผลการทดลองของนักวิจัยจากสถาบันวิจัยประสาท มหาวิทยาลัยลอนดอน ที่ระบุว่า เวลาเรารู้สึกถึงความงาม สมองส่วนหน้าจะมีปริมาณเลือดเพิ่มขึ้น
อธิบายแบบเข้าใจง่ายก็คือ สมองส่วนนี้จะคอยควบคุมสติสัมปะชัญญะของเราให้พุ่งไปยังเรื่องต่างๆ ดังนั้นสมองส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับแก่นของการตัดสินใจเป็นอย่างมาก
9. เราจะตัดสินใจอย่างไร หรือคุณภาพชีวิตของเราจะเปลี่ยนแปลงไปทางไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าเรามีอารมณ์อย่างไร
บริษัทอย่างกูเกิล อินเทล เฟดเอ็กซ์ เฟซบุ๊ก และอีกหลายแห่งเริ่มสอนวิธี “เจริญสติ” ให้กับพนักงานมากขึ้นแล้ว นี่จึงเป็นข้อสังเกตหนึ่งที่บอกกับเราว่ามีแค่ไอคิวไม่ได้สำคัญที่สุด แต่เรื่องของอารมณ์และจิตใจกลับเป็นสิ่งที่คนหันมาใส่ใจกันมากขึ้นในโลกของการทำงานในปัจจุบัน
10. เมื่อเราสูญเสียความงดงามไปจากชีวิต เราก็จะเสียความละเอียดอ่อนทางใจและอารมณ์ไปเช่นกัน
ภาพลักษณ์ของแบรนด์เป็นสิ่งที่ลอกเลียนแบบกันไม่ได้ และสิ่งนี้จะแสดงให้เห็นถึงมุมมองด้านศิลป์ของบริษัทนั้นอย่างเต็มที่ และนี่เป็นเรื่องที่ศาสตร์ทำแทนไม่ได้ด้วย
หากแบรนด์ขาดความเข้าใจในศิลป์ ก็จะผลิตสินค้าที่น่าเกลียดโดยพึ่งพาแต่ทฤษฎีทางการตลาดแล้วทิ้งความงดงามรวมทั้งอัตลักษณ์ที่ดีงามออกไป
พบกับวิธีการพัฒนาด้าน “ศิลป์” ในตัวเองได้ในหนังสือ ‘เก่งด้วยศาสตร์ ชนะขาดด้วยศิลป์’
ยามางูจิ ชู เขียน
ฉัตรขวัญ อดิศัย แปล
ราคาปก 230 บาท
การันตีความน่าอ่าน:
✭ หนังสือรางวัล HR AWARD 2018 จากประเทศญี่ปุ่น
✭ คะแนนรีวิว 4.4/5 ในเว็บไซต์ www.amazon.co.jp
📲 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม/สั่งซื้อ: Inbox
Shopee: https://shp.ee/hwvknv9 (กดติดตามลด 5%)
LAZADA: https://s.lazada.co.th/s.gX0Wz (กดติดตามลด 5%)
#สำนักพิมพ์บิงโก | สำนักพิมพ์ที่นำความรู้เกี่ยวกับธุรกิจและพัฒนาตัวเองจากต่างประเทศส่งตรงถึงมือคุณ
#พัฒนาตัวเอง #หนังสือพัฒนาตัวเอง
#เก่งด้วยศาสตร์ชนะขาดด้วยศิลป์
โฆษณา