Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
บมจ.ธรรมนิติ
•
ติดตาม
5 พ.ค. 2022 เวลา 07:00 • ข่าว
เช็กก่อน! ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 ติด Covid-19 จะได้ค่าชดเชยอะไร เท่าไหร่บ้าง?
ช่วยเหลือค่าอะไรบ้าง?
ค่าบริการทางการแพทย์
●
ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติ
●
ค่าบริการ X-ray
●
ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตน
●
ค่าอาหาร 3 มื้อ , การติดตามอาการ , การให้คำปรึกษา
●
ค่ายาที่ใช้รักษา
●
ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่นๆ
●
ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนาม และสถานพยาบาล
ผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้รับเงินทดแทนเท่าไหร่?
- ลาป่วย 30 วันแรก ได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเกิน - 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์ขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคม
●
รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท (ตามใบรับรองแพทย์)
●
ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน
●
หากป่วยเรื้อรัง ไม่เกิน 365 วัน
ผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้รับเงินทดแทนเท่าไหร่?
●
รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 50%โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างที่ 4,800 บาท (ตามใบรับรองแพทย์)
●
ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน
●
ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรัง สามารถได้เงินทดแทน ไม่เกิน 365 วัน
●
ต้องมีการส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันเข้ารับการบริการทางการแพทย์
ผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้รับเงินทดแทนเท่าไหร่ ?
รับเงินทดแทนตามทางเลือก ดังนี้
1. เงินทดแทนการขาดรายได้ วันละ 300 บาท
●
รับการรักษาประเภทผู้ป่วยในรพ. /รพ.สนาม /Hospitel
●
ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี (ทางเลือกที่ 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วัน/ปี (ทางเลือกที่ 3)
2. เงินทดแทนการขาดรายได้ วันละ 200 บาท
●
พักรักษาตัวที่บ้าน ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปแต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี (ทางเลือกที่ 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วัน/ปี (ทางเลือกที่ 3)
3. เงินทดแทนการขาดรายได้ ครั้งละ 50 บาท
●
ไม่ได้เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในหรือไม่ได้กักตัว
●
มีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อสำนักงาน (เฉพาะทางเลือกที่ 1 และ 2 เท่านั้น สำหรับทางเลือกที่ 3 ไม่คุ้มครอง)
●
ไม่เกิน 3 ครั้ง/ปี
ประกันสังคม
โควิด
มาตรการช่วยเหลือ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย