#รู้จัก..."มะอึก" พืชต่างถิ่นรุกราน แต่ยังไม่รุกรานในประเทศไทย มีการส่งเสริมให้ใช้ประโนชน์ทางเศรษฐกิจ แต่ต้องมีมาตรการป้องกันเฉพาะด้วย
มะอึก ชื่อท้องถิ่น : มะเขือ มะปู (ภาคเหนือ), หมากอึก หมักอึก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ถิ่นกำเนิด อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ตรินิแดด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 50-150 ซม. ลำต้นและใบมีหนามแหลมและขนนุ่มปกคลุม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 10-23 ซม. ยาว 15-26 ชม. ปลายแหลม โคนเบี้ยว ขอบหยัก ฟัน ก้านใบยาว ประมาณ 7 ชม. ดอกแบบช่อกระจุก ออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยง เชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก สีเขียว กลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก สีขาวหรือสีม่วงอ่อน ผลรูปทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8-2 ซม. มีขนยาวปกคลุม เมื่อสุกสีเหลือง หรือสีเหลืองอมส้ม
นิเวศวิทยาและการแพร่กระจายพันธุ์ : มะอึกชอบขึ้นในที่โล่งแจ้งและที่ร่มรำไร ที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ ริมลำธาร ที่รกร้าง ชายป่า ที่ว่างในป่า ในชุมชน ที่ดินชุ่มชื้นและระบายน้ำได้ดี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด กระจายเมล็ดโดยนก สัตว์กินพืช มนุษย์
โทษ : แพร่กระจายได้เองในธรรมชาติ แก่งแย่งที่อยู่อาศัยของพรรณไม้พื้นเมือง คุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ก่อให้เกิดความ สูญเสียทางสิ่งแวดล้อม
ประโยชน์ : ผลรับประทานเป็นผัก ใส่แกง ในทางสมุนไพร รากกระทิง พิษไข้หัวทุกชนิด รากหรือผลละลายเสมหะ แก้ไอ ใบรักษาผิ ดอกรักษา โรคผิวหนัง ผลแก้ไขสันนิบาต ดับพิษร้อนภายใน เมล็ดแก้ปวดฟัน
#หมายเหตุ : มะอึก ถูกจัดให้เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน รายการที่ 3 ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นรุกราน มีประวัติว่ารุกรานแล้วในประเทศอื่น แต่ยังไม่รุกรานในประเทศไทย ประเภทที่มีการส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และจะต้องมีมาตรการป้องกันเฉพาะ
ที่มา : สํานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช http://portal.dnp.go.th/p/ForestResearch
โฆษณา