2 พ.ค. 2022 เวลา 12:19 • ข่าว
ผลกระทบที่หลายคนมองข้าม!! ยุโรปจะรับมือผู้อพยพชาวยูเครนอย่างไร?
1
ไฟสงครามที่ลุกลามไปบนแผ่นดินยูเครน ได้ส่งผลให้ประชากรชาวยูเครนหลายล้านคนต้องอพยพออกจากประเทศ
โดยข้อมูลล่าสุดเมื่อปลายเดือนก่อนชี้ว่า ตัวเลขผู้อพยพออกมาจากประเทศทะลุไปมากกว่า 5 ล้านคนแล้ว!!
3
ซึ่งปัญหานี้ เป็นอีกหนึ่งต้นทุนที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป ที่อาจจะสร้างผลกระทบขนาดใหญ่ได้ หากประเทศผู้รับผู้อพยพไม่เตรียมรับมือให้ดี
📌 สถานการณ์ทั่วไปของการอพยพ
อ้างอิงตัวเลขล่าสุดจากทาง องค์การสหประชาชาติ (UN) ตัวเลขผู้อพยพหนีไฟสงครามออกมาจากยูเครนได้ทะลุ 5 ล้านคนเป็นที่เรียบร้อย
1
ซึ่งประเทศที่รับผู้อพยพมากที่สุดในตอนนี้ เรียงลำดับ ได้แก่
  • 1.
    โปแลนด์ 3 ล้านคน
  • 2.
    ตามมาด้วย โรมาเนีย 8 แสนคน
  • 3.
    รัสเซีย 6 แสนคน และ
  • 4.
    ฮังการี 5 แสนคน
2
ที่น่ากังวลใจยิ่งไปกว่านั้น คือ ตัวเลขผู้อพยพออกนอกประเทศ 5 ล้านคน เป็นเพียงยอดครึ่งบนของภูเขาน้ำแข็งของประชากรที่ต้องพลัดถิ่นเท่านั้น
เพราะยังมีตัวเลขผู้ที่ต้องย้ายถิ่นฐานหนีสงครามภายในประเทศอีกมากกว่า 6 ล้านคนด้วย
 
โดยภูมิภาคที่มีผู้คนย้ายหนีออกมามากที่สุด ก็คือ บริเวณภาคตะวันออกของประเทศและบริเวณเมืองหลวงที่กรุงเคียฟ ซึ่งเป็นบริเวณที่ไฟสงครามลุกโชนมากที่สุด ยากแก่การอยู่อาศัยของประชาชน
 
ซึ่งปลายทางที่พวกเขาไปตอนนี้ ถ้าไม่มีครอบครัวหรือคนรู้จักอยู่ในประเทศนั้นๆ ก็ต้องไปพักอยู่ที่ศูนย์พักพิง
1
📌 ผลกระทบที่เริ่มมองเห็น
ประเทศที่เริ่มแสดงท่าทีว่าต้องการความช่วยเหลือทางด้านการเงินอย่างเร่งด่วน ก็ไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็นโปแลนด์ผู้ซึ่งรับผู้อพยพไปมากที่สุด
3
โดยพวกเขาบอกว่า ด้วยตัวเลขผู้อพยพในปัจจุบันนั้น จำนวนเงินที่ได้รับการสนับสนุนมาจากสหภาพยุโรปนั้นไม่เพียงพออย่างแน่นอน
ประเทศอื่นๆ ในยุโรปก็ได้รับหางเลขไปไม่มากก็น้อย กับค่าใช้จ่ายเพื่อที่จะใช้เพื่อการดูแลผู้อพยพที่เดินทางออกมา ทั้ง อาหาร ยารักษาโรค และที่พักอาศัย
อย่างไรก็ดี นั่นก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เมื่อพิจารณาในแง่ของมนุษยธรรม
นอกจากนี้ 27 ประเทศในสหภาพยุโรป ยังให้ “สิทธิพิเศษในการอยู่อาศัยและทำงานเป็นเวลา 3 ปี” กับประชาชนที่อพยพเข้ามาด้วย
ซึ่งนี่อาจจะสร้างทำให้เกิดปัญหาอีกระลอกตามมาก็ได้ หากไม่มีการวางแผนและจัดการอย่างเหมาะสม ซึ่งก็มีประเด็นต้องพิจารณาหลายประเด็น
1
ประเด็นแรก เป็นเรื่องของลักษณะงานที่ผู้อพยพมักจะได้ทำ โดยต้องอ้างอิงจากครั้งเมื่อปีค.ศ 2014 ที่เกิดวิกฤติไครเมียร์ ตอนนั้นก็มีประชากรชาวยูเครนหนีออกมาที่ยุโรปเช่นกัน
ซึ่งพอมาอาศัยอยู่แล้ว ด้วยข้อจำกัดด้านเชื้อชาติ ภาษา หรือทักษะก็ตามที คนเหล่านี้ก็มักจะหาได้แต่งานที่เป็นงานธรรมดา ที่อาจจะไปมองว่าเป็นการไป “แย่งตำแหน่งงานคนในประเทศ” ก็ได้
📌 ประเด็นหากสงครามยืดเยื้อ
ประเด็นต่อมาที่สำคัญ คือ ความยืดเยื้อของสงคราม
เพราะปัจจัยนี้ จะเป็นตัวกำหนดสำคัญที่ผู้อพยพจะตัดสินใจอยู่ยาวแค่ไหนด้วย ยิ่งถ้ารู้เร็วเท่าไรว่า สงครามจะจบแล้ว ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีประชากรเดินทางกลับประเทศยูเครนมากขึ้น ส่งผลต่อให้ประเทศที่รับผู้อพยพปลายทาง วางแผนและจัดการได้ง่ายขึ้น
1
แต่จากสถานการณ์ตอนนี้ การจะคาดเดาว่าสงครามจะยืดเยื้อไปแค่ไหน? แทบจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย
และถ้าสงครามมันยืดเยื้อยาวนานไปมาก จะเกิดอะไรขึ้น? เรื่องนี้อาจจะพอเทียบเคียงกับกรณีผู้อพยพจากสงครามซีเรียได้
เพราะสงครามในซีเรียยืดเยื้อมาเป็นเวลานานมากกว่า 10 ปีแล้ว และจนถึงในปัจจุบันก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลง
โดยทาง Pew Research Center ได้ทำการคำนวณเอาไว้ว่า วิกฤติผู้อพยพซีเรียถือเป็นวิกฤติที่มีจำนวนผู้อพยพสูงสุดในยุคสมัยใหม่ ถึง 6.8 ล้านคน (ข้อมูลวันที่ 25 มีนาคม)
ซึ่งก็ส่งผลให้มีค่ายผู้อพยพชาวซีเรียอยู่ใน 130 ประเทศทั่วโลก แต่ผู้อพยพส่วนใหญ่กว่า 5.5 ล้านคน ก็ไปอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ตุรกี เลบานอน อิรัก และอียิปต์
แต่คุณภาพชีวิตของคนเหล่านี้ ก็ไม่ได้ดีมากนัก เพราะประเทศปลายทางที่รับเข้ามา ก็ไม่ได้ให้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน หางานก็ยาก สุดท้ายก็มีชีวิตอย่างลำบาก
ซึ่งเรื่องนี้สหภาพยุโรปก็น่าจะคิดมาพอสมควร เพราะ ได้เสนอสวัสดิการทั้งสาธารณสุขและโรงเรียน แต่คิดว่า พวกเขาอาจจะยังมองในเงื่อนไขที่ว่า ปัญหาผู้อพยพจะเป็นเรื่องชั่วคราวเท่านั้น
พอถึงจุดหนึ่ง อาจจะมีกระแสต่อต้านตามออกมาจากประชาชนในประเทศมากขึ้น ซึ่งตอนนั้นก็จะเป็นสถานการณ์ที่ “กลืนไม่เข้า คลายไม่ออก”
4
ตอนนั้นคนที่น่าเห็นใจที่สุด ก็ยังเป็นผู้อพยพผู้ไม่มีทางเลือก ต้องดิ้นรนเมื่อชีวิตยังมีลมหายใจ
1
ขอให้สงครามจบโดยเร็ว และทุกคนได้กลับไปใช้ชีวิตที่บ้านได้อย่างมีความสุขครับ...
1
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
เครดิตภาพ : Sean Gallup/Getty Image
โฆษณา