Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ฐานเศรษฐกิจ_Thansettakij
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
3 พ.ค. 2022 เวลา 11:05
ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยเคล็ดลับ 6 วิธีรับความผันผวนของค่าเงิน เช็คเลย
ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยเคล็ดลับ 6 วิธีรับความผันผวนของค่าเงิน หลังมีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง ผู้ประกอบการควรรู้
จากกรณีที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาเปิดเผยข้อมูลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในรอบ 2 ปี คือ ปี 2559-2560 เงินบาทเปลี่ยนแปลงขึ้นลงถึง 4 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ.(แข็งค่าสุดเกือบ 32 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.และ อ่อนค่าสุดกว่า 36 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.)
ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า ภาคเอกชนควรบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินในสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
ทั้งนี้ แบงก์ชาติได้ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด และพร้อมดูแลหากเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติ
นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะนำ 6 วิธีรับมือความผันผวนของค่าเงิน
●
Forward การล็อกเรทอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้ากับธนาคาร
●
Options การประกันค่าเงิน
●
Futures การทำสัญญา ล็อกเรกล่วงหน้าผ่านตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย (TFEX)
●
Foreign Currency Deposit (FCD) การเปิดบัญชีฝากเงินตราต่างประเทศ
●
Natural Hedge การจับคู่รายรับและรายจ่าย ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
●
Local Currency การใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างกัน
6 วิธีรับมือค่าเงินบาท
อัตราแลกเปลี่ยนคืออะไร
●
อัตราแลกเปลี่ยน คือ ราคาของเงินสกุลหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง เช่น 1 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (ดอลลาร์ สรอ.) เท่ากับ 32.00 บาท
อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท
●
อัตราแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออก/นำเข้าต้องเผชิญ โดยการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะมีผลให้กระแสรายได้หรือรายจ่ายในรูปเงินบาทของธุรกิจมีความไม่แน่นอน ซึ่งอาจทำให้เกิดกำไรเพิ่มขึ้น หรือขาดทุนก็ได้.
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
thansettakij.com
ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยเคล็ดลับ 6 วิธีรับความผันผวนของค่าเงิน เช็คเลย
ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยเคล็ดลับ 6 วิธีรับความผันผวนของค่าเงิน หลังมีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง ผู้ประกอบการควรรู้
3 บันทึก
4
3
3
4
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย