3 พ.ค. 2022 เวลา 09:46 • ปรัชญา
Ose พญามารแห่งความเกลียดชัง
สวัสดีครับทุกคน ไม่รู้ว่าจะยังมีใครจำผมได้อยู่หรือเปล่า เพราะห่างหายจากการเขียนบทความในนี้ไปนานเลย วันนี้ผมกลับมาแล้ว กลับมาพร้อมความรู้ใหม่ๆ และมี Passion ในการเขียนมากขึ้นแล้ว
สำหรับเรื่องราวที่ผมอยากจะมานำเสนอกับท่านผู้อ่านในวันนี้ คือเรื่องราวของ 72ปีศาจ แห่งโซโลมอน ที่หลายๆคนอาจรู้จักคุ้นเคยกัน วันนี้ผมจะมานำเสนอแง่มุมในเชิงปรัชญา จิตวิทยา ว่าการศึกษาตัวตนของพวกเขาเหล่านี้มันให้อะไรกับเราบ้าง โดยวันนี้ผมจะพูดถึง ปีศาจที่ชื่อ Ose เป็นหลักนะครับ 😊
ปีศาจในทางจิตวิทยา และ ในทางปรัชญา เราสามารถเปรียบได้กับตัวตน ความรู้สึกนึกคิด สันชาตญาณ ความคิดที่แสดงออกมาทันทีหรือที่เรียกว่า จิตสำนึก แต่เป็นรูปหรือสภาวะที่ยังไม่ได้ถูกขัดเกลาหรือกลั่นกรอง
เพราะฉะนั้นแล้ว ปีศาจก็เปรียบได้กับเวลาที่คนเรามีความสามารถบางอย่าง แล้วยังไม่ผ่านการฝึกฝน เราอาจเก่งเรื่องนี้มาแต่กำเนิด แต่ถ้าไม่ขัดเกลาก็จะไม่เติบโตไปกว่านี้ หรือ เราแสดงออกทางความคิดและอารมณ์ด้วยความใจร้อน ถ้าขัดเกลาอารมณ์ความคิดอ่านให้มากขึ้น เราจะไม่ใจร้อน ใจร้อนน้อยลง และจะมีสภาวะผู้นำหรือกล้าคิดกล้าตัดสินใจมากขึ้น คิดไว ทำไว อย่างเฉียบขาด
นี่ก็จะเป็นมุมมองต่อตัวตนของปีศาจเหล่านี้คร่าวๆครับสำหรับการนำมาใช้เพื่อพัฒนาตนเอง
เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่า ที่วันนี้ผมหยิบยกปีศาจมาตนนึง มาดูกันครับว่า เขาสอนอะไรกับเราได้บ้าง การรับรู้เรื่องนี้มันให้อะไรกับเราได้บ้าง
Ose พญามารแห่งความเกลียดชัง มีความสามารถในการมอบความรู้ให้กับมนุษย์ได้ แต่เป็นในลักษณะที่กระตุ้นให้เราหลงลืมตัวเอง จนกลายเป็นเหมือนสัตว์ที่เป็นจ่าฝูง หลงคิดว่าตัวเองยืนอยู่บนจุดสูงสุดของวัฏจักร เพราะตัวเองมีภูปัญญา หรือความรู้ หรือพลังที่มาก ความฉลาดอันไม่ได้รับการยับยั้งชั่งใจ จนก่อให้เกิด Egoที่สูง หลงในอำนาจ หลงในตนเอง จนลืมว่าเราคือใคร
ปีศาจตนนี้มาในรูปลักษณ์ของเสือดาว สัตว์ที่ฉลาด มีความว่องไว หลายครั้งที่มันดูเหมือนคิดว่าตนเองร้ายกาจที่สุด เก่งที่สุด และพลาดท่าเพราะความโอหังนั้น
ในไพ่ทาโรต์สำรับ Demons of Ars Goetia Tarot เชื่อมโยง โอเซ่ เข้ากับ ไพ่4ดาบ นั่นเพราะอะไรกัน ?
ในมุมมองนี้จะขอหยิบยกคติมุมมองไพ่ 4ดาบ จากระบบ Tarot De Marseille นะครับ เพราะการตีความนั่นเหมาะสมและความหมายเป็นไปตามตัวตนของไพ่มากกว่าระบบ RWS ที่เรามักเห็นกันจนชินตา
ไพ่ 4 ดาบ
เลข4 เป็นระยะที่เราได้ก้าวผ่านการระเบิดออก หรือ การปลดปล่อยตนเองในระยะที่ 3 มาแล้ว ในระยะที่3นั้น เราได้เชื่อมโยงตนเอง กับธาตุดิน หรือ โลกใบนี้เป็นครั้งแรก มันเป็นระยะแรกแห่งจุดเริ่มต้นของชีวิต หรือการกระทำ แต่มันยังคงคาดประสบการณ์ ไร้ทิศทาง เมื่อก้าวเข้าระยะที่ 4 เราได้ลงหลักแห่งความมั่นคงต่อโลกอย่างแท้จริงแล้ว ดาบนั้นคือสัญลักษณ์แห่งปัญญา ความคิด ทักษะในการการคิดการพัฒนาจิตสำนึกตนเอง
4 ดาบจึงมีมุมมองที่บอกถึง ความคิดอันมั่นคง การตีกรอบ จัดระเบียบทางความคิดตนเองภาวะการหยุด ยับยั้งที่จะแสดงออก หรือคิดอะไรที่มากไปกว่านี้ มันจึงมีความหมายที่เชื่อมถึงสติความมั่นคงของการมีปัญญา
เพราะฉะนั้นแล้ว ปีศาจ โอเซ่ จึงเป็นภาพแสดงให้เราเห็นถึงสภาวะของการมี อีโก้ที่สูงเกินไป จนเรากลายเป็นมลพิษของคนรอบข้างหรือสังคม ความหลงในความฉลาดของตนเอง ภาพสะท้อนนี้ สอนให้เรารู้จักความพอดีในการแสวงหา และการรู้จักยับยั้งตนเอง
หลายครั้งคนเรายิ่งกระหายในความรู้มากขึ้น เรามีกิเลส ความหลงในความรู้ เราจะเริ่มลืมจุดเริ่มต้นของตนเอง เราจะคิดว่าเราเก่งที่สุด รู้มากที่สุด จิตใจก็จะแปดเปื้อน
เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่คิดจะทำอะไร ต้องการเรียนรู้หรือเพิ่มทักษะอะไรให้ตนเอง อย่าลืมว่าจุดเริ่มต้นของเราคืออะไร จุดเริ่มต้นนั้นคือการต้องการพัฒนาตนเอง มิใช่การอยากเหนือคนอื่น ความรู้นั้นมิใช่สิ่งที่ใช้เพื่อเป็นใหญ่กว่าใคร เพราะประโยชน์ของมันคือสร้างความเข้าใจในต่อสรรพสิ่งมากขึ้น
จงรู้จักควบคุมความคิดอันกระหายและเร้าร้อนที่ต้องการขึ้นเป็นราชาของตนเอง ทุกครั้งที่คนเราเติบโตมากขึ้น รู้มากขึ้น หรือมีตำแหน่งที่สูงขึ้น หลายครั้งที่คนเรามักเผลอลืมตัวตนไป ถึงจะไม่ใช่ทุกคน แต่สันชาตญาณ หรือตัวตน ความคิด ที่ยังไม่ถูกขัดเกลานี้ เรามีอยู่ภายในตัวเองกันทุกคน ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรู้จักควบคุมมันได้มากแค่ไหน
อีโก้ที่สูงเกินไป ก็ไม่ต่างอะไรจากนกที่หลงคิดว่าตนเองเป็นเจ้าแห่งท้องฟ้า ฉันมีปีกบินได้สูงเหนือใครจนลืมคิดไปว่าเราต่างมีขีดจำกัดในตนเอง นกที่บินสูงเกินระดับของตนเอง คือปีกหักและร่วงหล่นลงมาสู่พื้น
- โทนี่ นักอ่านไพ่พลังบวก -
โฆษณา