4 พ.ค. 2022 เวลา 02:53 • หุ้น & เศรษฐกิจ
... "จุดกำเนิดของตึกร้าง Ghost Tower : สาธรยูนีค = วิกฤติ 2540, ปรส. และนักลงทุนต่างชาติที่อิ่มอร่อย วิญญาณเจ้าที่ ?"
... ก่อนวิกฤติฟองสบู่ต้มยำกุ้ง 2540(1997)
มีลูกค้ามาจ่ายเงินจองห้องชุด ร้อยละ 90 งานโครงสร้างเสร็จเกือบสมบูรณ์ เหลือแค่ "รอเงินกู้จากสถาบันการเงิน"( เงินทุนหลักทรัพย์ไทยเม๊กซ์) มาสร้างส่วนที่เหลือเช่น งานสถาปัตย์ ตกแต่งภายใน งานระบบ โครงการก็จะเสร็จสมบูรณ์
... วงเงินกู้ที่ทางเจ้าของ "สาธรยูนีค" ขอกู้จาก "ไทยเม๊กซ์" นั้นอยู่ที่ 600 ล้านบาท ( งบก่อสร้างก่อนวิกฤตินั้นไม่แพงมาก น้ำมัน ปตท.ยังเป็นของคนไทยเต็มร้อย ) แต่ไทยเม๊กซ์จ่ายเงินกู้ให้แค่ 441 ล้านบาท ขาดอีก159 ล้าน แต่ ไทยเม๊กซ์เจ๊งก่อนเลยไม่มีเงินส่วนที่เหลือให้ "เจ้าของสาธรยูนีค" ไปสร้างต่อ
... ทางเจ้าของ"สาธรยูนีค" ก็เลยเงินขาด ตอนนั้นหาเงินกู้ยาก เพราะต้มยำกุ้งกระเทือนไปหมด ขาดเงินการก่อสร้างสะดุด
... 2540 ฟองสบู่แตก รัฐบาลไทยลอย (ลด) ค่าเงินบาท
... ปี 2540 , รัฐบาลลุงจิ๋วที่สร้างปัญหาผลาญเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไป เพื่อรักษาค่าเงินที่ 25 บาทต่อหนึ่ง ดอลล่าร์ เพื่อเอาใจผู้ส่งออก-นำเข้า เงินธนาคารชาติหายไป (ระหว่าง 600,000 -700,000 ล้านบาท ) ลุงจิ๋วออกไป ประชาธิปัตย์เข้ามา รัฐบาลที่มีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีขึ้นมาบริหารประเทศแทน ช่วงเดือน พฤศจิกายน 2540 กระบวนการของ "ปรส." จึงเริ่มขึ้นตั้งแต่บัดนั้นตั้ง ปรส.ขึ้น เพื่อหวังแก้ปัญหา สถาบันการเงิน 58 แห่งที่ถูกปิด
... "องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน" (ปรส.) เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ 2."เพื่อช่วยเหลือผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่สุจริตของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ" 3.เพื่อชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการในกรณีที่บริษัทดังกล่าวไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้
... "พ.ร.บ.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540" กำหนดให้เกิดองค์การ ปรส.ดังกล่าวในสมัย พล.อ.ชวลิต และ พ.ร.บ.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายอมเรศ ศิลาอ่อน เป็นประธานกรรมการ ปรส.ในขณะนั้น
***... กระบวนการบริหารของ ปรส.ในเวลาต่อมา "ถูกตั้งข้อสงสัยในความโปร่งใส" ที่ทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยใน "พฤติกรรมของคนในองค์การนี้" อย่างหนาหู ทำนองว่า "เอื้อประโยชน์แก่บริษัทนายทุนต่างชาติ" โดยเฉพาะบริษัท เลห์แมน บราเธอร์ส (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทปรึกษาที่ ปรส.จ้างมาให้คำปรึกษาด้านวาณิชธนกิจ โดยทำสัญญาว่าจ้างวันที่ 4 ธันวาคม 2541 แต่ในสัญญาว่าจ้างกลับกำหนดให้เริ่มมีผลเป็นที่ปรึกษาย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2541
***... "เลห์แมน บราเธอร์ เล่นสองบทบาท เป็นที่ปรึกษา ปรส. และก็เป็น นักลงทุนต่างชาติที่มาซื้อ "สินทรัพย์ราคาเลหลังถูกมาก" จาก ปรส. ด้วย ... ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน
... ปรส. ไม่ได้แยกแยะหนี้ดี หนี้เสีย แต่รีบรวบหนี้เป็นกองเดียวแล้ว "ขายถูกๆ" ให้ "นักลงทุนฝรั่ง" แบบอิ่มท้อง ของดีแต่ราคาถูก
... สถาบันการเงินทั้ง 58 แห่ง ที่ถูกปิดกิจการมูลค่า 851,000 ล้านบาท แต่ "ปรส." ไปประมูลขายแบบขาดทุนหนักราคาเพียง 190,000 ล้าน ... ขาดทุนเกินกว่า 600,000 ล้านบาท ( แต่เจ้าหนี้ใหม่= นักลงทุนต่างชาติ สามารถฟ้องจี้กับเจ้าของโครงการเดิมด้วยจำนวนหนี้เต็มราคา )
*** เช่น ... "เจ้าหนี้ใหม่" ที่มาซื้อหนี้เสียของ "ไทยเม๊กซ์" ในโครงการสาธรยูนีค ที่ซื้อหนี้เสียมาแค่ 72 ล้าน แต่สามารถอ้างอำนาจศาลมาฟ้องเอาหนี้จำนวนเต็ม 441ล้าน ที่ "เจ้าหนี้เก่า"(ไทยเม๊กซ์)ให้กู้มาได้ เป็นการเอาเปรียบ "เจ้าของโครงการของไทย" (สาธรยูนีค)ในตอนนั้นอย่างมาก
... การจำหน่ายสินทรัพย์หลักของสถาบันการเงิน 58 แห่ง ที่ถูกสั่งปิดถาวร กำหนดให้ผู้มีสิทธิเข้าประมูลต้องเป็น "นักลงทุน" เท่านั้น "เจ้าของสินเชื่อเดิม" จะเข้าร่วมประมูลไม่ได้ จึงเป็นประเด็นที่น่าเคลือบแคลงในการกันสิทธิ์ให้เฉพาะ "นายทุนต่างชาติ" ที่เงินหนา พิมพ์เงินจากอากาศได้
***... "ดุสิต ศิริวรรณ" เขียนไว้ ว่า…เรื่องของการคอร์รัปชั่นที่เรียกกันตามความเข้าใจว่า "การโกงกิน" คงจะไม่มีองค์กรของรัฐหน่วยงานใดในประวัติศาสตร์ชาติไทยจะปรากฏตัวเลขการโกงกินมากมายมหาศาลเท่ากับ"องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.)"
..ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหาร ปรส.บางคน โดยมีนักการเมืองบางคนที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในเวลานั้น เป็น "ไอ้โม่ง" อยู่เบื้องหลัง กอบโกยทรัพย์สินเงินทองจากการโกงกินคราวนั้น ไปฝากไว้กับสถาบันการเงินในต่างประเทศ แล้วกันเงินจำนวนหนึ่งไว้หลายพันล้านบาท "เพื่อปิดปากบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้อง" ทั้งทางตรงทางอ้อม ซึ่งประกอบด้วย นักการเมืองบางกลุ่มบางพวกบางแขนงไม่ให้แพร่งพรายหรือเปิดโปงขบวนการโกงกินอย่างมโหฬารในการขายทรัพย์สินของไทยด้วยกัน
... นักธุรกิจอิสระ "ณรงค์ โชควัฒนา" ได้กล่าวถึงเรื่องนี้อย่างเผ็ดร้อนว่า…"ปรส.สร้างความเสียหายให้แก่ประเทศไทยอย่างมาก เป็นประวัติศาสตร์จากการประมูลทรัพย์ที่เป็นสินเชื่อของสถาบันการเงิน 58 แห่งให้ต่างชาติในราคาถูก จนทำให้ประเทศชาติเสียหายกว่า 6 แสนล้านบาทนั้น ไม่ใช่เรื่องธรรมดา ผมถือว่าเป็นความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ขนาดว่า ตั้งแต่มีประเทศไทย หากรวมความเลวของคนคดโกง ทุจริตคอร์รัปชั่นประเทศชาติทุกคนมารวมกันแล้ว ความเสียหายของคนเหล่านั้นยังไม่ถึง 6 แสนล้านบาทเลย เรื่องนี้จึงปล่อยให้ผ่านไปเฉยๆ ไม่ได้
... "การนำทรัพย์สินมาจัดออกเป็นกองใหญ่ๆ แต่ละกองมีมูลค่าถึง 5,000 ล้านบาท ทำให้ผู้ประมูลที่เป็นคนไทยซึ่งขณะนั้นประสบกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่สามารถเข้าประมูลแข่งขันกับต่างชาติได้ หรือการอนุญาตให้บริษัทต่างชาติซึ่งรู้ข้อมูลภายในเกี่ยวกับการประมูลของ ปรส.เป็นอย่างดีเข้าประมูลแข่งขันด้วย
ทำให้มองได้ว่าผู้ดูแลเรื่องการประมูลของ ปรส.อาจจะได้ประโยชน์ส่วนตัว เนื่องจากคนที่มีข้อมูลภายในจะได้ประโยชน์จากการประมูลครั้งนั้นเป็นหมื่นล้านบาท จึงเป็นเรื่องไม่ยากเลยที่จะประเคนเงินเข้ากระเป๋าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสัก 500-600 ล้านบาท หรือพันล้านบาท"
***... ข่าวเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2549, "ดีเอสไอ" สรุปสำนวนคดี "ปรส.ชี้การเร่ขายสินเชื่อที่อยู่อาศัย 58 สถาบันการเงิน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย" ... กำหนดหลักเกณฑ์เอื้อประโยชน์ให้เอกชน ทำรัฐเสียหายกว่า 8.5 แสนล้าน หลบเลี่ยงภาษี ออกหมายเรียกนิติบุคคล และกรรมการ ปรส.ชุดแรก อย่างน้อย 5 ราย มารับทราบข้อหา
... จากจุดนั้น "สาธรยูนีค" จึงประสบกับวิกฤติการทางการเงิน ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายให้กับ "เจ้าหนี้ใหม่" ( เปลี่ยนจาก ไทยเม๊กซ์) ที่ฟ้องจะเอาเงินคืนให้ครบ 441 ล้านบาท ที่ได้กำไรมาก จากซื้อแค่ 72ล้านบาท
... แต่เจ้าของสาธรยูนีค พยายามต่อสู้เพราะว่าคุณพ่อตั้งใจที่จะสร้างจนเสร็จเพื่อให้ลูกค้าที่จองมาได้อยู่จริงๆ
... แต่การจะหานักลงทุนมาซื้อไปนั้นติดปัญหามากมายทั้งทางกฏหมาย ธนาคารไม่กล้าปล่อยกู้และราคาตกลงกันไม่ได้ ... รวมทั้งราคาก่อสร้างก็แพงมากขึ้นจากแต่เดิม ( หลังจาก "ปตท." องค์กรน้ำมันของไทยแท้ๆ ถูกขายให้ฝรั่งมาเป็นหุ้นหลัก ทำให้ราคาแพง การขนส่งราคาก่อสร้างก็สูงขึ้นอีก )
***... หลังจากถูก "เจ้าของใหม่" บี้ในชั้นศาลอยู่นาน ที่ทาง "สาธรยูนีค" ไม่สามารถหาจ่ายหนี้ได้ ( มีหนี้รอบด้าน ทั้งเจ้าหนี้ใหม่ เจ้าหนี้ผู้รับเหมา ) ศาลก็ตัดสินและให้กรมบังคับคดี ในปี 2555 ( 2012 ) ให้เอาทรัพย์สินขายทอดตลาดไป ซึ่งตามปรกติจะจ่ายให้เจ้าหนี้ใหม่ก่อน เป็นไปได้สูงที่เงินจะไม่เหลือมาจ่ายให้กับ "คนจองห้องชุด" ที่เก็บเล็กผสมน้อยมาซื้อมาจอง แม้แต่บาทเดียว ... ที่เป็นความตั้งใจของ "เจ้าของสาธรยูนีค"
... "ติดปัญหาการประมูลอีก"
... "การขายทอดตลาด" ต้องทำโดย "การประมูล" แต่ก็ติดปัญหาอีกคือโครงการนี้เกิดจากการสร้างที่ดินสองแปลง มีอาคารคล่อมบน "ถนน" คือมี "ถนนเจริญกรุง51" คั่นอยู่ แต่ว่า "ที่ดินถนนเจริญกรุง 51"เป็นถนนส่วนบุคคลนั้นเป็นของ "เจ้าของสาธรยูนีค" ( ที่ดินแปลงที่สาม) ไม่ได้อยู่ในส่วนหนึ่งของการประมูลจาก ปรส. แต่แรก ... ถ้าคนจะมาประมูลซื้อจะต้องได้รับอนุญาติจาก "เจ้าของถนน" ( ที่ดินแปลงสาม ) เท่านั้นจึงจะก่อสร้างได้ นักลงทุนจึงลังเลไม่กล้าที่จะประมูลไป
... ยิ่งกว่านั้น "ปัญหาใบอนุญาตก่อสร้าง" ก็เป็นอีกปัญหาใหญ่อีก เพราะได้รับการอนุญาตก่อสร้างตั้งแต่ ปี 2536 ตามพรบ.ควบคุมอาคารฉบับเดิมที่เก่ามาก ที่ต่ออายุมาทุกปี "เป็นในนามของอาจารย์รังสรรค์และบริษัทสาธรยูนีค" ... ถ้าเจ้าของใหม่ที่ประมูลได้ จะไปขอรับยื่นใบอนุญาตใหม่ต้องอยู่ภายใต้เนื้อหาของ พรบ.ควบคุมอาคารฉบับใหม่ที่มีกฏระเบียบละเอียดมากกว่าเดิม เช่นเรื่องทำรายงานสิ่งแวดล้อมเป็นต้น งานยิ่งยากไปอีก
... ทางเจ้าของเดิมก็อยากขายในราคาในปัจจุบันที่แพงกว่าเดิมมาก เพื่อจะเอาเงินมาเยียวยาให้กับ "ผู้จองห้องชุดที่จ่ายเงินไปแล้ว" ด้วย จึงยังมีความคาราคาซังจนถึงปัจจุบัน ... ที่เจ้าของเชื่อว่าน่าจะมีอำนาจลี้ลับบนที่ดินนี้ ( บ้างก็ว่าเงาตึกไปทับวัดยานนาวา )
... ด้วยเหตุนี้ "สาธรยูนีค" หรือ "Ghost Tower" ในความเข้าใจของคนทั่วโลก จึงยังไม่ได้สร้างให้แล้วเสร็จในปัจจุบัน
... คัดย่อบางส่วนจากหนังสือ "Ghost Tower" โดยอาจารย์พรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ สนพ. Line Zenn
Cr.Jeerachart Jongsomchai
โฆษณา