4 พ.ค. 2022 เวลา 02:54 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การเดินทางด้วยความเร็วเหนือแสง เหมือนในหนังไซไฟ อาจไม่ไกลเหนือความคาดหมายแล้ว เมื่อการวิจัยชิ้นใหม่ โดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ได้ค้นพบทฤษฎีการเดินทางด้วยความเร็วเหนือเสียง และคาดว่าอาจได้เห็นโฉมหน้าของการเดินทางรูปแบบใหม่นี้ในอีก 10 ปีข้างหน้า
ยกตัวอย่างดวงดาวที่ใกล้กับระบบสุริยะที่สุด คือ ดาว Proxima Centauri ซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 4.25 ปีแสง หากใช้การเดินทางด้วยยานอวกาศทั่วไป จะใช้เวลาประมาณ 50,000-70,000 ปีกว่าจะไปถึง และหากใช้เทคโนโลยีจรวดที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ จะใช้เวลาประมาณ 100 ปี แต่ด้วยเทคโนโลยีความเร็วเหนือแสงนี้ จะใช้เวลาประมาณ 4 ปี กับอีก 3 เดือนเพื่อไปถึงที่นั่นได
การเดินทางด้วยความเร็วเหนือแสง จะเกิดขึ้นได้ในช่วงชีวิตของเรา ซึ่งอาจเริ่มจากการพัฒนาระบบเดินทางอวกาศที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ไม่สูงมาก รวมทั้งเร่งการพัฒนาการเดินทางผ่านการสร้างคลื่นโซลิตอน แม้จะเป็นขั้นตอนที่ยากแต่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะเขาคาดว่าจะเกิดขึ้นได้ในระยะ 2-3 ปีต่อจากนี้ และระบบการเดินทางด้วยระบบคลื่นเดี่ยวทรงสภาพเต็มรูปแบบจะเกิดขึ้นได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า
โฆษณา