4 พ.ค. 2022 เวลา 06:20 • สุขภาพ
🤔 Case ในร้านยา​ 🤔
เอ็นร้อยหวายอักเสบ​ แต่เป็นโรคหัวใจ​
จ่ายยาอะไรดี
🔰ยาบรรเทาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์...กับผลต่อหัวใจและหลอดเลือด🔰
💥ยากลุ่ม NSAIDs (Nonsteroidal anti-inflammatory drug) หรือยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์.อาทิเช่น​
ไอบูโปรเฟน, ไดโคลฟีแนก, นาโพรซิน, มีเฟนามิก, ไพรอกซิแคม​
เป็นยาแก้ปวดลดอักเสบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย​ ซึ่งอย.ได้ระบุคำเตือน
“ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตีบตันของหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจโดยเฉพาะ เมื่อใช้ยาในขนาดสูงเป็นเวลานาน”​
💥สำหรับยาNSAIDsกลุ่ม selective COX-2 inhibitors เช่น
มีล็อกซิเคม, เซเรคอกสิบ, เอทอริคอกสิบ อย.ได้ระบุคำเตือน
“ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ หรือหลอดเลือดสมอง”
💞ผลของยา NSAIDs ที่ทำให้เกิดการคั่งของน้ำ ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น​ ส่ง​ผลให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น​ หรือทำให้มีลิ่มเลือดหรือเกิดก้อนเลือดอุดตันบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจซึ่งอาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจนถึงกล้ามเนื้อตายได้
ดังนั้น การกินยา​ NSAIDs.สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้
นอกจากนั้นการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน ความดันโลหิตสูง และภาวะลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด​ ยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังมีอาการแย่ลง​ และเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้
โดย​ ยา​ NSAIDs สามารถเพิ่มความเสี่ยงในผู้ป่วยโรคหัวใจในกลุ่มต่างๆได้ ดังนี้
💔ผู้ป่วย Myocardial infarction (MI) NSAIDs เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด Recurrence MI 1.25-1.63 เท่า และเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิต 1.5-2.8 เท่า
ซึ่งยาที่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงสูง ได้แก่ Diclofenac, Ibuprofen และ Celecoxib
ยาที่เพิ่มความเสี่ยงได้ต่ำ คือ Naproxen
ดังนั้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจเลือกใช้ Naproxen
💖ผู้ป่วย Stroke NSAIDs เพิ่มความเสี่ยงในการเกิด Ischemic stroke มากกว่า Hemorrhagic stroke
ยาที่พบว่าเพิ่มความเสี่ยงสูง ได้แก่ Naproxen
ส่วน Celecoxib มีความเสี่ยงในการเกิดต่ำ
ดังนั้นในผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจเลือกใช้ Celecoxib
💗ผู้ป่วย Heart failure NSAIDs เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการหัวใจล้มเหลวกำเริบและเพิ่มอัตราการนอนโรงพยาบาลได้สูง จากการที่ทำให้เกิดการคั่งของเกลือมายิ่งขึ้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ NSAIDs ในผู้ป่วยกลุ่มนี้
💘ผู้ป่วย Hypertension NSAIDs เพิ่ม Systolic blood pressure (SBP) และ Mean arterial blood pressure (MAP) ได้ ซึ่งยาที่เพิ่ม SBP และ MAP ได้แก่ Indomethacin, Piroxicam ถ้าจำเป็นต้องใช้ NSAIDs ในระยะยาวควรติดตามความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด
💓ผู้ป่วย Atrial fibrillation (AF)
NSAIDs เพิ่มอุบัติการณ์การในการเกิด AF จากการที่ผู้ป่วยมีโรคร่วมอื่นๆแล้วพัฒนากลายเป็น AF ต่อมา พบอุบัติการณ์การเกิด AF สูงในผู้ป่วยไตเรื้อรัง, หอบหืด และ ปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ใช้ Selective COX-2 (เช่น Celecoxib)
- ยา NSAIDs ชนิดทาภายนอก สามารถใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากเป็นยาใช้เฉพาะที่จึงดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อย และไม่ทำให้เกิดผลที่ได้กล่าวไปข้างต้น
- เมื่อกินยา NSAIDs แนะนำดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปที่ไต ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดไตวายเฉียบพลันได้ ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีโรคร่วมที่ต้องจำกัดปริมาณน้ำในแต่ละวันควรจำกัดน้ำตามคำแนะนำของแพทย์
- ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs เนื่องจากยาอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้
- ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันมันในเลือดสูง หรือมีโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ๆ อยู่ก่อน เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่ม NSAIDs ชนิดที่มีความสามารถในการยับยั้งเอนไซม์ COX-2 ได้มาก เช่น เซเลค็อกสิบ เอทอริค็อกสิบ เป็นต้น
- หากผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดจำเป็นต้องใช้ยากลุ่ม NSAIDs แนะนำให้ใช้.ยานาพร็อกเซน.ในขนาดต่ำที่สุดและใช้เป็นระยะเวลาสั้นที่สุด เนื่องจากมีการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีความปลอดภัยในผู้ป่วยกลุ่มนี้มากกว่ายา NSAIDs ชนิดอื่น
- แนะนำให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงหลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs และหากจำเป็นต้องใช้ แนะนำให้กินยาขนาดต่ำที่สุดที่สามารถบรรเทาอาการปวดและอักเสบได้ และไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 1-2 สัปดาห์ พร้อมทั้งวัดติดตามความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่ามีความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ ควรหยุดยาแล้วรีบไปพบแพทย์​
หากผู้ป่วยมีข้อบ่งใช้ NSAIDs และมีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย แต่ความดันโลหิตยังไม่สูงมาก หรือ ยังสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ในช่วงเป้าหมาย
▪️ให้พิจารณาว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ NSAIDs ยาวนานมากกว่า 1 สัปดาห์หรือไม่
▫️หาก “ใช่” ให้เลือกใช้ NSAIDs ที่มีผลเพิ่มความดันโลหิตเป็นลำดับรองลงมา คือ celecoxib และยังคงต้องเฝ้าระวังผลต่อความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด
▫️ถ้าผู้ป่วยมีข้อห้ามใช้ยา celecoxib เช่น มีโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้เปลี่ยนไปใช้ยาแก้ปวดกลุ่มอื่นแทน เช่น paracetamol หรือ NSAIDs ในรูปแบบยาทาเฉพาะที่
▪️หากมีข้อบ่งใช้ NSAIDs แต่ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง และต้องการใช้ NSAIDs ในระยะสั้นๆ (น้อยกว่า 1 สัปดาห์) อาจเลือกใช้ NSAIDs ที่มีหลักฐานว่าเหนี่ยวนำให้เพิ่มความดันโลหิตได้น้อย เช่น naproxen เป็นต้น แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังผลต่อความดันโลหิต และระบบทางเดินอาหารส่วนบน อย่างใกล้ชิด
🔴สำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง และไม่สามารถคุมความดันโลหิตได้ห้ามใช้ NSAIDs​
.
.
.
ภาพจาก
Non-steroidal anti-inflammatory drugs and risk of cardiovascular disease in patients with rheumatoid arthritis: A nationwide cohort study
Balancing Cardiovascular Risks and Gastrointestinal Outcomes in NSAID Users
.
.
.
.
.
Ibuprofen ขนาดสูง (≥2,400 มิลลิกรัม/วัน) เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
.
กิน ไอบูโพรเฟน(Ibuprofen) ในปริมาณมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
“ทำไมเวลาจะใช้ NSAIDs ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด cardiovascular disease (CVD) ถึงมีคำแนะนำให้เลือกใช้ naproxen ?”
จากหลาย ๆ การศึกษาของการใช้ NSAIDs กับผลเรื่อง cardiovascular safety นั้นมีแนวโน้มที่ไปในทิศทางเดียวกันว่า naproxen เป็น lower risk NSAIDs ต่อการเกิด CVD เมื่อเทียบกับ NSAIDs และ COXIBs ตัวอื่น ๆ บทความนี้เราจะมาดู
กันครับว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
.
1. Naproxen เป็น NSAIDs ที่ค่อนข้างจำเพาะต่อ COX-1 มากกว่า COX-2 (จำเพาะกว่าประมาณ 5 เท่า) เนื่องจาก COX-1 นี้จะเกี่ยวข้องกับการสร้าง thromboxane A2 (TXA2) ซึ่งมีฤทธิ์ platelet aggregation, vasoconstriction, และ increase vascular and cardiac remodeling ดังนั้นการที่ naproxen สามารถยับยั้ง COX-1 ได้ค่อนข้างมากจึงมีผลยับยั้งการเกิดผลต่าง ๆ ของ TXA2 ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของการเกิด CVD ได้นั้นเอง
2. การที่ยาไปยุ่งกับ COX-2 ค่อนข้างน้อยจึงช่วยลดโอกาสเกิด CVD ได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากการยับยั้ง COX-2 จะทำให้การสร้าง PGI2 ซึ่งมีฤทธิ์ cardioprotective ได้แก่ vasodilation, inhibit platelet aggregation ลดลง ทำให้การยับยั้ง COX-2 จะส่งผลเสียให้เกิด CVD ได้นั้นเอง
3. คุณสมบัติที่สำคัญของ naproxen ที่แตกต่างจาก NSAIDs ตัวอื่นอย่างหนึ่งคือ ยามี half life ค่อนข้างนาน (ประมาณ 12 – 17 ชั่วโมง) ดังนั้นฤทธิ์ในการยับยั้ง TXA2 จึงอยู่ได้นานกว่ายาตัวอื่น ๆ ซึ่งการที่ยาสามารถยับยั้งได้ TXA2 ได้นานทำให้ระดับยาอยู่ในร่างกายนานเพียงพอให้เกิดฤทธิ์ inhibit platelet activation ได้
4. มีการศึกษาว่า naproxen ไม่เพิ่มความดันโลหิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงอาจเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด CVD
บทความนี้เป็นเพียงสรุปสั้น ๆ นะครับยังไงสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างเลย แอดอ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นบทความที่น่าสนใจมาก ๆ
สุดท้ายนี้อย่าลืมว่าการที่ naproxen ยับยั้ง COX-1 ได้จำเพาะค่อนข้างมากดังนั้นผลข้างเคียงที่สำคัญเลยคือ การเกิด gastrointestinal side effect ที่สามารถพบได้มากกว่ายาที่ยับยั้ง COX-2 ได้จำเพาะกว่า ดังนั้นหากจำเป็นต้องใช้ยาชนิดนี้เป็นระยะเวลานาน ควรแนะนำให้ใช้ยาในกลุ่ม PPIs ควบคู่ไปด้วยนะครับ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Angiolillo D, Weisman SM. Clinical Pharmacology and Cardiovascular Safety of Naproxen. Am J Cardiovasc Drugs 2017; 17(2): 97–107.
• กลุ่ม NSAIDs ประกอบด้วยยาอะไรบ้างและใช้ทำอะไร
ใช้บรรเทาอาการปวด อักเสบ หรือลดไข้ได้ ซึ่งแพทย์สั่งใช้ยาในกลุ่มนี้เพื่อบรรเทาอาการปวดให้กับผู้ป่วยบ่อยครั้ง ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น ibuprofen, diclofenac, indomethacin, celecoxib, etoricoxib, meloxicam เป็นต้น
โดยผู้ป่วยแต่ละรายอาจได้ผลลัพธ์จากยาแต่ละตัวที่ดีแตกต่างกันออกไป กล่าวคือบางคนอาจใช้ ibuprofen แล้วหายปวดแต่อีกคนใช้แล้วไม่หายแต่ใช้ diclofenac แล้วหายปวดได้ ในกรณีนี้รวมถึงผลข้างเคียงจากยาด้วยเช่นกัน เหมือนคำที่ว่าแต่ละคนถูกกับยาแต่ละตัวไม่เหมือนกัน
ซึ่งยากลุ่มนี้มักเป็นส่วนประกอบของยาชุดแก้ปวดต่างๆที่ถูกนำมาขายในร้านชำหรือร้านค้าต่างๆ ซึ่งการใช้ยานี้โดยไม่รู้ตัวอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆตามมาได้ ดังนั้นการเลือกซื้อยาใช้เป็นเรื่องที่สำคัญควรเลือกซื้อยากับร้านยาขายที่ได้รับอนุญาตที่มีเภสัชกรเป็นผู้จ่ายยาทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการซื้อยาจากร้านขายของชำหรือหาบเร่ที่จำหน่ายยาชุดเนื่องจากอาจได้รับยาที่ไม่เหมาะสมกับตัวผู้ป่วยเองได้
• ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ผลข้างเคียงจากยา NSAIDs อาจเกิดขึ้นได้ขึ้นกับโรคประจำตัวของผู้ป่วยด้วย ซึ่งหลักการลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงลงได้ถ้าใช้ยาในขนาดที่ต่ำที่สุดที่ได้ผล และใช้ในเวลาที่จำเป็นเท่านั้น โดยผลข้างเคียงสำหรับผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ อาจเกิดการระคายเคืองทางเดินอาหาร แสบท้องได้ สามารถใช้ยาบรรเทาอาการเช่นยาลดกรดได้
แต่หากผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคหัวใจ หรือมีประวัติเลือดออกในทางเดินอาหารมาก่อนจะมีความเสี่ยงในการเกิดการกำเริบของโรคประจำตัวได้ ดังนั้นยากลุ่มนี้ควรใช้ในการดูแลของแพทย์และใช้ตามความจำเป็นเท่านั้น
• ข้อควรระวังเมื่อได้รับยาในกลุ่มนี้
1. การใช้ยา NSAIDs ควบคู่กับ aspirin อาจทำให้ผลต้านการเกิดเกร็ดเลือดของ aspirin ได้ ดังนั้นหากต้องใช้ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs กับ aspirin ควรรับประทาน aspirin ก่อนยา NSAIDs อื่นๆอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
2. ใช้ยาในขนาดต่ำที่สุดแล้วมีประสิทธิภาพและหยุดใช้ยาทันทีเมื่ออาการปวดดีขึ้น
3. ในผู้ป่วยบางรายที่ต้องรับประทานต่อเนื่องเพื่อหวังผลต้านการอักเสบนั้นควรรับประทานหลังอาหารทันที และดื่มน้ำตามอย่างเพียงพอเพื่อลดผลข้างเคียงต่อกระเพาะอาหารและไต
4. ไม่ควรใช้ยากลุ่ม NSAIDs มากกว่า 1 ชนิดพร้อมๆกันเนื่องจากไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพลดอาการปวด แต่จะเพิ่มผลข้างเคียงต่อร่างกายที่สูงมากขึ้น
• การแพ้ยา
ยากลุ่มนี้เป็นยาที่พบผู้ป่วยแพ้ยาได้มาก ในกรณีที่เคยมีประวัติแพ้ยาแก้ปวดมาก่อนจำเป็นต้องจำชื่อยาให้ได้ และพกบัตรแพ้ยาติดตัวไว้ด้วยเสมอเพราะเสี่ยงต่อการแพ้ยาซ้ำได้ หากผู้ป่วยที่ใช้ยาแล้วมีอาการแพ้เกิดขึ้นหลังเริ่มใช้ยาไม่นาน เช่น ผื่นลมพิษ ปากบวม ตาบวม หายใจลำบาก ความดันต่ำผิดปกติ ให้รีบหยุดยาและพบแพทย์เพื่อรักษาอาการที่เกิดขึ้นทันที
🙏🙏🙏 วันนี้เรามีสาระดีๆ เกี่ยวกับการใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) มาฝากกันค่ะ😊
📌ยา NSAIDs คืออะไร?
ยา NSAIDs หรือ ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ เป็นยาที่ใช้ในการบรรเทาอาการอักเสบ (อาการปวด, บวม, แดงและร้อนบริเวณที่เป็น) ตัวอย่างยา NSAIDs เช่น diclofenac, indomethacin, mefenamic acid, ibuprofen, naproxen, meloxicam, piroxicam เป็นต้น ซึ่งถ้าแบ่งตามการยับยั้งเอนไซม์ Cyclooxygenase (COX) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
👉👉ยาที่ยับยั้งเอนไซม์ทั้งชนิด COX-1 และ COX-2 ได้แก่ sulindac, diclofenac, naproxen, piroxicam, mefenamic acid, indomethacin, aspirin, ibuprofen เป็นต้น และยากลุ่มที่ค่อนข้างเลือกยับยั้งเอนไซม์ทั้งชนิด COX-2 ได้แก่ meloxicam, nabumetone, nimesulide เป็นต้น
👉👉ยาที่เจาะจงยับยั้งเอนไซม์ชนิด COX-2 ได้แก่ celecoxib, etoricoxib, parecoxib
โดยยาที่ผลยับยั้งเอนไซม์ชนิด COX-1 จะเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร มากกว่ายาที่เจาะจงยับยั้งเอนไซม์ชนิด COX-2
🌟ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารในผู้ที่ได้รับยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
1. อายุมากกว่า 60 ปี
2. เคยมีประวัติในแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก หรือมีเลือดออกในทางเดินอาหาร
3. ใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ร่วมกัน ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป หรือใช้ยาในขนาดสูง
4. ใช้ร่วมกับยาสเตียรอยด์
5. ใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
6. มีโรคอื่นที่รุนแรงร่วมด้วย
นอกจากนี้การใช้ยา NSAIDs ร่วมกัน ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป หรือใช้ยาในขนาดสูง หรือใช้ยา NSAIDs ร่วมกับยาสเตียรอยด์ จะส่งผลให้การทำงานของไตแย่ลงอีกด้วย
📢 คำแนะนำในการใช้ยา NSAIDs
- รับประทานยาหลังอาหารทันทีและดื่มน้ำตามมากๆ
- หลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs มากกว่า 1 ตัวร่วมกัน
- แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งหากมีการใช้ยาอยู่
- หากแพ้ยาให้พกบัตรแพ้ยาและแสดงบัตรหรือแจ้งต่อแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง
- ยาอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ, โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น)หากมีการใช้ยาในขนาดที่สูงเป็นระยะเวลานาน
- ยาอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกหรือแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
- หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยที่ไตทำงานผิดปกติ ตับทำงานผิดปกติ โรคหอบหืด และระมัดระวังการใช้ในผู้สูงอายุและผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
- ใช้ยาเท่าที่จำเป็น และหยุดใช้ยาทันทีที่ไม่มีอาการ โดยแนะนำให้ใช้ติดต่อกันไม่เกิน 10 วัน
จัดทำโดย
นศภ.นฤมล ปราณอุดมรัตน์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เอกสารอ้างอิง
ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ-กลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) | โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล [Internet]. [cited 2021 Feb 3]. Available from: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/472/ปวดข้อกับยาเอ็นเสด(NSAIDs)/
เลิศศรีสถิต, พ. and จันทร์วิทยานุชิต, ส., n.d. ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs). [online] Med.mahidol.ac.th. Available at: <https://med.mahidol.ac.th/med/sites/default/files/public/pdf/medicinebook1/NSAIDS.pdf> [Accessed 3 February 2021].
NSAIDs: Adverse cardiovascular effects - UpToDate [Internet]. [cited 2021 Feb 3]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/nsaids-adverse-cardiovascular-effects#H2910413232
Commissioner O of the. A Guide to Safe Use of Pain Medicine. FDA [Internet]. 2020 Sep 9 [cited 2021 Feb 3]; Available from: https://www.fda.gov/consumers/consumer-updates/guide-safe-use-pain-medicine
“ยาแก้ปวด NSAIDs … กินอย่างไรให้ปลอดภัย”
NSAIDs (เอ็นเสด) ชื่อเต็มคือ Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs เป็นกลุ่มยาแก้อักเสบชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ใช้มากในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวด บวม หรืออักเสบต่าง ๆ เช่น แก้ปวด ลดไข้ ใช้รักษาโรคข้ออักเสบต่าง ๆ โรคข้อรูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ และปวดแผล
อย่างไรก็ตาม ยากลุ่ม NSAIDs ทำให้เกิดผลข้างเคียงมาก เช่น เลือดออก หัวใจวาย เส้นเลือดในสมองแตก ดังนั้น การใช้ยากลุ่มนี้จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ หรือซื้อภายใต้คำแนะนำของเภสัชกร
ยกตัวอย่างยา NSAIDs ได้แก่ Aspirin, Ibuprofen, Naproxen, Indomethacin, Mefenamic acid, Celecoxib เป็นต้น
การออกฤทธิ์ของยา NSAIDs ยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสารที่ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบ ทำให้ลดอาการอักเสบคือ ปวด บวม เเดง ส่วนข้อบ่งใช้ของยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ จะมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ ลดอาการปวด เเละยาบางตัวแพทย์ใช้ลดไข้กรณีไข้สูงที่ไม่ตอบสนองต่อยาพาราเซตามอล
ผลข้างเคียงอาจทำให้เกิด แผลหรือเลือดออกในทางเดินอาหาร ไตวายเฉียบพลัน เเละตับอักเสบขึ้นได้ บางรายอาจเกิดอาการผื่นเล็กน้อยจนถึงผื่นที่รุนเเรง ปัญหาที่พบจากการใช้ยาส่วนใหญ่เกิดจากการ ใช้ยาซ้ำซ้อนหรือเกินขนาด เกิดแผล เเละมีเลือดออกที่ระบบทางเดินอาหาร หรือการเกิดอาการเเพ้ยา
คำเเนะนำของยา NSAIDs ให้รับประทานยาหลังอาหารทันที ดื่มน้ำมากๆหลังรับประทานยา หลีกเลี่ยงการใช้ยา NSAIDs มากกว่า 1 ตัว พร้อมกัน ถ้าแพ้ยา ให้พกบัตรเเพ้ยาเเละเเสดงบัตรหรือเเจ้งเเพทย์เเละเภสัชกรทุกครั้ง
ยาเหล่านี้เป็นยาแก้ปวดประเภทหนึ่ง ประเภทยาตามกฎหมายเป็นยาอันตราย เมื่อมีอาการปวด ควรพบแพทย์เพื่อประเมินโรคและระดับอาการที่ผู้ป่วยเป็นก่อน และควรปรึกษาเภสัชกรทุกครั้งก่อนซื้อหรือใช้ยา โดยถามถึงข้อบ่งใช้ วิธีการใช้ ระยะเวลาที่ควรทานและอาการแพ้/ผลข้างเคียงที่ต้องหยุดยาทันที ทุกครั้งที่ได้รับยา NSAIDs ไม่ควรหายานี้กินเองหรือใช้ยาของผู้อื่น สังเกตฉลากยา รับประทานยาตามคำแนะนำ และไม่กินยาหมดอายุ
.
👨‍🏫ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับการใช้ยาในกลุ่มเอ็นเสดกับผู้ป่วยโควิด-19
แม้ไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่จะสนับสนุนว่าการใช้ยาในกลุ่มเอ็นเสดเพิ่มความเสี่ยงต่อโควิค-19 หรือทำให้โควิด-19 เป็นรุนแรงขึ้น แต่ยาในกลุ่มเอ็นเสดมีผลไม่พึงประสงค์หลายอย่าง ดังนั้นในกรณีที่ใช้ลดไข้และบรรเทาอาการปวดศีรษะ อาจพิจารณาเลือกใช้ยาพาราเซตามอล (เว้นแต่จะมีข้อห้ามใช้)
⚠️การใช้ยาในกลุ่มเอ็นเสดอาจเกิดผลไม่พึงประสงค์ต่อระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะสมองขาดเลือด ซึ่งผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการแทรกซ้อนเหล่านี้อยู่แล้ว จึงยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่ออันตรายจากผลไม่พึงประสงค์ดังกล่าว
⚠️ยาในกลุ่มเอ็นเสดมีฤทธิ์ลดการอักเสบและลดไข้ จึงอาจบดบังอาการของโควิด-19 จนแพทย์วินิจฉัยไม่พบ แต่การติดเชื้อยังคงดำเนินต่อไปซึ่งอาจเป็นอันตรายมากขึ้น นอกจากนี้การเกิดไข้เป็นกลไกของร่างกายในการต่อต้านเชื้อโรค โดยอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดี การให้ยาลดไข้ (ไม่ว่าชนิดใด) ไม่ได้ทำให้โรคหายเร็วขึ้น จึงควรใช้เท่าที่จำเป็น
⚠️พรอสตาแกลนดินมีบทบาทเกี่ยวข้องกับทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน แต่ผลต่อไวรัสยังไม่ชัดเจน อาจเพิ่มหรือลดจำนวนไวรัสซึ่งขึ้นกับชนิดของไวรัส ดังนั้นการใช้ยาในกลุ่มเอ็นเสดซึ่งลดการสร้างพรอสตาแกลนดินจึงอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งที่กล่าวข้างต้น
หากต้องใช้ยาในกลุ่มเอ็นเสด ควรใช้ในขนาดต่ำสุดที่ให้ผลในการรักษาและใช้เป็นเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จำเป็น
📌การใช้ยาในกลุ่มเอ็นเสดเพื่อการรักษาโรคเรื้อรังซึ่งเดิมผู้ป่วยโควิค-19 ใช้อยู่แล้ว ยังคงใช้ต่อไปได้ รวมถึงการใช้แอสไพรินขนาดต่ำเพื่อเป็นยาต้านเกล็ดเลือด หากต้องมีการปรับเปลี่ยนยาควรปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษาโรคเดิมที่เป็นอยู่
.
.
.
.
POSTED 2022.05.04
บทความ​อื่น​
🎃NSAIDs กับ โรคไต
NSAID กับ​ โรคหัวใจ
NSAID กับ​ โรคหอบหืด
โฆษณา