Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
4 พ.ค. 2022 เวลา 12:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“น้ำท่วม” ปัญหาแก้ไม่ตกของชาวกรุงเทพ
ฝนตก น้ำท่วม ปัญหาหนักใจที่อยู่คู่มาอย่างยาวนานกับชาวกรุงเทพ ปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นสิ่งที่หลายคนสงสัยกันว่า จะแก้ไขได้หรือไม่ หรือควรทำตัวให้ชิน แล้วในอนาคตปัญหานี้จะรุนแรงขึ้นขนาดไหน ?
📌 กรุงเทพมหานคร ยืนหนึ่ง เมืองที่ได้รับผลกระทบจากโลกร้อน
Nestpick แพลตฟอร์มค้นหาที่พักรายเดือนออนไลน์ ได้จัดทำการศึกษาเรื่อง 2050 Climate Change City Index โดยมีเป้าหมายเพื่อพิจารณาว่า สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จะส่งผลอย่างไรต่อเมืองสำคัญในโลก
1
ผลการศึกษา จะแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่เมืองเหล่านั้นจะต้องเจอ เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ, การขาดแคลนน้ำ รวมไปถึงระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
โดย ผลปรากฎว่า
เมืองที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนในปี 2050 มากที่สุด คือ
1.
กรุงเทพมหานคร
2.
รองลงมาคือ นครโฮจิมินห์ จากเวียดนาม
3.
และ อัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์ ตามลำดับ
📌 ทำไมกรุงเทพถึงเสี่ยงน้ำท่วมบ่อย ?
กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของเอเชียมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1.5 เมตร ด้วยเหตุนี้ กรุงเทพฯ จึงเป็นเมืองที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมสูง โดยเฉพาะในช่วงฤดูมรสุม
นอกจากนี้ การทรุดตัวของดินยังทำให้ความเสี่ยงต่อน้ำท่วมรุนแรงขึ้น
โดยกรุงเทพมหานครมีอัตราการทรุดตัวของที่ดิน สูงสุดอยู่ที่ 30 มิลลิเมตรต่อปี
และเมื่อเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ทำให้ ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอาจกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลและอาจก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมใหญ่ และตามมาด้วยปัญหาขาดแคลนน้ำจืดตามมา
ซึ่งนอกจากปัญหาจากธรรมชาติแล้ว ก็ยังมีปัญหาที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์อย่างเรา เช่น การที่กรุงเทพมีประชากรเยอะ เกิดการขยายตัวของที่อยู่อาศัย อาจไปขวางเส้นทางการระบายน้ำ
1
หรืออีกปัญหา ก็คือ การที่กรุงเทพมีขยะจำนวนมาก ที่ไม่ได้มีการจัดการให้เป็นระบบ ทำให้ปลายทางของขยะเหล่านั้นอาจไปอยู่ในแม่น้ำ ลำคลอง หรือท่อระบายน้ำต่าง ๆ ทำให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ฝนตกหนัก ก็ทำให้ชาวกรุงต้องเจอกับปัญหา “น้ำรอการระบาย”
📌 พื้นที่กว่า 96% ของกรุงเทพมหานคร อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล
กว่า 96% ของพื้นที่ดินในกรุงเทพมหานครนั้นอยู่ต่ำกว่า ระดับที่น้ำทะเล และเมื่อพิจารณาถึงอุทกภัยคาบอุบัติซ้ำ 10 ปี หรือ เหตุการณ์น้ำท่วมชายฝั่งที่เกิดจากคลื่นพายุซัดฝั่งและระดับน้ำขึ้นสูงสุด
โดยมีโอกาส 10% ต่อปีที่จะเกิดน้ำท่วมสูงเกินระดับน้ำทะเล ซึ่ง Greenpeace คาดว่าจะเกิดขึ้นภายในปี 2030 จะสร้างความเสียหายต่อกรุงเทพอย่างมหาศาล
จากการวิเคราะห์ของ Greenpeace พบว่า ในปี 2030 คาดว่าจะมีพื้นที่ประมาณ 1,512.94 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 96% ของพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้งหมด
ได้รับผลกระทบจากปัญหาระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและปัญหาน้ำท่วม คิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 17.57 ล้านล้านบาท
และมีคนที่จะได้รับผลกระทบกว่า 10.45 ล้านคน
1
ซึ่งพื้นที่พื้นที่จะประสบปัญหาน้ำท่วมอาจรวมถึงที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นสูง
ย่านการค้าใจกลางเมือง หรือศูนย์กลางทางธุรกิจอย่าง ย่านสีลม สาทร วิทยุ เพลินจิต หรือแม้กระทั่ง สัปปายะสภาสถาน รัฐสภาแห่งใหม่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
นอกจาก Greenpeace จะเคยออกมาทำรายงานเรื่องเมืองที่จะได้รับผลกระทบจากโลกร้อนที่ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นแล้ว
ทาง World Bank ก็เคยออกรายงานที่ระบุว่า กรุงเทพมหานคร จาการ์ตา และนครโฮจิมินห์ เป็น "จุดเสี่ยง" ที่จะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น พายุเขตร้อนที่รุนแรง และฝนตกหนัก เนื่องจากภาวะโลกร้อน และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล
📌 ตัวอย่าง นโยบายผู้สมัคร ผู้ว่าฯ ด้านการบริหารจัดการน้ำในกรุงเทพมหานคร
●
รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ : ขุดลอกและทำความสะอาดท่อระบายน้ำ ระยะทาง 3,000 กิโลเมตร, เพิ่มแก้มลิงธรรมชาติ, พัฒนาฐานข้อมูลดิจิทัล เพื่อให้สามารถจัดการกับจุดเสี่ยงในเมืองได้อย่างเป็นระบบและรวดเร็ว
●
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง : พัฒนาระบบระบายน้ำ ระบบการสูบน้ำและประตูระบายน้ำ, ขุดลอกท่อในระบบพื้นฐาน, ผลักดันให้มีอุโมงค์ระบายน้ำในจุดที่น้ำใช้เวลาในการไหลยาวนาน
●
ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ : นำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการเปิด-ปิดเครื่องสูบน้ำและประตูระบายน้ำ, สร้างระบบเก็บน้ำใต้ดินหรือแก้มลิงขนาดใหญ่เพื่อรองรับน้ำในช่วงที่ฝนตก, ทำโครงการป้องกันผลกระทบจากน้ำทะเลหนุน
●
คุณ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ขุดลอกท่อระบายน้ำล่วงหน้า แก้ปัญหาขยะอุดตัน, ศูนย์ Single Command จัดการน้ำท่วม, เพิ่มการลงทุนการขยายศักยภาพท่อระบายน้ำ
1
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากผู้มีอำนาจ และ ประชาชน ไม่ช่วยกันแก้ไขเรื่องนี้อย่างจริงจัง ปัญหาน้ำท่วมของชาวกรุงเทพก็คงจะไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง เป็นเพียงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเรื่อย ๆ และกรุงเทพก็คงต้องเผชิญสภาพเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ
2
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
●
https://www.nestpick.com/2050-climate-change-city-index/
●
https://www.greenpeace.org/static/planet4-eastasia-stateless/2021/06/966e1865-gpea-asian-cites-sea-level-rise-report-200621-f-3.pdf
●
https://documents1.worldbank.org/curated/en/866821468339644916/pdf/571100WP0REPLA1egacities01019110web.pdf
น้ำท่วม
เลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพ
กรุงเทพ
1 บันทึก
6
3
1
6
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย