Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
5 พ.ค. 2022 เวลา 01:08 • ธุรกิจ
“อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน” ของไทยเป็นอย่างไรบ้าง ?
หนึ่งในข่าวร้อนในสัปดาห์ที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้น การที่อินโดนีเซีย ประเทศที่ส่งออกปาล์มน้ำมันเป็นอันดับหนึ่งของโลก ได้ออกมาประกาศ ระงับการส่งออกตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนในประเทศทำให้เกิดความตื่นตระหนกไปตาม ๆ กัน
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเองก็มีการผลิตปาล์มน้ำมันเป็นจำนวนมาก แล้วสถานการณ์อุตสาหกรรม ปาล์มน้ำมันในไทย เป็นอย่างไรบ้าง ?
📌 ปาล์มน้ำมันไทย ปลูกที่ไหนมากที่สุด
จุดเริ่มต้นของการปลูกปาล์มน้ำมันในประเทศไทยนั้น สันนิษฐานกันว่าพระยาประดิพัทธ์ภูบาลเป็นผู้นำเข้ามาจากประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นพันธุ์เทเนอร่า และเป็นไม้ประดับที่สถานีทดลองยางคอหงส์ จังหวัดสงขลา
จากนั้นขยายไปปลูก เพื่อการค้าที่ตำบลบ้านปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันปาล์มอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลกรองจาก ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไนจีเรีย โคลัมเบียและไอเวอรี่โคสท์
ต่อมาปาล์มน้ำมันได้ขยายพื้นที่ในการปลูกอย่างรวดเร็ว ทำไห้เกิดโรงงานสกัดน้ำมันขึ้นแห่งแรกของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2515 และมีการดำเนินโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก
สำหรับการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคใต้ เริ่มเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2511 ในพื้นที่จังหวัดสตูลและจังหวัดกระบี่
การปลูกและอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันได้พัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2544 การปลูกปาล์มน้ำมันได้กระจายไปหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้
จากข้อมูลของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในปี 2562 ประเทศไทยมีเนื้อที่ปลูกปาล์มน้ำมัน 6,102,852 ไร่ และมีผลผลิตปาล์มน้ำมันอยู่ประมาณ 16.41 ล้านตัน โดยเป็นปลูกในภาคใต้ 5,234,137 ไร่ คิดเป็นสัดส่วน 85.77 %
จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ
1.
สุราษฎร์ธานี
2.
กระบี่
3.
และ ชุมพร
📌 ปาล์มน้ำมัน เอาไปทำอะไรได้บ้าง ?
อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้หลากหลาย เช่น
อุตสาหกรรมการผลิตสบู่, การทำไอศกรีม, อุตสาหกรรมการผลิตเนย, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, อุตสาหกรรมโอลีโอเคมีคอล, อุตสาหกรรมผลิตเป็นน้ำมันเพื่อการบริโภค และยังเป็นส่วนผสมสำคัญของน้ำมันดีเซลพื้นฐานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันอีกด้วย
สำหรับการบริโภคน้ำมันปาล์มดิบในประเทศแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่าง ๆ คิดเป็นสัดส่วน 68% ของปริมาณน้ำมันปาล์มดิบในประเทศ โดยอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากปาล์มน้ำมัน ก็เช่น อุตสาหกรรมไบโอดีเซลหรือ B100 ที่ใช้น้ำมันปาล์มดิบไปผสมเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์
อุตสาหกรรมอาหาร เพื่อนำไปผลิต ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน ครีมเทียม มาการีน เนยขาว ไอศกรีม รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหาร เสริมสุขภาพประเภทวิตามิน และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และอุตสาหกรรม Oleochemicals เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าอื่นๆ เช่น สบู่ เครื่องสำอาง และแชมพู เป็นต้น
2. ใช้กลั่นเป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมแปรรูป น้ำมันปาล์มขั้นปลาย คิดเป็นสัดส่วน 32% ของปริมาณน้ำมันปาล์มดิบในประเทศ
📌 การส่งออกน้ำมันปาล์มของไทย
ประเทศไทยมีการผลิตน้ำมันปาล์มใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากอินโดนีเซีย และ มาเลเซีย
อย่างไรก็ตามถึงแม้ประเทศไทยจะสามารถผลิตน้ำมันปาล์มได้เป็นอันดับที่ 3 ของโลก แต่ถ้าคิดเป็นสัดส่วน ไทยมีสัดส่วนเพียง 3.89% เท่านั้น ในขณะที่อินโดนีเซียมีสัดส่วนประมาณ 56.77% และมาเลเซียมีสัดส่วนประมาณ 27.31%
●
โดยในปี 2563 ประเทศไทยส่งออกน้ำมันปาล์ม ประมาณ 298 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 6,619 ล้านบาท
●
ปี 2564 ประเทศไทยส่งออกน้ำมันปาล์ม ประมาณ 789 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 30,190 ล้านบาท
●
ปี 2565 (มกราคม ถึง กุมภาพันธ์ ) ประเทศไทยส่งออกน้ำมันปาล์ม ประมาณ 26 ล้านกิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 1,502 ล้านบาท
📌 สถานการณ์น้ำมันปาล์มในตลาดโลก
หลังจากที่ทางการอินโดนีเซีย ผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในโลก ได้มีการประกาศว่าจะใช้มาตรการระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม เนื่องจากปัญหาขาดแคลนการบริโภคในประเทศ
การประกาศของทางการอินโดนีเซีย ได้สร้างความตื่นตระหนกไปทั่วโลก
โดย สัญญาซื้อขายล่วงหน้าสำหรับการส่งมอบเดือนกรกฎาคมปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 6% ที่ 6,738 ริงกิต (1,550 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตันในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม
นอกจากนี้ยังทำให้ราคาน้ำมันพืชประเภทอื่นต่างพุ่งขึ้น ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับการขาดแคลนสินค้าในตลาด เช่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสู่ระดับราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ถึงแม้ว่าการที่อินโดนีเซียระงับการส่งออกน้ำมันปาล์ม ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลดีต่อเกษตรกรผู้ผลิต ผู้ส่งออก ชาวไทย แต่สำหรับผู้บริโภคอาจเป็นฝันร้ายที่มาซ้ำเติมสภาพที่ต้องทนเดือดร้อนจากภาวะข้าวยากหมากแพงอยู่แล้วให้แย่ยิ่งขึ้นก็เป็นได้
ดังนั้นรัฐบาลควรมีมาตรการรับมือทั้งฝั่งเกษตรกรผู้ผลิต ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากปาล์มน้ำมัน ในประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงจากสถานการณ์ในตลาดโลก พร้อมทั้งหามาตรการเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันในตลาดโลก ให้เกษตรกรของเราสามารถได้รับประโยชน์อย่างยั่งยืน
ในขณะเดียวกัน ก็มีมาตรการช่วยเหลือผู้บริโภคให้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ด้วยดีเช่นกัน
ผู้เขียน : ณิศรา วาดี Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
Reference :
●
http://impexp.oae.go.th/service/export.php?S_YEAR=2563&E_YEAR=2565&PRODUCT_GROUP=5255&PRODUCT_ID=&wf_search=&WF_SEARCH=Y
●
https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/oilpalm%2062.pdf
●
https://www.indexmundi.com/agriculture/?commodity=palm-oil
น้ำมัน
น้ำมันปาล์ม
อุตสาหกรรม
3 บันทึก
6
3
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
B-Industry
3
6
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย