5 พ.ค. 2022 เวลา 10:13 • หุ้น & เศรษฐกิจ
✅Afternoon Update 05.05.2022
Market Update : Afternoon Session
Asia ปิดตลาดผสมผสานกัน Europe เปิดตลาดมาในแดนบวก
สำหรับประเด็นที่น่าสนใจในวันนี้ มีดังนี้
1. ตลาดหุ้นญี่ปุ่น และตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปิดทำการเนื่องในวันเด็ก (Children's Day)
2. ธนาคารกลางฮ่องกง (HKMA) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% สู่ระดับ 1.25% ซึ่งสอดคล้องไปกับธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปในคืนที่ผ่านมา
โดยในอดีต HKMA มักจะใช้นโยบายการเงินในทิศทางเดียวกับ Fed เนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์ฮ่องกงผูกติดกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ในฮ่องกงรายใหญ่ อย่างเช่นบริษัท HSBC Holdings และ Standard Chartered ยังคงอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืม และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ไว้ที่ระดับเดิม ถึงแม้ HKMA จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้วก็ตาม
3. ตัวเลขเศรษฐกิจจีนอย่าง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการ จากสถาบันไฉซิน (Caixin Services PMI) ประจำเดือน เม.ย. ออกมาอยู่ที่ระดับ 36.2 จุด โดยตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 จุด บ่งชี้ถึงภาวะการหดตัวของภาคบริการ
ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมา ถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. ปี 2020 และออกมาต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ของ Bloomberg คาดที่ระดับ 40 จุด เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการล็อกดาวน์เมืองต่างๆ โดยเฉพาะใน เซี่ยงไฮ้ ที่มีประชากรเป็นจำนวนมากทำให้การบริโภคภายในประเทศได้รับผลกระทบ
4. CSI 300 -0.15% ตลาดหุ้นจีนปรับตัวลดลงเล็กน้อยในวันนี้ โดยได้รับ sentiment เชิงลบจากตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ ประจำเดือน เม.ย. ออกมาชะลอตัว เนื่องจากการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้นักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 จะได้รับผลกระทบอย่างมาก
โดยหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลงมากกว่า -2% หุ้นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค -0.2% และหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว -0.5% ขณะที่หุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย +2.4% กลุ่มยานยนต์ และกลุ่มเฮลท์แคร์เพิ่มขึ้นอย่างละ +3.5%
ขณะที่ดัชนี Hang Seng Tech -0.14% โดยหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Tencent -0.16%, Alibaba +0.47%, JD +1.17%, Meituan +0.30%, Bilibili +2.33%
5. กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือน เม.ย. ของไทย เพิ่มขึ้น 4.65% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) และ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) +2.00% (YoY)
โดยผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อที่ปรับเพิ่มขึ้นในเดือน เม.ย.นี้ ยังเป็นผลมาจากราคาพลังงานในตลาดโลกที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยหลัก รวมถึงราคาสินค้าและบริการอื่นๆ ที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลกระทบทางอ้อมจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐ และประเทศพันธมิตรที่มีต่อรัสเซีย
ทั้งนี้ แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อปี 65 กระทรวงพาณิชย์ ยังคาดการณ์ว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 4-5% (ค่ากลางอยู่ที่ 4.5%) ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
Stock
- Nikkei 225: Closed
- CSI 300: -0.15%
- Hang Seng: -0.36%
- VN Index: +0.89%
- Kospi: Closed
- Euro Stoxx 600: +1.35%
Currencies
- Dollar Index: 102.81
- Japanese yen: 129.62 per dollar
- Offshore yuan: 6.6435 per dollar
Bonds
- US 10 Years: 2.96%
ภาคบริการของจีนชะลอตัวลงไปจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ช่วง ก.พ. 2020
เงินเฟ้อของไทย และฟิลิปปินส์ ยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง ถือเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้กำหนดนโยบาย
ที่มาภาพ :
Caixin and S&P Global; NAtional Bureau of Statics
Philippine, Thai economic ministries
#LHBankAdvisory

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา